อาการของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในปัจจุบัน ขณะนี้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ราว 50% ไม่มีอาการป่วย ส่วนที่มีอาการจำแนกอาการย่อยได้เป็นไอและเจ็บคอ 50% อ่อนเพลียเป็นไข้ 30-40% และถ่ายเหลว 10%
หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัด หรือแม้แต่ถ่ายเหลว เบื้องต้นให้ตรวจ ATK ได้ทันที หากเป็นผลลบก็ให้สังเกตอาการตัวเองใน 48 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้ไปโรงพยาบาล (รพ.) เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยอาการโรคอื่นๆ เช่น ไข้เลือดออก อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ หากติดแล้วก็ต้องกักตัวเอง เพราะแม้จะไม่มีอาการรุนแรง แต่หากไปพบคนอื่นที่ภูมิต้านทานน้อย มีโรคร่วมก็จะมีความเสี่ยง
อาการโควิด 19 ล่าสุด มีอะไรบ้าง
อาการทั่วไปมีดังนี้
- มีไข้
- ไอ
- อ่อนเพลีย
- สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
- เจ็บคอ
- ปวดศีรษะ
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- ท้องเสีย
- มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
- ตาแดงหรือระคายเคืองตา
อาการรุนแรงมีดังนี้
- หายใจลำบากหรือหายใจถี่
- สูญเสียความสามารถในการพูดหรือเคลื่อนไหว หรือมึนงง
- เจ็บหน้าอก
ในส่วนของการรองรับผู้ป่วยโควิด แบบผู้ป่วยนอก (OPD) เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่าหากเป็น รพ.สังกัดกรมการแพทย์ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ เช่น รพ.ราชวิถี รพ.เลิดสิน รพ.นพรัตน์ รองรับผู้ติดเชื้อได้วันละ 1,000 ราย จาก 2 ช่องทาง คือ
- คลินิกโรคไข้หวัด(ARI Clinic) ซึ่งผู้ติดเชื้อราว 70% เลือกการรักษาแบบ OPD และอีก 20-30% เลือกรักษาจากที่บ้าน(Home Isolation)
- เพื่อแบ่งเบาภาระงานของสายด่วน 1330 รพ.แต่ละแห่งจะออก QR Code เพื่อให้ผู้ป่วยเก่าส่งต่อให้ผู้อื่นเพื่อเข้าระบบบริการ สัดส่วนเลือกการรักษาแบบ OPD ราว 60% และอีก 30-40% เลือกรักษาจากที่บ้าน(HI) อย่างไรก็ตาม เรากำลังทำ QR Code ส่วนกลางขึ้นมาแบ่งเบาภาระสายด่วน 1330 ให้ได้วันละ 1-2 พันราย
ข้อมูลจาก WHO
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 เผย 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด ประจำวันที่ 12 มี.ค.65
- รพ.ชี้แจง ปม สาวร้องพ่อหายตัวหลังเข้ารักษาโควิด คาดสลับชื่อผู้ป่วย เผาศพไปแล้ว
-1 ก.ค. ปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น แบ่ง 4 ระยะ เริ่ม 12 มี.ค.65