“ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” ต้นแบบโครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”

26 ส.ค. 67

“ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” ต้นแบบความเข้มแข็งของหมู่บ้าน โครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ อย่างยั่งยืน

ดาหลา เป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ที่กลีบดอกเรียงร้อยชั้นกันเป็นลำดับ เปรียบเสมือนภาคีเครือข่ายที่อำเภอเทพา ได้สร้างขึ้นมา ส่วน บารู เป็นภาษายาวีแปลว่าใหม่ ดาหลาบารู จึงเปรียบเสมือนภาคีเครือข่ายใหม่ ที่จะร้อยเรียงขึ้นมาเพื่อไปพัฒนาหมู่บ้านของตนเองสู่ความเข้มแข็ง ซึ่งแม้ว่าอำเภอเทพา จะเป็นอำเภอที่ถูกผนวกอยู่ในพื้นที่ที่มีความรุนแรงแต่หมู่บ้านต่างๆ ใน อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ก็สมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยพลังของภาคีเครือข่ายในทุกระดับ เสมือนดอกดาหลาที่มีกลีบดอกเรียงร้อยเป็นชั้นนั่นเอง

0j0a9534.mp4.05_51_49_42.stil

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง เปิดเผยว่า ตามที่กรมการปกครอง ดำเนินการขับเคลื่อน โครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการ อย่างยั่งยืน เป็นการขับเคลื่อนการผ่านการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย 7 ภาคี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง การปรับเปลี่ยนค่านิยมให้เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปันผู้อื่น โดยอาศัยหลักการทรงงานและการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สำหรับนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติราชการ และขยายผลในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่

042a0599.mp4.19_45_10_12.stil

ทั้งนี้ กรมการปกครอง ได้มีการคัดเลือกอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม เพื่อมอบรางวัลอำเภอนำร่องระดับจังหวัดที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม ซึ่งได้ขับเคลื่อนบูรณาการการทำงานร่วมกันของผู้นำภาคีเครือข่าย และทีมผู้นำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง รวมทั้งกลไกในระดับพื้นที่ของกระทรวงมหาดไทย โดยหนึ่งในอำเภอที่ได้รับรางวัล “อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม” คือ อ.เทพา จ.สงขลา เนื่องจากเป็นอำเภอที่มีความโดดเด่นในการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่ ซึ่งการขับเคลื่อนโครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ของอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ได้จัดทำโครงการ “ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” เป็นโครงการเพื่อให้อำเภอเทพา มีระบบเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ประชาชนมีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น หมู่บ้านมีความสุข สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนผ่านกลไกผู้นำ หรือ นายอำเภอเทพา ที่มีความสามารถในการบูรณาการภาคีเครือข่าย ทั้ง 7 เครือข่าย ให้สามารถเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการฯ ได้อย่างสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียว ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมในพื้นที่ จากการร่วมมือร่วมใจกับผู้แทนทางศาสนา ได้แก่ ศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการฯ ก่อให้เกิดความร่วมมือกันของสังคมพหุวัฒนธรรม อันเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความปรองดองในพื้นที่ เกิดเป็นเครือข่ายฯ ที่เข้มแข็ง สามารถขับเคลื่อนการทำงานที่ประสานสอดคล้องกันทุกระดับ

042a0669.mp4.20_12_27_24.stil

โครงการ “ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” เป็นอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน โดยให้ 7 ภาคีเครือข่ายในพื้นที่เป็นคนคัดเลือกมาว่ามีประชาชนคนไหนหรือครัวเรือนไหนมีปัญหาด้านรายได้ หรือการดำรงชีวิต โดยจะขับเคลื่อนผ่านการพัฒนาภาคีเครือข่าย ให้ภาคีเครือข่ายลงพื้นที่ร่วมกับกรมการปกครองเพื่อสำรวจความต้องการของประชาชน จากนั้นประชุมหารือ โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน เพื่อแยกประเด็นปัญหาและแบ่งมอบหน้าที่ให้หน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบ และหาอาชีพที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ของประชาชน

0j0a1171.mp4.03_23_49_36.stil

“ความยั่งยืนของโครงการ“ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” จำเป็นต้องอาศัย 7 ภาคเครือข่ายเป็นผู้ขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ในขณะเดียวกันผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนายอำเภอก็จะต้องทำหน้าที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้กับพี่น้องประชาชน จะต้องคิดเสมอว่าจะทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่มีความสุข มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความทุกข์น้อยลง และหากประชาชนให้ความร่วมมือ ความสำเร็จก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย รวดเร็ว ดังนั้น การที่โครงการ“ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” ได้รับ รางวัลอำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยอดเยี่ยม จึงไม่ใช่รางวัลของตัวบุคคล แต่เป็นของคนทั้งอำเภอที่ร่วมใจกับขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการ จนนำมาซึ่งระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และความสุขที่ยั่งยืน” อธิบดีกรมการปกครอง กล่าว

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม