แจ้งข้อหาวัดดัง พระใหญ่ภูเก็ต รุกป่าเขานาคเกิด ต้นตอดินสไลด์ คร่า 13 ชีวิต

28 ส.ค. 67

ป่าไม้ภูเก็ต แจ้งเอาผิด มูลนิธิพระพุทธมิ่งมงคลศรัทธา 45 บุกรุกเขานาคเกิด สร้างพระใหญ่ ทำลายหลักปันน้ำธรรมชาติ ต้นตอดินไสด์ คร่า 13 ชีวิต

นายบรรณารักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยถึงการสนธิกำลังเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบวัดพระใหญ่ หลังเกิดเหตุดินจากภูเขานาค สไลด์ลงมาทับบ้านเรือนประชาชนในซอยปฏัก 2 ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย และบ้านเรือนประชาชนเสียหายกว่า 50 หลังคาเรือน

1724818773710

ซึ่งหลังเกิดเหตุมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่า วัดพระใหญ่เป็นสาเหตุที่ทำให้ดินสไลด์ลงมา เนื่องจากพบว่าจุดเริ่มต้นของดินสไลด์อยู่ห่างจากลานจอดรถที่ทางวัดสร้างขึ้นมาใหม่ไม่เกิน 5 เมตร พร้อมยกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

1724818820978

โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต ได้ยื่นคำขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเทือกเขานาคเกิด เพื่อสร้างหรือเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปมิ่งมงคลเอกนาคาคีรี (พระใหญ่) สถานที่ปฏิบัติธรรมและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ของวัดกิตติสังฆาราม เนื้อที่ 15 ไร่ (ยื่นขอตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563) และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาการอนุญาตของกรมป่าไม้ นอกจากนั้น ทางกรมป่าไม้ได้ทำหนังสือไปยังวัดกะตะ และมูลนิธิตั้งแต่เดือน ธ.ค.2566 ว่าห้ามดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น นอกเหนือเขต 15 ไร่

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบได้มีการตรวจยืดพื้นที่ 5 ไร่ 19 ตร.ว. โดยอยู่ในเขตป่าไม้ถาวร ป่าควนเขานาคเกิด 3 ไร่เศษ และในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานาคเกิด ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต 1 ไร่เศษ ความเสียหายเบื้องต้น เป็นเงิน 344,462 กว่าบาท ซึ่งเป็นการสร้างลานจอดรถและสิ่งปลูกสร้าง 6 รายการ เช่น อาคารอเนกประสงค์ ห้องน้ำ หอติดตั้งถังน้ำ เป็นต้น

1724818944987

โดยเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจยึดมีความเห็นร่วมกันว่าเป็นการกระทำผิด พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 มาตรา 54 ฐาน "ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการทำลายป่า หรือยึดถือครอบครองป่า เพื่อตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต" และมาตรา 55 ฐาน "ผู้ใดครอบครองป่าที่ถูกแผ้วถางโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตราก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นเป็นผู้แผ้วถางป่านั้น ส่วนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 ฐาน "ยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ หรือกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ โดยไม่ได้ รับอนุญาต" มาตรา 26/4 ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด โดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือเป็นเหตุให้เกิดการทำลาย หรือทำให้สูญหาย หรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น และเป็นการกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตรา 97 การบุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติของแผ่นดินผู้กระทำผิดต้องชดใช้ให้รัฐเท่ากับจำนวนพื้นที่ที่ถูกบุกรุกตามที่คิดคำนวณค่าเสียหายของรัฐทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลายสูญหายหรือเสียหาย

1724819003254

นายบรรณารักษ์ กล่าวว่า สำหรับการก่อสร้างเกินจากพื้นที่ที่อยู่อยู่ระหว่างการขออนุญาตจำนวน 5 ไร่เศษ พร้อมสิ่งปลูกสร้างอีก 6 รายการ ซึ่งป่าไม้ภูเก็ตได้มีการแจ้งความดำเนินคดีกับทางมูลนิธิพระพุทธมิ่งมงคลศรัทธา 45 ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พร้อมทั้งให้มีการดำเนินการปิดพื้นที่ดังกล่าวห้ามใช้โดยเด็ดขาด และให้ทางผู้ดำเนินการทำการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อความปลอดภัย ส่วนขององค์พระใหญ่ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 15 ไร่ ได้มีการยื่นขออนุญาตจากทางกรมป่าไม้ โดยทางสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดภูเก็ต และได้มีการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอมาแล้ว

แต่ทั้งนี้ ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องมีการทำเรื่องขอยกเว้นมติ ครม.ปี 2563 ก่อน จากนั้นจึงเสนอมายังกรมป่าไม้ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตรวจสอบในส่วนขององค์พระใหญ่ว่า มีความแข็งแรง ปลอดภัย และเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

ในระหว่างนี้ยังเปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวยังสามารถขึ้นไปสักการบูชาได้ตามปกติ เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาต่อใบอนุญาตของกรมป่าไม้.

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส