'รถติด' ปัญหาที่อยู่คู่กับคนกรุงเทพฯ มาอย่างยาวนาน ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่เราเห็นจนชินตาทุกๆวัน แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการแก้ปัญหา รณรงค์ให้ผู้คนใช้รถยนต์ส่วนตัวน้อยลง และหันไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะอย่างรถเมย์ รถไฟฟ้า แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะของไทยยังมีไม่ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง แถมราคาก็แพง
ทำให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ได้มีการสั่งการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม ร่วมกันศึกษาหาแนวทางผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทุกสี เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนใช้บริการสาธารณะและลดมลพิษ
หนึ่งในแนวทางที่ถูกพูดถึง คือ การจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อซื้อคืนสัมปทานรถไฟฟ้า ให้ภาครัฐสามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ถูกลงและเป็นธรรม ทำให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่าย และการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge) ก็เป็นหนึ่งในแหล่งทุนของกองทุนนี้ด้วย
ค่าธรรมเนียมรถติด หรือ ภาษีรถติด (Congestion Charge) คือ การเก็บภาษีเพื่อแก้ไขการจราจรที่ติดขัด ซึ่งเก็บเมื่อผู้ใช้รถ ขับเข้าไปใจกลางเมือง เพื่อลดการจราจรที่คับคั่ง นอกเหนือจากการช่วยกระตุ้นให้ประชานชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแล้ว ยังช่วยลดมลภาวะทางอากาศ ลดปัญหา PM 2.5 ของกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ในระยะยาว
ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ถนนที่คาดว่าจะมีการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมรถติด ในพื้นที่ที่มีปริมาณจราจรหนาแน่น พบว่า มีปริมาณจราจรรวมกันประมาณ 700,000 คัน/วัน และหากถ้ารัฐบาลมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมคันละ 50 บาท เบื้องต้นจะมีรายได้ราว 35 ล้านบาท/วัน หรือ 12,000 ล้านบาท/ปี หลังจากนั้นกระทรวงฯ จะนำรายได้เข้ากองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure fund เพื่อซื้อคืนรถไฟฟ้าจากเอกชน และปรับราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้เหลือ 20 บาทตลอดสาย ลดค่าครองชีพในการเดินทางให้ประชาชน
ทั้งนี้ ตัวเลขปริมาณจราจรดังกล่าว เป็นการเก็บสถิติการจราจร ในปี 2566 ซึ่งเก็บสถิติ ช่วงเวลา 07.00-19.00 น.โดยหากมีการจัดเก็บ Congestion charge คาดว่าปริมาณจราจรที่เข้าสู่ถนนดังกล่าว จะลดลงไปจากตัวเลขที่มีการสำรวจ
สิงคโปร์ เป็นประเทศแรกที่เก็บภาษีรถติด โดยมีเก็บมาตั้งแต่ปี 1975 หรือเมื่อ 49 ปีที่ผ่านมา รถที่เข้าไปในพื้นที่เขตใจกลางเมืองในเวลาเร่งด่วน หรือพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น
โดยแรกเริ่มหลังจากที่มีการเก็บค่าธรรมเนียม สามารถปรับลดปริมาณจราจรในพื้นที่ได้ 15% และกลายมาเป็น 45% ในเวลาปัจจุบัน
ในปี 1993 สหราชอาณาจักร ได้มีการทดลองใช้เก็บค่าธรรมเนียมรถติดในเมืองเคมบริดจ์ แต่ตอนแรกยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทำให้ทางรัฐบาลกลางได้ลองปรับแนวทางและมีการเก็บภาษีรถติดแบบจริงจังที่ กรุงลอนดอน ในปี 2003
โดยมีการกำหนดช่วงเวลาการเก็บเงินในวันจันทร์-ศุกร์ 07.00-18.00 วันเสาร์-อาทิตย์ 12.00 – 18.00 ยกเว้นวันหยุดธนาคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ อย่างไรก็ตามหากมีรถคันใดฝ่าฝืนไม่จ่ายภาษีรถติดจะถูกปรับ 160 ปอนด์ หรือราว 6,976 บาท
หลังจากที่ลอนดอนได้มีการเก็บภาษีรถติด พบว่า
นอกจากนี้กรุงลอนดอน ยังมีรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมกว่า 352 ล้านปอนด์/ปี หรือราว 5,347ล้านบาท/ปี ซึ่งสามารถนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ ได้ครอบคลุมและดีมากยิ่งขึ้น
สตอกโฮล์ม ได้มีการทดลองเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ในตั้งแต่ปี 2006 และเริ่มมีการใช้จริงในปี 2007 โดยได้รับแนวคิดมาจากความสำเร็จของลอนดอน, สหราชอาณาจักร
โดยมีการกำหนดช่วงเวลาการเก็บเงินในวันจันทร์-ศุกร์ 6.00-18.29 ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ อย่างไรก็ตามหากมีรถคันใดฝ่าฝืนไม่จ่ายภาษีรถติดจะถูกปรับ 500 SEK หรือราว 1,584 บาท
หลังจากที่สตอกโฮล์มได้มีการเก็บภาษีรถติด พบว่า
มิลานเริ่มใช้ระบบเก็บค่าธรรมเนียมรถติด ในปี 2012 เพื่อแก้ไขปัญหารถติด โดยเฉพาะพื้นที่ Area C โดยพื้นที่ C จะเป็นเขตเก็บค่าผ่านทางบนถนนในเมือง และเขตปล่อยมลพิษต่ำ ซึ่งทางรัฐได้มีการกำหนดให้ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องชำระค่าการจราจรติดขัด พื้นที่ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมความแออัดเรียกว่า Cerchia dei Bastioni
อย่างไรก็ตาม รถยนต์บางประเทสามารถเข้า Area C โดยไม่ต้องซื้อตั๋ว หรือ ต้องจ่ายเงิน เช่น
หลังจากที่มิลานได้มีการเก็บภาษีรถติด พบว่า
นอกจากนี้ยังสามารถ ลดความแออัด การจราจรหนาแน่น มลพิษทางเสียง และเพิ่มพื้ที่ให้แก่คนเดินและปั่นจักรยานมากขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง : Transport of London