เมื่อเวลา 07.35 น. วันที่ 3 ก.พ. 68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ IQAir ได้จัดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากสุด พบว่า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ติดอันดับ 15 จาก 123 ประเทศเมืองทั่วโลก มีค่าฝุ่นระดับ 155 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
โดยอันดับ 1 ธากา บังกลาเทศ อันดับ 2 ซาราเยโว บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา อันดับ 3 ลาฮอร์ ปากีสถาน อันดับ 4 ย่างกุ้ง เมียนมา อันดับ 5 เดลี อินเดีย
ขณะที่ 10 จังหวัดในประเทศไทยที่มีค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุด ได้แก่
1. อยุธยา มีค่าฝุ่นระดับ 184 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
2. ขอนแก่น มีค่าฝุ่นระดับ 174ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
3. ธัญบุรี มีค่าฝุ่นระดับ 172 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
4. ลำลูกกา ปทุมธานี มีค่าฝุ่นระดับ 168 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
5. คลองหลวง ปทุมธานี มีค่าฝุ่นระดับ 167 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
6. ปทุมธานี มีค่าฝุ่นระดับ 166 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
7. นครราชสีมา มีค่าฝุ่นระดับ 163 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
8. บางพลี สมุทรปราการ มีค่าฝุ่นระดับ 162 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
9. ลำปลายมาศ บุรีรัมย์ มีค่าฝุ่นระดับ 162 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
10. บางกะปิ กรุงเทพ มีค่าฝุ่นระดับ 160 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
สำหรับสถานการณ์ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาพรวมคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ ข้อแนะนำสุขภาพ ในพื้นที่คุณภาพอากาศระดับสีแดง หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทุกคนควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 และหากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
ในพื้นที่คุณภาพอากาศระดับสีส้ม หรือเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนทั่วไป ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ขอบคุณข้อมูล : เว็บไซต์ IQAir
Advertisement