เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไปประชาชนสามารถปลูกกัญชงกัญชาได้โดยไม่ผิดกฏหมายอีกต่อไป หลังประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มีผลบังคับใช้ ทำให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง จะไม่ใช่ยาเสพติดประเภทที่ 5 ยกเว้น สารสกัดที่มี THC จากกัญชง กัญชา ที่เกิน 0.2% และ สารสกัดจากเมล็ดกัญชาที่ปลูกในประเทศ โดยเป้าหมายหลักของการปล็คล็อคครั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และเศรษฐกิจของไทย
.
ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน หากว่าประชาชนต้องการปลูกกัญชา ต้องมีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชั่น “ปลูกกัญ” และเว็บไซต์ http://plookganja.fda.moph.go.th โดยสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ ได้ทั้งระบบ IOS และมี 3 ขั้นตอน
กรอกรายละเอียดแค่เลขบัตรประชาชน กับ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ หลังนั้นระบบจะส่ง OTP 6 หลัก ส่งมาที่มือถือ หลังจากกรอกรหัสแล้วเป็นการจบการลงทะเบียนไปสู่ขั้นตอนการจดแจ้ง
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 วัตถุประสงค์
- เพื่อดูแลสุขภาพ ใช้ในครัวเรือน ส่วนตัว
-เพื่อใช้ดูแลรักษาผู้ป่วย แพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก แพทย์พื้นบ้าน
-เพื่อการพาณิชย์
การจดแจ้งดังกล่าวเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้ผู้ประกอบการแสวงหาวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานออกสู่ตลาด เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลอีกด้วย โดยทาง อย. ได้อบรมเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด กรุงเทพมหานคร และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการจดแจ้งปลูกกัญชา กัญชง โดยผู้สนใจสามารถรับชมวีดีโอวิธีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชันหรือจดแจ้งผ่านเว็บไซต์ของ อย. หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ call center โทร 1556 กด 3
แม้ว่าตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายนเป็นต้นไป เราจะสามารถปลูกกัญชา กัญชา ได้แบบไม่ต้องขอใบอนุญาติ แต่ในส่วนของการนำไปใช้ หรือ ผลิตเป็นสินค้า ยังคงต้องมีการดูแลควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐาน คำถามที่คนมักถามบ่อยในการปลูกกัญชง กัญชา
หากต้องการนำพืชกัญชา กัญชง มาสกัดไม่ว่าจะเป็นการนำส่วนใดของพืชกัญชา กัญชง ไปสกัด โดยสารสกัดที่ได้จะมี THC เท่าใดก็ตาม ต้องขออนุญาตผลิตสกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด (ยกเว้นการสกัดจากเมล็ด) โดยผลผลิตสารสกัดที่ได้ แบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 สารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ
ส่วนที่ 2 สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ
รวมถึงการบริการจัดส่งอาหารให้กับผู้ซื้อ ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายใด
ไม่ต้องขออนุญาตกับ อย. แต่สถานประกอบการ ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำ
ใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้
(1) แสดงข้อแนะนำ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหารตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำ
ใบกัญชามาใช้ในการทำประกอบหรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565
(2) แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาหรือกัญชงในภาชนะบรรจุ ดังต่อไปนี้
(ก) ข้อความ “เด็ก อายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน”
(ข) ข้อความ “หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที”
(ค) ข้อความ “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
(Tetrahydrocanabionol ,THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Canabidiol, CBD) ควรระวังในการ
รับประทาน”
(ง) ข้อความ “อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับ เครื่องจักรกล”
พืชกัญชาและกัญชงมาใช้บริโภคเป็นอาหารได้หรือไม่
ผลิตภัณฑ์อาหารอนุญาตให้ใช้กัญชา/กัญชง เฉพาะที่ปลูกและผลิตในประเทศไทย โดยไม่อนุญาตให้นำเข้าผลิตภัณฑ์หรือพืชกัญชา และกัญชง ไม่ว่ากรณีใดๆเนื่องจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 424) พ.ศ. 2564 กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย และกำหนดส่วนของพืชกัญชากัญชงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอาหารได้เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศเท่านั้น ได้แก่
(ก) เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก
(ข) เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชง
(ค) ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย
(ง) สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) เป็นส่วนประกอบ และต้องมี
สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
(จ) กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและต้องมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล
(Tetrahydrocannabinol, THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนักแห้ง
ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนำผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจำหน่าย
ทั้งนี้สามารถอ่านคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช่กัญชง กัญชาได้ที่ ลิงค์นี้
https://www.fda.moph.go.th/Pages/Document/Cannabis/FAQ_CNB2.pdf
1.เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
2.เพือพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ทั้งกลุ่ม เครื่องสำอาง สมุนไพร อาหาร เครื่องดื่ม บิวตี้โปรดักค์
3.ให้พี่น้องประชาชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภสพชของตนเอง
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อนุทิน ชาญวีระกูล ย้ำว่า ไม่ต้องกังวลในการใช้กัญชาหากใช้ตามกฏหมายอย่างถูกวิธี เป้าหมายสำคัญ เพื่อป้องกันและรักษาโรค รักษาชีวิต ส่งเสริมอนามัยที่ดีของประชาชน เพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ ที่ชัดเจนแล้วว่า กัญชามีประโยชน์มากกว่าโทษและเป้นประโยชน์กับประเทศ
“ กัญชา มีประโยชน์เหนือโทษ กระทรวงสาธารสุขจึงผลักดันกัญชาทางการแพทย์ เป้าหมายหลักคือ รักษาโรค ต้องใช้กัญชาอย่างเช้าใจ แล้วมันจะมีมูลค่าเหมือนทองคำ กัญชาจะเป็นพืชเศรษฐกิจได้ทั้งในและต่างประเทศ แต่ถ้าเอาไปใช้ในด้านดาร์ค จะเป็นการปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนในประเทศไทย ”
เมื่อประมาณปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมามีงานสัมมนา CANNABIS WEALTH “สูตร (ลับ) ฉบับรวยด้วย...กัญชา” จัดโดยนสพ.ฐานเศรษฐกิจ "นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์" รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก บอกว่า ธุรกิจกัญชาเป็นบลูโอเชี่ยน และไวท์โอเชี่ยน ที่มีโอกาสในการพัฒนาธุรกิจเศรษฐกิจด้วยการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในวงกว้างได้
โดยแบ่งกลุ่มเป็น 3 ระดับ Food grade ปลูกนำไปทำอาหารเครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ของใช้ในชีวิตประจำวัน แชมพู สบู่ ยาสระผม ครีมนวด ปลูกผม Traditional grade และ Medical grade มีช่องว่างทางธุรกิจที่สอดแทรกเข้าไปดำเนินการได้ทุกระดับและกว้างขวางมาก
นายพรชัย ปัทมินทร” นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ดร.ซีบีดี จำกัด กล่าวในงานเดียวกันว่า ตลาดกัญชง กัญชา และกระท่อมของโลก มูลค่า 8 แสนล้านบาท โดยมีอัตราเติบโจกว่า 25 % ต่อปี และ 3-5 ปีข้างหน้ามูลค่าจะเพิ่มเป็นกว่า 3 ล้านล้านบาท และเทรนด์ผู้บริโภคมากกว่า 70 % พร้อมที่จะลองใช้กัญชง กัญชาไม่ว่าจะเป็นป้องกันและรักษา นอกจากนี้โควิดยังเข้ามาเปลี่ยนความคิดคนให้ใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น และเริ่มมองหาอาหารเสริม ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถมีแนวทางใหม่ๆในการทำผลิตภัณฑ์จำนวนมากเป็นธุรกิจปลายน้ำ ขณะที่รัฐบาลต้องสร้างนิคมอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ต้องทำอย่างสร้างสรรค์และมีความรับผิดชอบ
ขณะที่ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สำรวจภาพรวมประเทศถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 พบว่า ภาคธุรกิจตอบรับกันอย่างคึกคัก มีการขออนุญาตกัญชาทั้งหมด 2,351 ฉบับ ประกอบด้วย นำเข้า 12 ฉบับ ครอบครอง 106 ฉบับ ผลิต (ปลูก) 458 ฉบับ ผลิต (แปรรูป/สกัด) 41 ฉบับ ผลิต (ปรุง) 6 ฉบับ ส่งออก 1 ฉบับ และจำหน่าย 1,650 ฉบับ
พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา แบ่งเป็นผู้รับอนุญาตปลูก 397 ราย พื้นที่ปลูกมากกว่า 110 ไร่ จำนวนมากกว่า 245,000 ต้น การขออนุญาตกัญชง ทั้งหมด 2,361 ฉบับ ประกอบด้วย นำเข้า 110 ฉบับ ครอบครอง 21 ฉบับ ผลิต (ปลูก) 2,041 ฉบับ ผลิต (แปรรูป/สกัด) 14 ฉบับ ส่งออก 1 ฉบับ และจำหน่าย 174 ฉบับ พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชง แบ่งเป็นผู้รับอนุญาตปลูก 2,041 ฉบับ (877 ราย) พื้นที่ปลูก 4,845 ไร่
สำหรับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น มีการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชา กัญชง และสารสกัดแคนนาบิไดออล (CBD) รวมทั้งสิ้น 80 รายการ ได้แก่ น้ำมันจากเมล็ดกัญชง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ซอสปรุงรส ขนมเยลลี่ อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที เป็นต้น อนุญาตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง รวม 754 รายการ ได้แก่ เครื่องสำอางที่มีสารสกัดที่มีสาร CBD จากกัญชาและกัญชง 95 รายการ เครื่องสำอางที่ใช้ส่วนของกัญชา 56 รายการ เครื่องสำอางที่ใช้ส่วนของกัญชง 18 รายการ และใช้น้ำมัน/สารสกัดเมล็ดกัญชง 585 รายการ เพื่อบำรุงผิวทำความสะอาดผิวและขัดผิว และอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมทั้งสิ้น 12 รายการ ได้แก่ ยาแผนไทย 11 รายการ และผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ จำนวน 1 รายการ
ที่มา
http://plookganja.fda.moph.go.th/
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/2266
https://www.bangkokbiznews.com/social/1001208