Converse รองเท้าผ้าใบเอกลักษณ์คือดาว 5 แฉก เป็นขวัญใจวัยรุ่นมาหลายยุคหลายสมัย ล้มลุกคลุกคลานถึงขั้นเคยล้มละลาย แต่ก็ไปต่อได้จนถึงวันนี้มีอายุ 117 ปีแล้ว
บทความนี้ SPOTLIGHT อยากชวนทุกคนมารู้จักกับแบรนด์รองเท้า Converse และเส้นทางตลอด 117 ปี ที่ผ่านอะไรมาบ้าง และที่สำคัญ Converse กลับมาทวงบัลลังก์ตลาดรองเท้าสนีกเกอร์ได้อย่างไร
จุดเริ่มต้นของ Converse เกิดขึ้นเมื่อปี1908 หรือเมื่อ 117 ปีที่แล้ว จากอดีตผู้จัดการโรงงานรองเท้าชาย ที่มีชื่อว่า Marquis Mills Converse ตอนนั้นเขามี อายุ47 ปี ได้ก่อตั้งบริษัท Converse Rubber Shoe Company ขึ้นมาเพื่อผลิตรองเท้ายางสำหรับใส่ในฤดูหนาวเท่านั้น
แต่เชื่อหรือไม่ มาร์ควิส ใช้ระยะเวลาเพียงแค่ 2 ปี โรงงานของเขาก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะผลิตรองเท้าได้ถึง 4,000 คู่ / วัน
จุดปลี่ยนสำคัญของ Converse คือปี 1915 เมื่อมาร์ควิส ได้เห็นลู่ทางใหม่ๆ ทำให้ Converse สามรถเข้าสู่ตลาดรองเท้ากีฬาได้เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วงแรกโรงงานของเขาผลิตรองเท้ากีฬาสำหรับเทนนิส แต่มันกลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
จนกระทั่ง มาร์ควิส ได้เห็นความนิยมของกีฬาบาสเก็ตบอลในสหรัฐฯซึ่งตอนนั้นยังไม่มีรองเท้าสำหรับกีฬาบาสเก็ตบอลโดยเฉพาะ นี่จึงเป็นช่องวางทางการตลาดสำคัญที่ มาร์ควิส เล็งเห็น แม้เป็นเพียงช่องว่างเล็กๆแต่เขาก็เชื่อว่าบาสเก็ตบอลนี่แหละ จะเป็นกีฬาที่พาให้รองเท้า Converse ของเขาปังได้
จากนั้นมาร์ควิส ได้ศึกษาและทำการบ้านถึงความต้องการและรูปแบบการเล่นของกีฬาชนิดนี้ ทำให้เกิด Non-Skids รองเท้ากีฬาสำหรับบาสเก็ตบอลคู่แรกของ Converse
โดยมีลักษณะเป็นรองเท้าผ้าแคนวาสหุ้มข้อทรงสูงและมีพื้นดอกยางที่เจ้าตัวเรียกว่า ‘CX’ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นในขณะที่ทดลองผสมส่วนประกอบต่างๆ ในการผลิตยางจนเกิดเป็น Triple Tread Technology หรือพื้นดอกยางคุณภาพสูงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
หากพูดถึงรองเท้า Converse เชื่อว่าหลายๆคนน่าจะต้องนึกถึงโลโก้ ดาว 5 แฉก แล้วเคยสงสัยไหมว่าไอ้เจ้าดาว 5 ฉากเนี่ย มาจากไหน ?
โลโก้ดาว 5 แฉก แท้จริงแล้วเกิดขึ้นจาก รองเท้าบาสเก็ตบอลรุ่น All Star แม้ว่าช่วงแรกที่วางขายรองเท้าคู่นี้ก็ไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไร แต่รองเท้าคู่นี่ กับไปถูกตาต้องใจนักบาสเกตบอลชาวอเมริกัน สโมสร Akron Firestone ที่มีชื่อว่า Charles ‘Chuck’ Taylor เทอร์เลอร์ชื่นชอบดีไซน์ของรองเท้า All star มาก มากขนาดที่ว่าไม่ว่าเขาจะเดินทางไปแข่งที่ไหนเขาก็จะใส่รองเท้าคู่ใจนี่ไปด้วยทุกที่
และแม้ว่า Charles ‘Chuck’ Taylor จะชอบรองเท้า All star ขนาดไหน แต่พอเค้าใส่เล่นบาสก็ยังเจอถึงข้อบกพร่องต่างๆ ทำให้ เขาได้เดินไปในร้าน Converse เพื่อนำเสนอถึงปัญหาที่ตัวเขาและนักกีฬาคนอื่นๆ ต้องพบเจอจากประสบการณ์การใส่รองเท้ารุ่นดังกล่าว เพื่อให้ทาง Converse ปรับปรุงรองเท้าให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
เรียกว่าได้ว่านี่ feedback โดยตรงจาก loyal customer แน่นอนว่าแบรนด์ก็ได้มีการปรับรองเท้า All Star ไม่ว่าจะเป็นการปรับพื้นให้คล่องตัวในการวิ่งและกระโดดมากขึ้น ปรับการร้อยเชือก
ซึ่งตอนนั้น เทย์เลอร์ ได้ถูกว่าจ้างให้เป็นพนักงานขายควบคู่ไปกับการเป็น brand ambassador ของconverse และอาจถือได้ว่าเทย์เลอร์คือนักกีฬาคนแรกในโลกที่ได้เป็นพรีเซนเตอร์รองเท้ากีฬาในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ และนี่เองนี่แหละค่ะ ทำให้รองเท้า All Star กลายมาเป็นที่นิยมของหมู่นักบาสคนอื่นๆในสหรัฐ
รองเท้าของ Converse ได้รับความนิยมและยอมรับอย่างกว้างขวางจากผลงานความสำเร็จด้วยฝีมือของเทย์เลอร์ ทำให้ในปี 1932 ทาง Converse ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อรองเท้ารุ่นดังกล่าวด้วยการเพิ่มชื่อ Chuck Taylor เข้าไปเป็น ‘Chuck Taylor All Star’ เพื่อเป็นเกียรติให้กับเทย์เลอร์ซึ่งทำงานร่วมกับ Converse จนกระทั่งเขาเสียชีวิต
ความนิยมของรองเท้ารุ่น All Star ส่งผลให้ Converse ได้ตัดสินใจหยิบรูปดาวขึ้นมาเป็นตัวตนของแบรนด์ในปี 1962 ซึ่งโลโก้ดาวนั้นก็ถูกใช้มาตลอดหลายทศวรรษผ่านการปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนผ่านมา 50 ปีในปัจจุบันโลโก้ของ Converse ยังคงเป็นรูปดาวและบั้งพร้อมกับชื่อแบรนด์ เวอร์ชั่นที่ใช้ในช่วงยุค 70s ที่โมเดิร์นมากขึ้น
ในช่วงยุค 60 รองเท้า Chuck Taylor All Star ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่วงการบาสเกตบอล และสามารถครองส่วนแบ่งรองเท้าผ้าใบมากที่สุดของสหรัฐ
ช่วงปี 70 80 และ 90 ก็ยังเป็นขาขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยสถานะแบรนด์รองเท้าคู่ใจของวัยรุ่นและชาวร็อค อย่างตอนที่นักร้องนำวง Nirvana ใส่ Converse ขึ้นคอนเสิร์ต และในปี 1997 มีรายงานว่าเขาขายได้ถึง 550 ล้านคู่เลย
เรียกได้ว่าสมัยนั้น Converse เป็นไอเท็มยอดฮิตที่วัยรุ่นต่างป้ายยากันไปมา ถ้าเปรียบเทียบกับสมัยนี้ ก็คือ “ของมันต้องมี”
อย่างไรก็ตาม เเม้ว่า Converse ที่มีอายุยาวนานถึง 117 ปี ก็เคยมียุคตกต่ำเหมือนกัน โดยเฉพาะการแข่งขันกับแบรนด์รองเท้าผ้าใบแฟชั่นเกิดใหม่ทั้งหลาย โดยในช่วงปี 1980-1990 บริษัทหน้าใหม่อย่าง Nike ก็เริ่มเติบโตพร้อมกับความนิยม ทำให้นักบาสเก็ตบอล NBA เริ่มหันมาใส่กัน ส่งผลทำให้ยอดขายของ Converse ไม่ค่อยสู้ดี บวกกับปัญหาภายในของบริษัทฯ เองทำให้คอนเวิร์ส ต้องยื่นล้มละลายในปี 2001 เพราะเป็นหนี้ก้อนโตถึง 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 6,400 ล้านบาท
Converse พยายามทำทุกวิถีทางในการลบล้างหนี้ก้อนนี้ไม่ว่าจะเป็นการปลดพนักงานนับพัน ขายอาคารสำนักงานใหญ่ หรือแม้แต่ปิดโรงงานบางแห่ง แต่สุดท้ายก็ยังคงไปไม่รอด ทำให้ในปี 2003 บริษัทฯ ก็ถูกซื้อกิจการโดย Nike คู่แข่งในขณะนั้น ด้วยมูลค่า 309 ล้านเหรียญสหรัญ หรือราว 9,888 ล้านบาท
การเข้ามาของ Nike กลับทำให้แบรนด์ Converse มีชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง เพราะ converse ถูกปรับให้เป็นแบรนด์แฟชั่น streetwear เต็มรูปแบบ มีรองเท้ารุ่นใหม่ออกมาเรื่อยๆ รวมถึงสีสันและลวดลายต่างๆเพื่อให้ตอบรับผู้คนได้ทุกวัยและทุกสไตล์
Nike ได้ใช้กลยุทธ์การตลาด โปรโมท Converse ด้วยแคมเปญต่างๆทั้งด้านดนตรีและกีฬา และรองเท้ารุ่น Chuck Taylor All-Star ก็เป็นรองเท้าที่ขายดีมากที่สุดในประวัติศาสตร์ภายในศตวรรษที่ 21 ได้ถูกจำหน่ายไปกว่า 600 ล้านคู่ทั่วโลก
และในปี 2021 Nike ได้ประกาศว่า พวกเขาสามารถทำรายได้ถึง 450 ล้านเหรียญจาก Chuck Taylor All Star เพียงรุ่นเดียว หรือเท่ากับว่าสามารถขายได้ประมาณ 1 คู่ในทุก ๆ 43 วินาที
ด้วยความสำเร็จนี้ ทำให้ ณ ปีงบประมาณ 2023 ทั่วโลกมีร้านค้าของ Converse ทั้งหมด 136 แห่ง เกินครึ่งอยู่ในสหรัฐฯ ส่วนรายได้อยู่ที่ 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3% เลยทีเดียว
อ้างอิง : Converse