ระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่ม 9-10 ก.ย. มั่นใจ “กทม.- นนทบุรี – ปทุมฯ” เอาอยู่

5 ก.ย. 67

 

เลขาธิการ สทนช. เผย 9-10 ก.ย. ระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาแตะ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที มั่นใจ “กทม.- นนทบุรี – ปทุมธานี” เอาอยู่ 

วันที่ 5 ก.ย. 67 นาย สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. พร้อมลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และสำรวจพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำหลากในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา และลงเรือตรวจสถานการณ์น้ำ พื้นที่นอกคันกั้นน้ำคลองโผงเผง คลองบางบาล บริเวณ อ.ผักไห่และ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 

นายสุรสีห์ กล่าวว่า สถานการณ์ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ปริมาณน้ำเจ้าพระยา ที่นครสวรรค์ ขณะนี้มีปริมาณที่จะไหลลงมาอยู่ที่ 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะเดียวกันน้ำจาก จ.นครสวรรค์จะไหลมาที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังมาเติมอยู่ที่อัตรา 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นน้ำที่จะมาเหนือเขื่อนเจ้าพระยาจะอยู่ที่ 1,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะมีการระบายซ้ายไปขวาประมาณ 200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นทำให้การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจะอยู่ที่ 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีแนวโน้มที่จะระบายถึงเท่าไหร่ภายใน 1-2 วันนี้ เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่จะเข้ามา 

ในขณะเดียวกันก็ได้มีการประเมินสถานการณ์พายุยางิ ซึ่งมีแนวโน้มขึ้นไปทางเกาะไหหลำ และเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนประมาณวันที่ 7 ก.ย.ก่อนสลายตัว โดยพายุลูกนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย แต่จะมีผลกระทบโดยอ้อม คือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ดังนั้นจะมีหลายพื้นที่ในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือได้รับผลกระทบ รวมถึงภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะมีปริมาณฝนหนัก ขณะเดียวกันพื้นที่ภาคกลางก็จะมีฝนปริมาณหนึ่ง 

ดังนั้นจึงมีการประเมินสถานการณ์น้ำว่ามีแนวโน้ม ปริมาณน้ำที่จุด C2 จ.นครสวรรค์ แม่น้ำเจ้าพระยาจะมีแนวโน้มถึง 2,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาทีช่วงประมาณวันที่ 9-10 ก.ย. ซึ่งปริมาณน้ำไหลนี้จะไหลไปที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา และมีแม่น้ำสะแกกรังมาไหลเติมอีก ซึ่งจะมีการบริหารจัดการโดยระบายน้ำออกทางฝั่งซ้ายขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาในอัตรา 200-300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้การระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยามีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น แต่ที่ประเมินเบื้องต้นคาดว่าน่าจะไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 

ซึ่งจากการประเมินเหล่านี้เป็นข้อมูล ให้แก่จังหวัดที่อยู่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไปดำเนินการในการป้องกันประชาชนไม่ว่าจะเป็นการจะต้องยกของขึ้นที่สูงในระดับไหน และ จังหวัดต่างๆ ที่มีคันกั้นน้ำบริเวณที่เป็นพื้นที่ต่ำอาจจะต้องเสริม โดยการใช้กระสอบทรายหรือจุดที่เป็นฟันหลอ เพื่อป้องกันไม่ให้ น้ำไหลเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับประชาชน 

ขณะเดียวกันในพื้นที่ที่เป็นลุ่มต่ำมากๆ หากปริมาณน้ำในอัตรา 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ประชาชนไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านได้ทางจังหวัดก็จะได้มีการเตรียมการศูนย์พักพิงให้กับประชานในส่วนนี้ด้วย รวมถึงการเตรียมเครื่องหมายเครื่องมืออุปกรณ์อื่นๆ เช่นเรือ เพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุก 

อย่างไรก็ตามจากการที่ประเมินสถานการณ์ในกรณีที่ปริมาณน้ำสูงสุดประกอบกับอิทธิพลทางอ้อมของพายุยางิในกลางเดือนนี้อยู่ที่ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมีจุดเฝ้าระวังที่สถานีบางไทร แม่น้ำเจ้าพระยามีศักยภาพที่จะรองรับได้อยู่ที่ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่จะมาบริหารจัดการที่จะควบคุมประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เผื่อกรณีที่มีปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ กทม. ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาก็ยังมีช่องว่างในการรองรับการระบายน้ำออกจาก กทม.เพราะฉะนั้น ทั้งปทุมธานี นนทบุรี กทม. ในเรื่องน้ำหลากยังสามารถอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส