“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

9 ส.ค. 66

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดั่ง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี เหตุเอื้อแก๊งจีนขายพระเก๊

“วัดเขาชีจรรย์” อีกหนึ่งวัด ซึ่งมีชื่อเสียงของจังหวัดชลบุรี มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติหลั่งไหลเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา แต่จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าจับกุมแก๊งชาวจีน รวมถึง พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุสิฐสมศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดเขาชีจรรย์ ซึ่งพัวพันการหลอกขายพระเครื่องปลอม มูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท “วัดเขาชีจรรย์” ก็ได้กลายไปเป็นวัดที่เงียบเหงาในทันที

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

เขาชีจรรย์ สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่ ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ติดกับทางหลวงชนบท ชบ. 1003 ถูกสร้างขึ้นมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ในสมัยรัตนโกสินทร์ เจริญ สุวฑฺฒโน) เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระญาณสังวร เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร มีพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาหินในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นพระพุทธรูปแบบประทับนั่งปางมารวิชัย เลียนแบบพระพุทธนวราชบพิตรศิลปะสุโขทัยผสมล้านนา ความสูง 109 เมตร หน้าตักกว้าง 70 เมตร ฐานบัวหรือบัวบัลลังค์ สูง 21 เมตร รวมความสูงขององค์พระและบัลลังค์ทั้งสิ้น 130 เมตร ลักษณะของลายเส้นที่แกะสลักหินนั้น จะเป็นการแกะสลักลงในเนื้อหินให้เป็นร่องลึกกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ลึก 10 เซนติเมตร ฝังด้วยกระเบื้องโมเสกสีทองเต็มร่อง โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตพระราชทาน นามพระพุทธรูปว่า “พระพุทธมหาวชิร อุตตโมภาสศาสดา” มีความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดา ที่รุ่งเรื่องสว่างประเสริฐ ดุจดังมหาวชิระ และลงจารึกปีที่สร้างไว้ที่ข้างใต้พระพุทธฉาย ปี พ.ศ. 2539

 “วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

สำหรับการก่อสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอ.ไอ.ที) เป็นผู้ดำเนินการกลั่นกรองบริษัทเอกชนที่เหมาะสมในการก่อสร้าง ซึ่ง ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จากจุฬาลงกรณ์ฯ ออกแบบการปรับแต่งผิวหน้า นายกนก บุญโพธิ์แก้ว รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ออกแบบองค์พระ และในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2538 นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ว่าจ้างบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บลาสเตอร์ เป็นผู้ทำการก่อสร้างในราคา 43,305,800 บาท

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

อย่างไรก็ตาม แม้การก่อสร้างเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากผิวหน้าผามีการแตกและช้ำมาก รวมทั้งฝนยังตกลงมาทำให้การทำงานมีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในที่สุดก็สามารถเสร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยในวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 มีการประกอบพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายพระพุทธรูปแกะสลักบนหน้าผาเขาชีจรรย์ แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ ไปทรงประกอบพิธีเบิกพระเนตร และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระอุระของพระพุทธรูป

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

นอกจากพระพุทธรูปแกะสลักลายเส้นแล้ว บริเวณโดยรอบของเขาชีจรรย์ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีสวนที่ตกแต่งไปด้วยดอกไม้หลากหลายสีสันตามฤดูกาล มีสนามหญ้าเปิดโล่ง แบ่งพื้นที่ตามกิจกรรมการใช้งานอย่างชัดเจน เช่น ลานสำหรับชมพระพุทธรูปแกะสลัก จุดถ่ายรูปที่สามารถมองเห็นพระพุทธรูปได้อย่างชัดเจน อาคารอเนกประสงค์ พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่จอดรถ ด้วยบรรยากาศที่เหมาะสำหรับการมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ จึงทำให้ “วัดเขาชีจรรย์” ได้รับความนิยมจากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลายเป็นแลนด์มาร์กที่สำคัญของจังหวัดชลบุรีและประเทศไทย

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคาม 2566 พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้แถลงปิดคดีแก๊งชางจีนเช่าพื้นที่วัดเขาชีจรรย์ขายพระปลอมให้แก่นักท่องเที่ยว โดยสามารถจับกุมแก๊งชาวจีนได้ทั้งหมด 16 ราย ยังคงหลบหนีอีก 2 ราย ดำเนินคดีฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ยึดทรัพย์ รวมมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท และยังจับกุม พระครูวิสุทธิ์ธรรมานุสิฐสมศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดเขาชีจรรย์​ ดำเนินคดี ม.157 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและเป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ยึดทรัพย์ รวมมูลค่ากว่า 137 ล้านบาท รวมถึง น.ส.พยอม ผาพิมพ์ แม่บ้านของวัด ในฐานะผู้เช่าที่จำหน่ายพระให้แก๊งชาวจีน ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

เหตุการณ์ทั้งหมดไล่เรียงเริ่มจากกลุ่มทุนจีนได้เข้ามาเช่าพื้นที่ของวัดเขาชีจรรย์ พร้อมทั้งตกแต่งวัดให้ดูสวยงาม จ่ายค่าเช่าในราคาเดือนละ 150,000 บาท แล้วนำคนไทยเข้ามาขายวัตถุมงคลปลอมที่ไม่ผ่านการปลุกเสก โดยต้นทุนพระปลอมองค์ มูลค่าองค์ละ 400 บาท แต่ขายจริงในราคาประมาณ 20,000 บาท ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนได้รับความเสียหาย

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

กระทั่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมา จนถึงเดือนพฤษภาคม 2566 รวมระยะเวลา 6 เดือน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการสืบสวนสอบสวน จนพบว่ากลุ่มทุนจีนใช้ชื่อบริษัท ซึ่งจดทะเบียนประกอบกิจการร้านอาหาร ในการเช่าพื้นที่วัดเขาชีจรรย์ พบเงินหมุนเวียนในบัญชีบริษัท 100 ล้านบาท

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

จากเรื่องราวทั้งหมด ทำให้สำนักงานพระพุทธศาสนา ต้องเร่งขยายผลตรวจสอบวัด ที่มีการจำหน่ายวัตถุมงคล ซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของสำนักพุทธฯ ที่สามารถให้ประชาชนเช่าพื้นที่ในวัดได้ โดยวัดมีอำนาจพิจารณาได้เอง ในเงื่อนไขสัญญาเช่า 3 ปี หากสัญญาเช่าเกินระยะเวลา 3 ปีที่กำหนด จะต้องส่งให้สำนักพุทธฯ เป็นผู้พิจารณา และไม่อนุญาตให้ทุนต่างชาติเช่าพื้นที่

“วัดเขาชีจรรย์” ความเป็นมาตั้งแต่วัดโด่งดัง จนถึงวัดชื่อเสียของจังหวัดชลบุรี

จากเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ นับเป็นเหตุกาณ์ที่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่จังหวัดชลบุรีและประเทศไทยเป็นอย่างมาก

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส