วันนี้คือวันอิโมจิโลก สัญลักษณ์ โลโก้ ที่แทนข้อความ แทนคำพูด และความรู้สึกของผู้คนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในโลกยุคดิจิทัลในปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะใช้แพลตฟอร์ม ไลน์ เฟสบุค ทวิตเตอร์ หรือโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ อิโมจิแทนความรู้สึกของผู้คนในการสื่อสารไปแล้ว
แนวคิด อิโมจิ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในยุคดิจิทัล แต่มันมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ปี 1982 หรือ พ.ศ. 2525 เมื่อนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชื่อ Scott Fahlmamn เสนอว่าสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น :-) และ :-( สามารถแทนที่ภาษาได้ จากนั้นก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น แต่ยุคนั้นเราก็ไม่ได้เรียกสัญลักษณ์เหล่านั้นว่า อิโมจิ
จนกระทั่ง พ.ศ.2542 เกตากะ คูริตะ พนักงานออกแบบของ NTT DoCoMo บริษัทที่เป็นเครือข่ายมือถือของญี่ปุ่น ได้รับแรงบันดาลใจจากสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงสภาพอากาศในรายการพยากรณ์อากาศ เกตากะ คูริตะ จึงออกแบบ และพัฒนาอีโมจิชุดแรกจำนวน 176 สัญลักษณ์ภายในระยะเวลาเพียง 1 เดือน และหลังจากนั้นได้รับความนิยมในญี่ปุ่นอย่างมาก จนแพร่ไปยังประเทศฝั่งตะวันตก ผ่านโปรแกรมแชทอย่าง MSN และ ICQ แต่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากหลังจากที่อีโมจิถูกนำมาใส่ในสมาร์ทโฟน ทั้ง iOS, Android และ WhatsApp ได้เปิดตัวคาแรคเตอร์แสดงอารมณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
มีรายงานว่า Oxford Dictionaries ได้ประกาศให้คำว่า “ขำจนน้ำตาไหล” (Face With Tears of Joy) ซึ่งเป็นหนึ่งในอีโมจิที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เป็นคำแห่งปี 2558
World Emoji Day จัดขึ้นในวันที่ 17 กรกฎาคมของทุกปี จุดประสงค์ของวันอีโมจิโลกคือเพื่อส่งเสริมการใช้อิโมจิ โดยวัน 17 ก.ค. เป็นวันที่ Apple เปิดตัวแอปพลิเคชั่นปฏิทิน iCal ครั้งแรกในวันนี้ในปี 2545 ที่งาน MacWorld Expo
หลังจากนั้น เจเรมี เบิร์จ ผู้ก่อตั้ง Emojipedia เว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอีโมจิ จึงกำหนดให้วันที่ 17 ก.ค. ของทุกปีเป็นอีโมจิโลก โดยเริ่มเมื่อปี 2557 ถึงวปัจจุบัน ซึ่งEmojipedia ให้บริการการค้นหาอีโมจิมากกว่า 25 ล้านครั้งในแต่ละเดือน และเป็นเว็บไซต์ที่มีการอัพเดตเรื่องราวต่างๆของอิโมจิไว้ จุดประสงค์ของ วันอีโมจิโลก คือเพื่อส่งเสริมการใช้อีโมจิและเผยแพร่ความเพลิดเพลินที่อิโมจินำมาสู่ทุกคน โดยทุกคนสามารถเข้าร่วมการเฉลิมฉลองได้โดยใช้แฮชแท็ก #WorldEmojiDay
และในแต่ละแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย และในแต่ละภูมิภาคของโลกพบว่า มีอิโมจิยอดนิยมแตกต่างกัน โดยเคยทีการสำรวจพบว่า อีโมจิ “ขำจนน้ำตาไหล” (Face With Tears of Joy) ถูกใช้มากที่สุดใน 75 ประเทศทั่วโลก
ตามมาด้วยอีโมจิรูปธงชาติของแต่ละประเทศที่ถูกใช้มากที่สุดถึง 48 ประเทศ ส่วนรูปหัวใจที่ถูกใช้มากที่สุดใน 44 ประเทศ อีโมจิที่ใช้มากที่สุดในกลุ่มประเทศภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังคงเป็นรูปธงชาติของแต่ประเทศ เช่น กัมพูชา เกาหลีเหนือ สิงคโปร์ และเวียดนาม ตามมาด้วยอีโมจิรูปหัวใจ เช่น ไทย และ เมียนมา ส่วนอีโมจิขำจนน้ำตาไหลถูกใช้มากที่สุดใน จีน มาเลเซีย และ ออสเตรเลีย เป็นต้น
แต่มีสถิติที่น่าสนใจจาก Emojipedia พบว่า การใช้อีโมจิทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบัน 1 ใน 5 ของการทวีตข้อความต้องมีการใช้อีโมจิ เพิ่มขึ้นจากเดิม อีโมจิในทุกๆ6ทวีตในปี 2019 และหนึ่งในสิบทวีตในปี 2014
ขณะเดียวกัน World Emoji Award ยังประกาศรางวัลให้กับอิโมจิทุกปี ด้วยการให้ผู้คนโหวต สำหรับรางวัล อิโมจิใหม่ที่คนใดตั้งตารอใช้มากที่สุด Most Anticipated Emoji อันดับ 1 คือ หัวใจสีชมพู ได้ไป 40% อันดับ 2 คือ คนหน้าสั่น และ อันดับ 3 คือ หัวใจสีฟ้า ส่วนรางวัล Emoji Lifetime Achievement ได้มอบเกียรติให้กับอีโมจิที่ยืนยงที่สุดตัวหนึ่ง นั่นคือ Red Heart รูปหัวใจสีแดง
สำหรับในปี 2022 มีอีโมจิใหม่เวอร์ชั่น 15.0 ทั้งหมด 31 สัญลักษณ์ เช่น อีโมจิส่ายหน้า, สัญลักษณ์มือหยุด, กวางมูส, ห่าน, นกเดินดงสีดำ, แมงกะพรุน, หัวใจเฉดสีใหม่, สัญลักษณ์ Wi-Fi, ขิง, พัด เป็นต้น
ที่มาข้อมูล Economictimes , Emojipedia , World Emoji Award , กรุงเทพธุรกิจ