บอล ธนวัฒน์ สรุปมาให้ 2 ชั่วโมง ทักษิณ คิดเคลื่อนไทย พลิกฟื้นวิกฤตโควิด พร้อมเผยข้อมูลลับ Pfizer ถูกใช้ในไทยแล้ว แต่เข้ามาไม่มาก
เมื่อวันที่ 4 พ.ค.64 นายธนวัฒน์ วงค์ไชย อดีตประธานสภานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแกนนำกลุ่ม “วิ่งไล่ลุง” ได้มีการสรุปการสนทนาเปิดห้องสนทนา Clubhouse (คลับเฮาส์) ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยใช้ชื่อแอคเคาท์ว่า Tony Woodsome ระบุว่า พลิกฟื้นวิกฤตโควิดกับพี่โทนี่ (ทักษิณ) วูดซัม ควรค่าแก่การอ่านมากครับ
บอล ธนวัฒน์ สรุป ทักษิณ เปิดคลับเฮาส์ถาม-ตอบ 2 ชม. ซัดตั้งแต่หวยยันฉีดวัคซีนช้า
- เศรษฐกิจของเราจะโตได้ ต้องมาจากภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนจากต่างประเทศ และเศรษฐกิจภายในประเทศ วันนี้การส่งออกก็ไปไม่ได้ การท่องเที่ยวยิ่งไม่ต้องพูดถึง ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศก็หดหายมาก เพราะเรื่องความเชื่อมั่น วันนี้เศรษฐกิจเราฟื้นยากมาก เพราะรัฐบาลกู้เงินมา ไม่ได้ใช้แก้โควิด แต่ใช้แจก เพราะว่ารัฐบาลมองเรื่องการเมืองมากไป ทั้งๆ ที่นายกไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง ดังนั้น รัฐบาลต้องคิดเพื่อชาติ ไม่ใช่คิดเพื่อการเมือง ต้องมองว่าจะทำให้เปิดประเทศได้อย่างไร ต้องมองภาพกว้างอย่างนั้น ไหนๆ นายกก็รวบอำนาจไปไว้ที่ตัวเองหมดแล้ว ก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไร
- วันนี้แค่ติดกระดุมเม็ดแรกก็ผิดแล้ว วันนี้ค้องใช้หลักความรู้ หลักวิทยาศาสตร์ การแพทย์ แล้วเอามาสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ ไม่ตื่นตระหนก ถ้าวันนี้เรายังไม่ให้เขาเข้าใจ เรายังทำเรื่องบางเรื่องให้มันลุกลาม เช่น เรื่องฉีดวัคซีนแล้วมีอาการแพ้ แล้วยังไม่พิสูจน์ หรือพิสูจน์แล้วว่ามีผลกระทบ ก็ต้องหยุดฉีด ไม่ใช่ฉีดไปเรื่อยๆ แล้วยังไม่หยุด ประชาชนก็ panic
- ดูรายการโทรทัศน์วันก่อน ที่แพ้เพราะวัคซีนก็มี ที่แพ้เพราะเกิดอาการเกร็ง ภาวะเครียด นอนไม่พอ ก่อนมาฉีควัคซีนก็มี เพราะบ้านเรายังไม่ชินกับการฉีดวัคซีนคราวละมากๆ แบบนี้ ซึ่งก็ต้องพิสูจน์แล้วพูดความจริงกับประชาชน
- วันนี้ที่สหรัฐ ตอนแรกไบเดนประกาศฉีดวัคซีนให้ 100 ล้านโดส แต่ทำได้จริง 200 ล้านโดส วันนี้สหรัฐเขาคิดเรื่องเปิดประเทศ ให้ประชาชนเขาใช้ชีวิตปกติกันแล้ว
- วันนี้คลัสเตอร์คลองเตย รัฐต้องรีบคัดกรอง แล้วแยกคนป่วยกับคนไม่ป่วยออกจากกัน แล้วรีบฉีดวัคซีน แต่ต้องทำให้ประชาชนมั่นใจก่อนจะฉีด ไม่ใช่มาถึงแล้วบังคับให้ฉีด มีอะไรก็ต้องฉีด ประชาชนเขาก็มีหัวใจ มีความรู้สึก จะมาบังคับเขาไม่ได้
- วันนี้ไทยต้องระดมวัคซีน มันเร่งด่วนแล้ว จะมาใช้ระบบที่เป็นทางการแบบเดิมไม่ได้ ต้องไปดูว่าประเทศไหนมีวัคซีนเหลือ เพราะประเทศที่รวยๆ เขามีเหลือ ต้องใช้ความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ส่วนตัว ความสัมพันธ์กับพ่อค้า ไปเจรจาขอซื้อ หรือขอมาใช้ก่อน แล้วพอเราได้วัคซีนช่วงกลางปี ปลายปีเราก็ค่อยส่งคืน
- วันนี้ต้องมองโควิดและวัคซีนเป็นเรื่องเร่งด่วน ไม่ใช่มองว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องใช้กฎหมายและอำนาจมาบังคับใช้
- คลัสเตอร์คลองเตย เรามีรถตรวจที่ตรวจได้คันละประมาณ 1,000 คนต่อวัน มี 4 คน ก็ตรวจได้ 4,000 คน จะตรวจทั้งคลองเตย แสนคนต้องใช้เวลา 25 วัน ซึ่งอาจจะช้าไป ดังนั้น ต้องมาดูวิธีการว่าจะทำอย่างไรให้เข้าถึงการตรวจได้มากที่สุด
- ลักษณะการอยู่ร่วมกันของชุมชนแออัด การทำ social distancing ทำไม่ได้เลย บ้านนึง ห้องนะนึงนอนกัน 5-6 คน ถ้าเป็นคนนึงแล้วมันไปหมดเลย จะคล้ายกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศยากจนทั้งหลาย เช่น บราซิล อินเดีย คนไม่มีเงิน ตอนเขาเริ่มมีอาการ เขาก็ยอมทนไปก่อน รอจนอาการหนักจริงๆ ถึงค่อยไปตรวจ ซึ่งมันทำให้กว่าเราจะรู้ตัวก็ช้าไป
- สำหรับคลัสเตอร์คลองเตย การปูพรมตรวจหาเชื้อเป็นเรื่องสำคัญที่สุด วิธีการตรวจก็ทำได้โดยการตรวจจากรถตรวจ และให้ประชาชนตรวจกันเอง สังเกตอาการกันเอง ใครมีอาการก็รีบออกมาตรวจ แล้วแยกกักตัว การปูพรมตรวจบแล้วแยกกักกัน สำคัญที่สุด การฉีดวัคซีนมันช้าไป กว่าจะรอให้ภูมิขึ้น แล้วเกิดการระบาดในช่วงที่มีการฉีด ก็เกิดโอกาสระบาดซ้ำได้
- โควิดเป็นโรคที่อยู่คนเดียว ป่วยคนเดียว และตายคนเดียว ปู (ยิ่งลักษณ์) จะขอไปดูแล แต่ผมสั่งห้ามเด็ดขาด
- ทุกวันนี้คนกลัวว่าจะตายเพราะโควิด หรือตายเพราะเศรษฐกิจ วันนี้เรื่องเร่งด่วนไม่ได้มีแค่โควิด แต่มีเรื่องเศรษฐกิจด้วย ซึ่งรัฐต้องให้ความสำคัญ
- ต้องกระจายอำนาจบริหารจัดการ ไม่ใช่รวบอำนาจไปไว้ที่ตัวเอง เพราะคนๆ เดียวทำทุกเรื่องไม่ได้หรอก คนๆ เดียวไม่ได้เก่งทุกเรื่อง จะทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วไม่ได้ อย่าทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องกฎหมาย เอาคนที่ถนัดเรื่องความมั่นคงมาคุมเรื่องวิทยาศาสตร์ไม่ได้หรอก
- การฉีดวัคซีนไม่ได้ฉีดแค่เพื่อตัวเอง เพื่อป้องกันการระบาด แต่ฉีดเพื่อเศรษฐกิจ ให้เปิดประเทศได้ ให้เกิดความเชื่อมั่น ความมั่นใจ โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งหลาย ต้องฉีดวัคซีน วัคซีนไม่ใช่แค่ป้องกันโควิด แต่มันช่วยเศรษฐกิจด้วย
- ที่สิงคโปร์ เขาจะให้ token มาอันนึง ติดตัวไว้ เวลาไปไหนมาไหน ทางการจะรู้หมด เวลาเกิดการระบาดจะได้ตามได้
- บ้านเรามีแอพชนะเต็มไปหมดเลย ตกลงใครชนะ ยังไม่เห็นใครชนะเลย
- ตอนอิตาลีกับสเปนเจอโควิดใหม่ๆ เขาคัดกรองมั่ว เอาคนเป็นหวัดกับคนเป็นโควิดไปอยู่ด้วยกัน เลยทำให้คนที่เป็นหวัดติดโควิดหมด ดังนั้น เรามีบทเรียน ต้องเร่งคัดกรอง ตรวจหาเชื้อ แยกเอาคนที่เป็นโควิดออกมาให้ได้โดยเร็วที่สุดก่อน
- rematching resources คือ เอาทรัพยากรที่กระจัดกระจายมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าสมมติ ร้านอาหารที่ขายไม่ได้ กทม. ก็ต้องไปช่วยอุดหนุนเอามาแจก โรงแรมที่ตอนนี้กำลังเจ๊ง รัฐก็ไปเหมา แล้วทำที่กักตัวและได้สุขอนามัยราคาถูกๆ มันเป็นการช่วยกันในตัว
- วัคซีนวันนี้เราสั่งมา 2 อย่าง คือ Sinovac กับ AstraZeneca ทั้งๆ ที่เป็นที่รับรู้กันว่าถ้าอันดับ 1 ต้อง Pfizer กับ Moderna ถ้าของจีนก็ต้อง Sinopharm เอาล่ะ ถ้าสั่ง 2 เจ้านั้นมาแล้วก็ไม่ว่ากัน แต่ทำไมถึงไม่สั่งเจ้าอื่นมาด้วย จนถึงวันนี้ยังไม่อนุมัติ อย. ให้ Pfizer เลย แล้วทำไมไม่ให้เอกชนซื้อขายวัคซีนกันเอง ทำไมต้องทำผ่านรัฐบาล
- ทำไมวันนี้เรายังไม่สั่งเจ้าอื่น ทำไมไม่ไปขอให้ได้วัคซีนมาฉีดให้คนไทยก่อน ต้องกล้า aggressive พอ ไม่ใช่เค้าบอกว่าปลายปีค่อยมาเอา 10 ล้านโดสนะ ก็ยอม จริงๆ ไปเจรจาว่าขอสัก 1 ล้านโดสมาก่อนได้ไหม ยังไงก็ได้ ทำไมไม่ทำ อีกอย่างเอกชนเขาจะซื้อวัคซีนเอง ทำไมถึงไม่ยอมให้เขาทำ ไปห้ามเขาทำไม อยากใช้งบประมาณนักหรือไง รัฐต้องเปิดเสรีวัคซีนได้แล้ว
- เร่งคัดกรอง เร่งตรวจ แล้วเร่งไล่ล่าหาวัคซีน กระจายจุดฉีดวัคซีนไปให้ทั่ว ตั้งเต็นท์ตรงนั้นตรงนี้ แล้วบอกประชาชนว่ามีจุดฉีดตรงไหน เดี๋ยวเขาก็ไปกันเอง ไม่เห็นต้องเปิดลงทะเบียนผ่านแอพให้มันยุ่งยาก โถ่เอ้ย จะทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากทำไม
- บรรดากองเชียร์หรือสลิ่มทั้งหลาย ก็อยากได้ Pfizer อะแหละ แต่มันไม่มีให้
- วัคซีน Pfizer ถูกใช้ในไทยแล้ว ในรูปแบบ emergency เว็บไซต์ไม่เคยปกปิดข้อมูล มันขึ้นสีเหลืองว่าไทยเป็น 1 ในประเทศที่ใช้แบบ emergency use
- ที่ดูไบกำลังฉีดฟรีให้นักท่องเที่ยว ลงทุนแค่พันเดียว แต่นักท่องเที่ยวต้องอยู่ 21 วัน คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม
- ตอนนี้จะเกิดภาวะไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย จะเกิดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในภาคธนาคารสูงขึ้นแน่นอน
- การฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางการศึกษาก็เป็นเรื่องสำคัญ ในช่วงที่กำลังจะเปิดเทอม เพราะถ้าผู้ใหญ่ไม่เป็นไม่ติดโควิดมา โอกาสที่เด็กจะติดมันก็น้อย อีกอย่างเด็กมีภูมิคุ้มกันดีกว่า
- รัฐต้องเยียวยา “ทุกกลุ่ม” ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ไม่ว่าจะร้านอาหาร คนทำงานกลางคืน หรือแม้กระทั่งแท็กซี่
- กระแสคนรุ่นใหม่ #ย้ายประเทศกันเถอะ โทนี่มองว่า รัฐไม่พยายามเข้าใจประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นวัยที่วิธีคิดพวกเขาไม่เหมือนผู้ใหญ่ มันมี generation gap ditital gap ความไม่เข้าใจระหว่างคนแก่กับเด็ก ความไม่เข้าใจเกิดขึ้นได้ แต่นี่ไม่เข้าใจแล้วไม่พยายามฟัง ไม่พยายามทำความเข้าใจ แล้วไปใช้แต่อำนาจ ใช้กฎหมายใส่เด็ก คน gen นี้ เขามองว่าอนาคตโลกมันจะเป็นแบบนี้ จบมาแล้วเขาไม่มีงานทำ เขาหมดหวัง ทุกคนเกิดมาแล้ว จะดิ้นรนเพื่ออนาคตตัวเอง ถ้าเมืองไทยไม่มีลู่ทางให้พวกเขา เขาก็ต้องหาลู่ทางของตัวเอง การทำมาหากินในโลกยุคใหม่มันมีหลากหลาย ปกติมันไม่มีใครอยากจากบ้านเกิดเมืองนอนหรอก แต่ถ้ามันไม่มีช่องทางทำมาหากินให้เขา เขาก็ต้องไป มันเป็นทฤษฎีเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ มันเป็นธรรมชาติ เราต้องทำความเข้าใจ แล้วไปทำเศรษฐกิจของประเทศให้ดี ถ้าเศรษฐกิตยังโตแค่ 2-3% แบบนี้ เด็กจบใหม่มา ตกงานหมด เศรษฐกิจเราต้องโตอย่างน้อย 4-5% ถึงจะรองรับตำแหน่งงานได้ ไม่ใช่มามองว่าพวกเขาไม่รักชาติ บ้าไปแล้ว นี่มันความคิดแบบตกยุค
- เวลาปกครองลูก ต้องทำเหมือนเป็นเพื่อน เขาจะได้กล้าพูดความจริงกับเรา อย่าโกหกกับเด็ก ทำผิดยังให้อภัยได้ แต่โกหกไม่ได้ และอย่าไปก้าวล่วงชีวิตส่วนตัวของเขา
- การเลือกอยู่ที่ไหน เป็น choice ของแต่ละคน จะอยู่ในประเทศ หรืออยู่ต่างประเทศก็เป็นเรื่องของเขา แต่การที่คน 7 แสนคนเข้ากลุ่ม #ย้ายประเทศกันเถอะ ไม่ปกติแล้ว รัฐบาลต้องฟังเขา ต้องคุยกับเขา ไม่ใช่ไปด่าเขาแล้วใช้อำนาจใช้กฎหมายไปไล่จับเขา หลังรัฐประหาร ประชาธิปไตยมันหดหาย มีแต่ top down ใช้กฎหมายนำ การจับเข่าคุยกันมันไม่ค่อยมี
- ตอนอยู่เมืองนอก มีคนแนะนำว่าถ้าคิดว่าไทยคือบ้านของเรา เราจะทุกข์ใจมาก วันๆ จะคิดแต่กลับไทย แต่พอเราเปลี่ยนความคิดใหม่ คิดว่าโลกทั้งใบคือบ้านของเรา เราอยู่ที่ไหนก็ได้ มันก็หายทุกข์ คิดแบบนี้เอาดีกว่า ถ้าคิดแบบนี้ทุกที่ก็จะไม่มีพรมแดน
- เมื่อก่อนตอนเรียนเมืองนอก โทนี่เคยขายไก่ทอด เป็นบ๋อยในโรงแรม เพื่อเอาเงินมาผ่อนรถ เพราะโอกาสการทำงาน part time ในเมืองนอกมันมีเยอะ ถ้าเลือกย้ายประเทศ ก็ควรเลือกประเทศที่มีพรรคพวกเพื่อนฝูง ไปถึงตอนแรกก็ไปอาศัยเขาก่อนสักพัก แล้วค่อยย้ายไปเช่าบ้านถูกๆ
- เด็กรุ่นนี้เขามีความคิดว่าเขาต้องใช้สมองในการคิด แต่ถ้าเราไปหยุดความคิดของเขาไม่ให้เขาคิด เขาจะรู้สึกอึดอัด
- รัฐบาลต้องจัดสรรโอกาสและช่องทางทางเศรษฐกิจ ให้คนทำมาหากินได้ ให้คนมีโอกาสก้าวหน้าในชีวิตของตัวเอง ทำอย่างไรถึงจะสร้างระบบการศึกษาให้คนไทยมีโอกาสมากกว่านี้ เพราะ Work from home จะกลายเป็น new normal
- หากจะไปจริงๆ ต้องคิดให้รอบคอบ อย่าใช้ความโลภโกรธหลงรัฐบาลเป็นหลัก ถ้ามองเห็นลู่ทาง มองเห็นโอกาส มองเห็นความเป็นไปได้ ก็ไปเถอะครับ
- ถ้าโทนี่เป็นนายก คงไม่มีคนอยากย้ายประเทศมากขนาดนี้ และตัวเองคงไม่ปล่อยเศรษฐกิจให้พังพินาศ ต้องบริหารประเทศให้ดี ทำเศรษฐกิจให้ดี ต้องรับฟัง จับเข่าคุยคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่ว่าวันๆ จับวงคุยแต่คนอายุ 60
- เวลารัฐบาลจะออกมาตรการอะไร ต้องมีมาตรการเยียวยาตามมาเสมอ ไม่ใช่ว่าออกมาตรการมา แล้วไม่เยียวยา และต้องไม่เยียวยาแบบเหวี่ยงแหเพื่อซื้อเสียง เยียวยาเสร็จแล้ว ต้องเร่งตรวจคัดกรอง และเร่งฉีดวัคซีน
- อีก 4-5 เดือน ยารักษาโควิดจะถูกผลิตออกมา และวัคซีนจะมีการปรับไปเรื่อยๆ เพื่อรองรับการกลายพันธุ์ แต่วัคซีนทั้ง 2 ตัวที่เรานำเข้ามาฉีดให้ประชาชน ไม่ค่อยเก่ง รับมือการกลายพันธุ์ของโควิดได้ไม่ดีพอ ดังนั้น ต้องรีบหาวัคซีนเจ้าอื่นเข้ามา ขอเอกชนไปช่วยเจรจา ขอยืมวัคซีนจากประเทศที่มีเหลือมาก่อน
- ถ้าเป็นผม (โทนี่) ผมจะเดินสายหาวัคซีน จะได้กี่โดสก็เอามาก่อน จะได้เร่งบรรเทาผลกระทบ เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
- อเมริกาลี้ภัยทางการเมืองยาก แต่ไปอยู่เพื่อทำมาหากินพอได้อยู่ ไบเดนเพิ่งประกาศว่าจะรับคนเข้ามาทำมาหากินเพิ่มอยู่ แต่ละประเทศมีเงื่อนไขแตกต่างกัน ต้องลองหาข้อมูลดู
- ผมไม่ใช่นักปฏิวัติ ผมเป็นนักบริหาร เลยไม่ชอบการใช้กำลัง แต่วันนี้ประเทศอยู่ในจุดที่น่าเป็นห่วง เพราะ regime ไม่ตื่นตัวต่อโลกที่เปลี่ยนไป ไม่เข้าใจคนรุ่นใหม่ มันเหมือนกับถอยหลัง ดังนั้น วันนี้ต้องยอมรับความจริง แล้วฟังคนรุ่นใหม่ เค้าอยากคิดอยากพูดอะไร ก็ปล่อยเขา แล้วต้อง promise อนาคตให้พวกเขา อย่าไปคิดว่าคนรุ่นใหม่จะสั่นคลอน regime แต่ต้องมองว่าเขา voice ปัญหา เรียกร้องให้เกิดการแก้ไขปัญหา
- ปัญหาคนกลัววัคซีนตอนนี้ ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการฉีดวัคซีนแล้วมีปัญหา เกิดจากอะไร ต้องให้ชัดเจน เรื่องความเป็นความตาย ต้องพิสูจน์จนสมเหตุสมผล จนสิ้นความสงสัย คนถึงจะมั่นใจ ไม่ใช่หลอกประชาชน หรือประดิษฐ์คำใหม่
- เมืองนอก รัฐบาลมีมาตรการช่วยจ่ายค่าแรง 60% เพื่อรักษาการจ้างงานไว้ในช่วงที่ล็อกดาวน์ ไม่ให้บริษัทไล่คนออก ไม่งั้นไล่คนออก พอเปิดเศรษฐกิจก็ต้องมารับสมัครงานใหม่ เทรนด์กันใหม่ เสียเวลาอีก จริงๆ เมืองไทยก็ต้องทำ กู้เงินมาแล้วก็ต้องช่วยเขา
- ธุรกิจ SMEs ของคนตัวเล็ก เปราะบางมาก ถ้าพิษเศรษฐกิจมาเมื่อไหร่ SMEs ไปก่อนเพื่อน ดังนั้น เร่งด่วนที่สุดตอนนี้ คือ รัฐบาลจะช่วยเรื่องคงการจ้างงานไว้อย่างไร ไม่ให้คนตกงาน รัฐบาลจะช่วยเรื่องหนี้ของ SMEs อย่างไร ปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร จะอย่างไรก็แล้วแต่ รัฐต้องเข้ามาช่วย
- เราบอกให้เด็กเรียนที่บ้าน เรียนออนไลน์ ครูก็ไม่พร้อม เด็กก็ไม่พร้อม ตอนนายกปูแจกแท็บเล็ต ถ้าไม่ถูกประยุทธ์ยกเลิก มันจะเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมากในตอนนี้ การศึกษาต้อง modernize อย่างแรง ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เอาหลักสูตรมาอยู่ใน cloud แล้วต้องอย่า force แต่ต้องให้ freedom ทางการศึกษา
- ประชาชนไม่ใช่พลทหาร ต้องรู้จักให้เกียรติประชาชน ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจ ไม่ใช่สั่งการ ถ้าเอาแต่สั่งอย่างเดียว มันไม่มีใครอยากฟัง แล้วคนพูดก็ต้องเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองพูด ว่าจะพูดอะไร เหมือนครู ถ้าไม่เตรียมตัวสอน ไม่มีความรู้ นักเรียนก็ไม่ฟัง ก็ไปเล่นกันอยู่หลังห้อง ดังนั้น ต้องมองประชาชนเป็นประชาชน ต้อง empower ประชาชน ประชาชนเขารู้ เขามีวิจารณญาณพอในการตัดสินใจชีวิตของเขา
- จะฉีดวัคซีนให้ได้ 100 ล้านโดส ทำได้ แต่ต้องอย่ารวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ต้องกระจายอำนาจ แล้วต้องมีความกระตือรือร้นในการไปหาวัคซีน ไม่ใช่นิ่งอยู่เฉยๆ ต้องไปตื๊อขอวัคซีนมาให้ได้ เราต้องทำงานแข่งกับเวลา
- เดี๋ยวนี้ธุรกิจการบิน หันมาทำ cargo ทำ light parcel โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายของออนไลน์ ถ้าทำสุวรรณภูมิเป็น hub ได้ ทำเส้นทางบินดีๆ การบินไทยไม่เจ๊งหรอก แต่การบินไทยเจ๊งเพราะเราไม่ได้เป็น hub ตอนทักษิณเป็นนายก ประกาศตั้งสุวรรณภูมิเป็น hub การบิน สิงคโปร์รีบตั้งกรรมการมาแข่ง แต่พอโทนี่โดนรัฐประหาร สิงคโปร์ยุบกรรมการชุดนั้นทิ้งเลย
- ถ้าถามประยุทธ์ได้อยากถามว่า “เบื่อหรือยัง” เพราะรัฐธรรมนูญฉบับนี้อุ้มประยุทธ์ได้แข็งแกร่งมาก แต่ถ้าเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคใดพรรคหนึ่งได้เสียงถล่มทลาย 250 ส.ว. ก็พูดไม่ออกเหมือนกันนะ ส่วนตัวเชื่อว่าเลือกตั้งครั้งหน้า เสียงจะไม่เบี้ยหัวแตกแบบการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะสถานการณ์ที่ประชาชนเจอในตอนนี้ มันชัดเจน
- อะไรก็แล้วแต่ ที่เขาเคยเสียภาษีให้รัฐบาล วันนี้รัฐบาลจะไปดูแลเยียวยาเขา รัฐบาลก็ควรทำ ทุกวันนี้ที่เดือดร้อนกัน ก็เพราะรัฐสั่ง ดังนั้น รัฐเข้าไปช่วยเหลือดูแลนั้นไม่ผิด เพราะเป็นผลมาจากคำสั่งของรัฐ ส่วนจะช่วยมากช่วยน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสตางค์ มีมากช่วยมาก มีน้อยก็ช่วยตามกำลัง
- เสียดายที่อุตส่าห์ไปเรียนกฎหมายจบจาก Berkeley การใช้กฎหมายของท่าน “น่ารังเกียจมาก” เสียดายที่ผมอุตส่าห์ไปชวนท่านออกจากเลขา ครม. มาเป็นรองนายก (ด้านกฎหมาย) ผมผิดไปแล้ว ผมขอโทษ
- คนที่เหมาะสมมาคุมกระทรวงสาธารณสุข ต้องเป็นคนที่พูดแล้วนายกฟัง ถึงจะสามารถทำงานแล้วให้กระทรวงสาธารณสุข function ตอนตัวเองเป็นนายก ใช้กระทรวงสาธารณสุขเยอะมาก (ควบคู่กับ สวทช.) และกระทรวงนี้มีบุคลากรชั้นนำเยอะมาก อาชีพหมอเขารักษาการตรวจ แต่นักวิทยาศาสตร์รู้สมมติฐานของเชื้อโรคแต่ละอย่างดี ตอนตนเป็นนายก มีคุณหญิงสุดารัตน์เป็นรัฐมนตรีว่าการ คุยกันรู้เรื่อง เลยผ่านวิกฤตโรคซาร์ส ไข้หวัดนก มาได้