รู้หรือไม่ สัตว์น้ำเอเลี่ยนสปีชีส์ ชนิดแรกที่นำเข้ามาในไทย คือตัวอะไร เข้ามาในสมัยไหน

8 ก.ค. 67

รู้หรือไม่ สัตว์น้ำต่างถิ่น หรือ เอเลี่ยนสปีชีส์ ชนิดแรกที่นำเข้ามาในไทย คือตัวอะไร เข้ามาในสมัยไหน

การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศถูกจัดให้เป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ส่งผลให้ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นถูกกล่าวถึงในข้อตกลงระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 39 ฉบับ โดยเฉพาะในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity; CBD) เป็นการตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีความพยายามอย่างมาก เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการในด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

ในประเทศไทยนั้น สัตว์น้ำต่างถิ่นชนิดแรกที่มีการนำเข้ามา ได้แก่ ปลาเงินปลาทอง ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเพื่อใช้เพาะเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม หลังจากนั้นมีการนำเข้าปลาไน เพื่อใช้เลี้ยงเป็นอาหาร ต่อมาจึงเป็นกลุ่มปลาจีน และปลาชนิดอื่น ๆ อีกมากมาย

pexels-amnfaishal-13831047

จนกระทั่งในปี พ.ศ.2553 ได้นำเข้า ปลาหมอคางดำ จากสาธารณรัฐกานา ทวีปแอฟริกา เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลแบบมีเงื่อนไข เนื่องจากเป็นปลาที่กินอาหารเก่ง แพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว และอัตราการรอดตายสูง เมื่อหลุดรอดลงในแหล่งน้ำธรรมชาติจึงส่งผลต่อระบบนิเวศ และแพร่พันธุ์เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก จนกระทั่งปัจจุบันพบว่ามีสัตว์น้ำต่างถิ่นได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยแล้วมากกว่า 1,100 ชนิด โดยมี 8 สัตว์น้ำต่างถิ่น เอเลี่ยนสปีชีส์ พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานร้ายแรงในประเทศไทย

• เปิดรายชื่อ 8 สัตว์น้ำ เอเลี่ยนสปีชีส์ พันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานร้ายแรงในประเทศไทย

ทั้งนี้ การรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ ส่งผลให้ถูกกล่าวถึงในข้อตกลงระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 39 ฉบับ โดยเฉพาะในอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity; CBD) เป็นการตกลงระหว่างประเทศฉบับแรกที่มีความพยายามอย่างมาก เพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการในด้านการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่น โดยประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2535 ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2546 และมีผลบังคับใช้เมื่อ 29 มกราคม 2547

1200px-liposarcus_multiradiat

โดยมีพันธกรณีของภาคีที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 8 การอนุรักษ์ในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ที่กำหนดให้ภาคีจักต้องดำเนินการป้องกันการนำเข้าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ควบคุม หรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งคุกคามระบบนิเวศ ถิ่นที่อยู่อาศัย หรือชนิดพันธุ์อื่น และเป้าหมายไอจิที่ 9 (Aichi Biodiversity Target 9) ที่กําหนดไว้ว่าต้องจําแนก ระบุ และจัดลําดับความสําคัญของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานและเส้นทางแพร่กระจายควบคุมหรือกําจัดชนิดพันธุ์ที่มีลําดับความสําคัญสูง และดําเนินมาตรการเพื่อจัดการเส้นทางแพร่กระจายเพื่อป้องกันการนําเข้าและการตั้งถิ่นฐานรุกราน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม