หากพูดชื่อ ‘เถ้าแก่น้อย’ เชื่อว่าภาพแรกที่ขึ้นมาในหัวของทุกคนก็คงหนีไม่พ้น ขนมขบเคี้ยวที่สร้างชื่ออย่าง ‘สาหร่าย’ แต่รู้หรือไม่ ว่าอาณาจักรของเถ้าแก่น้อย ไม่ได้มีดีแค่สาหร่าย แต่ว่ายังมี เครื่องดื่ม ร้านอาหารข้าวแกงกระหรี่ญี่ปุ่น ไปจนถึงร้านหมูกระทะ หรือแม้แต่ตอนนี้ยังได้กระโดดเข้าไปสายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ อย่าง เวย์โปรตีน อีกด้วย
ซึ่งล่าสุดตอนนี้ ‘เถ้าแก่น้อย’ ยังได้ปิดดีลเข้าซื้อหุ้น 'เจ้าสัว' กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เบอร์ 3 แบรนด์ขนมขบเคี้ยวชื่อดัง ซึ่งเถ้าแก่น้อยได้เข้าซื้อหุ้นจำนวน 13,128,100 หุ้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 4.38%
บทความนี้ SPOTLIGHT จึงอยากชวนทุกคนมาเปิดอาณาจักรธุรกิจอาหารพันล้านของ ‘เถ้าแก่น้อย’ ธุรกิจมหาชนที่ไม่ได้มีดีแค่ ‘สาหร่าย’
เมื่อวันที่ 16 เมษายนที่ผ่านมา บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ แต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ บริษัท เถ้าแก่น้อย ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TKN ได้เข้ามาซื้อหุ้นกว่า 13,128,100 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 4.38% ซึ่งส่งผลให้เถ้าแก่น้อยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 3
จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างดังกล่าว ส่งผลให้ลำดับผู้ถือหุ้น 3 อันดับแรกของเจ้าสัว เปลี่ยนแปลงไปดังต่อไปนี้
1. บริษัท เจ้าสัว กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด จำนวน 136,800,000 หุ้น สัดส่วน 45.60%
2. LGT BANK (SINGAPORE) LTD2 จำนวน 16,000,000 หุ้น สัดส่วน 5.33%
3. เถ้าแก่น้อย TKN จำนวน 13,128,100 หุ้น สัดส่วน 4.38%
อย่างไรก็ตาม เจ้าสัวและเถ้าแก่น้อยต่างก็เป็นผู้เล่นในตลาดขนมขบเคี้ยวเหมือนกัน การเข้ามาจับมือเป็นพันธมิตรกันในครั้งนี้ จะทำให้ทั้ง 2 แบรนด์ เอาชนะตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย มีมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท ได้หรือไม่
ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น : 1 ล้านบาท (เมื่อวันที่ 21 ก.ย.47)
แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน : 10 พ.ค.56 ด้วยการเพิ่มทุน 345 ล้านบาท โดยเป็นการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไปจำนวน 360 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.25 บาท
ผลิตและจำหน่ายสาหร่ายแปรรูป ด้วยแบรนด์ ‘เถ้าแก่น้อย’ โดยมีผลิตภัณฑ์และรสชาติที่หลากหลาย แบ่งเป็น 5 กลุ่มย่อย ได้แก่ เช่น สาหร่ายทอด, สาหร่ายย่าง, สาหร่ายอบ, สาหร่ายเทมปุระ, สาหร่าย Topping
ทุนจดทะเบียน : 35 ล้านบาท
หนึ่งในบริษัทกลุ่มเถ้าแก่น้อยดําเนินธุรกิจร้านจําหน่ายสินค้า ขนมขบเคี้ยวและของที่ระลึกประเภทของฝาก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และดําเนินธุรกิจร้านอาหารเป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต
ร้าน 71 หมูกะทะ เป็นธุรกิจร้านอาหารที่บริษัทได้ร่วมธุรกิจกับ 71 mookata ต้นตํารับเมื่อปี 2566 ในฐานะแฟรนไชซี (ผู้ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์) เพียงเจ้าเดียว
เถ้าแก่น้อยได้คว้าแฟรนไชส์ “ฮิโนยะ”ข้าวแกงกะหรี่ดีกรีแชมป์จากญี่ปุ่น โดยได้สิทธิ์บริหารแต่เพียงผู้เดียว (ในประเทศไทย)
ร้าน BOMBER DOG สตรีทฟู้ดเกาหลี โดยมีเมนูชูโรงคือ Corn Dog
ทุนจดทะเบียน : 1 ล้านบาท
ธุรกิจผลิตและจําหน่ายผงปรุงรสให้แก่กลุ่มบริษัทฯ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนมขบเคี้ยวประเภทสาหร่าย รวมถึงสินค้าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น รสคลาสสิค, รสเผ็ด, รสซีฟู้ด, รสชีส, รสซอสญี่ปุ่น, รสพิซซ่า, รสวาซาบิ, รสต้มยำกุ้ง, และรสสไปซี่บาร์บีคิว
ทุนจดทะเบียน : 5 ล้านบาท
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าซื้อมาขายไป โดยมุ่งเน้นสินค้ากลุ่มเพื่อสุขภาพ เช่น เวย์โปรตีน ภายใต้ชื่อ My Whey
ผลิตและจำหน่ายสาหร่ายเถ้าแก่น้อย ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ภายใต้แบรนด์ “Taokaenoi” และ “Nora”
รายได้ 4,367 ล้านบาท
กำไร 435 ล้านบาท
รายได้ 5,323 ล้านบาท
กำไร 743 ล้านบาท
รายได้ 5,712 ล้านบาท
กำไร 836 ล้านบาท
และหากเราเจาะมาที่ยอดขายในปี 2567 พบว่า เถ้าแก่น้อยสามารถสร้างยอดขายในต่างประเทศมากกว่าในประเทศไทยซะอีก
อ้างอิง : เถ้าเเก่น้อย