ผ้าขาวม้า ผ้าสารพัดประโยชน์
ผ้าขาวม้า นับว่าเป็นผ้าทอพื้นบ้านสารพัดประโยชน์ที่คนไทยเราใช้ในในชีวิตประจำวันตั้งแต่ใช้นุ่งห่ม เช็ดตัว บังแดด หรือปูโต๊ะ มีหลักฐานพบว่า ผ้าขาวม้า ได้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 หรือช่วงยุคสมัยเชียงแสน โดยส่วนผ้าขาวม้านิยมทอมาจากเส้นใยฝ้ายหรือเส้นใยไหม
ผ้าขาวม้า นับว่าเป็นตัวแทนเอกลักษณ์ของไทย ที่สามารถใส่ได้ทุกเพศและทุกวัย และเป็นอัตลักษณ์ที่แสดงออกของคนในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งผ้าข้าม้าในประเทศไทยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น รวมถึงสีและลวดลายก็จะขึ้นอยู่กับความนิยมในพื้นที่นั้นๆ
ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ ไม่ให้ทิ้งเอกลักษณ์ของไทย
แม้ว่าผ้าขาวม้า จะเป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของคนไทย ที่อยู่กับชาวไทยมาหลายยุคหลายสมัย แต่หากไม่ปรับตัวสุดท้ายแล้วก็อาจโดนกลืนกินไปกับแฟชั่นของยุคใหม่ๆ หากเรานำคนรุ่นใหม่มาสร้างสรรค์เสื้อผ้าแฟชั่นที่ทำจากผ้าข้าวม้า นั้นก็จะทำให้ผ้าขาวม้าของท้องถิ่นไทยถูกยกระดับ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน แถมคนรุ่นใหม่ยังได้สืบสานอัตลักษณ์ที่สวยงามของไทย
‘ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน’
คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ ประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย กล่าวว่า โครงการผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2559 เพื่อนำเสนอความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าขาวม้าทอมือของชุมชน ผ่านการออกแบบจากคนรุ่นใหม่ในโครงการ Creative Young Designers
โดยโครงการนี่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นมหกรรมด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 ภายใต้แนวคิด “พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก”
โครงการ Creative Young Designers
โครงการ Creative Young Designers เป็นความร่วมมือของ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ (มหาชน) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย สถาบันเครือข่าย eisa และ ชาวบ้านผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือในชุมชน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการร่วมกันพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนในชนบท
ซึ่งนับว่าเป็นการปลุกพลังคนรุ่นใหม่ให้ไม่ทิ้งผ้าขาวม้าไทย สร้างพื้นที่ให้กับชุมชนได้แสดงผลงานท้องถิ่นกว่า 18 ชุมชน และเป็นความร่วมมือการดีไซน์จากนักศึกษากว่า 16 มหาลัย โดยที่ผ่านมาสามารถกระจายรายได้ให้กับชุมชนได้มากกว่า 235 ล้านบาท
ก้าวสู่ความสำเร็จของโครงการผ้าขาวม้า
โครงการ ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทยมีส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าผ้าขาวม้าทอมือ จนสามารถประสบความสำเร็จ ใน 5 มิติหลัก นั้นก็คือ
- การสร้างรายได้ให้กับชุมชนผ้าขาวม้าทอมือ
- การสร้างเครือข่ายภาควิชาการและภาคเอกชนที่พร้อมสนับสนุนชุมชนในการสั่งซื้อ ให้ความรู้เชิงธุรกิจ และการออกแบบ
- การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน
- การสานต่องานผลิตและแปรรูปผ้าขาวม้าสู่คนรุ่นใหม่
- การสร้างห่วงโซ่การผลิตผ้าขาวม้าทอมือที่เข้มแข็งมีความเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการขยายเครือข่ายความร่วมมือ จากจุดเริ่มต้นเพียง 2 ชุมชน 2 มหาวิทยาลัย ในปี 2562 ไปสู่ 18 ชุมชน 16 สถาบันการศึกษา