หากคุณยังไม่ดาวน์โหลดแอป ‘Loopsie’ หรือไม่รู้วิธีใช้ คุณอาจเป็นไม่กี่คนในกลุ่มเพื่อนที่ตกกระแสก็ได้ เพราะแอปแต่งรูปสไตล์อนิเมะญี่ปุ่นด้วยพลัง AI แอปนี้กำลังฮอตฮิตบนโซเชียล ทั้งชาวเน็ต ธุรกิจ และแบรนด์น้อยใหญ่ต่างเข้าไปแปลงร่างตัวเอง สัตว์เลี้ยง หรือสถานที่ในภาพถ่าย ให้กลายเป็นตัวละคร หรือฉากอนิเมะจากญี่ปุ่น ตัวอย่างเช่น
น้องก้อนทำครัว
Bar B Q Plaza
อาตี๋ อนิเมะ
สุกี้ตี๋น้อย
ปัตตานี ใน โลกอนิเมะ
ดวงอาทิตย์ ท้องฟ้า ภูเขา
ช่างกล... ช่างน่ารัก
แผนกวิชาช่างกลโรงงาน วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
ยาวหนน คนคอน
นครศรีฯ กินอะไรดี? by Wongnai
ยุพราชเดส!
Yupparaj Wittayalai School
สังขละบุรี แบบคิ้วท์ๆ
View Journey มีแต่เรื่องเที่ยว
อัจฉรา อาโนเนะ
โรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
ดาวน์โหลด Loopsie ได้ที่ไหน?
ตอนนี้แอป Loopsie มีให้ดาวน์โหลดได้แล้วบน iOS ผ่าน App Store ส่วนของ Android นั้นยังไม่ได้เปิดให้ดาวน์โหลด (บนหน้าเว็บไซต์ของ Loopsie มีลิงก์พาไปยัง Google Play แต่ยังไม่เปิดให้ดาวน์โหลด)
สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้
iOS
Android
Loopsie ใช้งานอย่างไร?
ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปถ่ายให้เป็นภาพการ์ตูนอนิเมะด้วย Loopsie ได้ง่ายๆ ดังนี้
- ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชัน Loopsie
- เปิดแอปพลิเคชัน
- เลือกรูปผู้ชาย รูปแรกในหมวด Exclusive AI Photo (รูปอื่นๆ จะเป็นเอฟเฟกต์อื่นๆ ซึ่งหากมีคำว่า Pro จะต้องเสียค่าบริการก่อนถึงจะใช้งานได้)
- กด Import เพื่อเลือกรูปจากในสมาร์ทโฟนของเรา
- รอแอปพลิเคชัน Generate ภาพออกมา (หากขึ้นคำว่า Starting + แถบสีม่วง = กำลัง Generate ภาพ / หากขึ้นคำว่า Ready + แถบสีเขียว = สร้างเสร็จแล้ว อาจใช้เวลาสักครู่ในการ Generate)
- เมื่อรูปเสร็จแล้ว สามารถเลือกเซฟรูป แชร์รูปไปที่ Instagram หรือแชร์ไปที่แอปพลิเคชันอื่นได้เช่นกัน
ผู้ใช้สามารถทดลองใช้งาน Loopsie Pro ได้ฟรี 3 วัน หลังจากนั้นจะเสียค่าบริการได้ 3 รูปแบบ
- Loopsie Pro 249 บาท/สัปดาห์
- Loopsie Pro 359 บาท/เดือน
- Loopsie Pro 1,990 บาท ใช้งานได้ตลอดชีพ
Loopsie อันตรายไหม?
Loopsie เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นโดย วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอีตาลี 3 คน และนัก Motion Designer ที่ดูแลเรื่องการทำ Motion Graphic ในแอปนี้ ซึ่งพวกเขาเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2018 ที่ใช้ขุมพลัง Machine Learning (ML) และ Artificial Intelligence (AI) มาช่วยในการพัฒนาเครื่องมือในการสร้างภาพแบบ AI Art และเป็นเจ้าแรกที่ใช้ Neural Network (หรือรู้จักในชื่อ Deep Learning) มาประมวลผลความระยะลึกของภาพ, เรียงลำดับวัตถุในภาพ และสร้างสรร์เอฟเฟกต์ใหม่ๆ
ในด้านความอันตรายนั้น เว็บไซต์ Just Use App เผยว่า แอปพลิเคชัน Loopsie นั้นปลอดภัยต่อการใช้งาน โดยแอป Loopsie ได้เรตติ้ง 4.7/5 บน App Store ด้าน Just Use App ให้คะแนนความปลอดภัยของแอปนี้ที่ 48.9/100 คะแนน
แต่อีกสิ่งที่ผู้ใช้พึงระวัง คือเทคโนโลยีเบื้องหลังของแอปนี้ คือ ‘Stable Diffusion’ GenAI ที่สร้างภาพใหม่จากการเรียนรู้คลังข้อมูลของภาพที่ป้อนเข้าไป ซึ่ง คุณ Khajochi กูรูสายเทคโนโลยีได้ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมด้านจริยธรรมของ Stable Diffusion และ Loopsie ผ่านเว็บไซต์ Rainmaker เพราะภาพของศิลปินต้นฉบับที่นำมาใช้สอน AI นั้น เจ้าตัวไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์ และกำลังโดนฟ้องร้องลิขสิทธิ์กันอยู่
นอกจากความคลุมเครือด้านความถูกต้องในแง่จริยธรรม จนทำให้หลายแบรนด์ทยอยลบภาพที่สร้างจาก Loopsie ไปบ้างแล้ว เสียงจากชาวโซเชียลยังตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของการใช้ภาพเหล่านี้มาเป็นตัวแทนของแบรนด์ หรือองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเรียนที่เกี่ยวข้องกับสายศิลปะ มีชาวเน็ตตั้งคำถามว่า พื้นที่โซเชียลมีเดยของคณะ น่าจะถูกใช้จัดแสดงหรือโปรโมตงานผลงานของนักศึกษามากกว่า
ที่มา : Just Use App, Loopsie, App Store, Appdisqus, Rainmaker