แฟนๆ ขนมหวานเตรียมใจไว้ให้พร้อม! สองร้านขนมหวานแฟรนไชส์ชื่อดังจากญี่ปุ่นอย่าง “PABLO CHEESE TART” เจ้าของทาร์ตชีสสุดละมุนและ “GRAM PANCAKE” ร้านแพนเค้กนุ่มฟูเตรียมปิดให้บริการในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ
หลังจากเผชิญผลกระทบจากโควิด-19 ที่ส่งผลต่อธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มอย่างหนัก ประกอบกับปัญหาเงินเฟ้อและราคาต้นทุนของวัตถุดิบที่สูงขึ้น ทำให้บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ VRANDA ผู้บริหารแฟรนไชส์ทั้งสองแบรนด์ในประเทศไทย ตัดสินใจยุติการประกอบกิจการ ย้อนกลับไปในปี 2562 นายภวัฒก์ องค์วาสิฏฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ VRANDA เข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญบริษัท พีดีเอส โฮลดิ้ง จำกัด เจ้าของสัญญาแฟรนไชส์หลักของ GRAM Pancake และ PABLO Cheese tart
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 ธุรกิจร้านขนมหวานของบริษัทเผชิญความท้าทายอย่างหนัก ผลประกอบการขาดทุนสะสมอยู่ที่ 24 ล้านบาท ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ บริษัทฯ เดินหน้าปรับแผนกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ การลดจำนวนสาขา เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1/2566 บริษัทฯ ได้ทยอยปรับลดจำนวนสาขาของร้าน “GRAM Pancakes” และ “PABLO Cheese tart” สองแบรนด์หลักที่ขาดทุนสะสม เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน จนถึงในไตรมาสที่ 4/2566 ก่อนจะบันทึกด้อยค่าที่ไม่ใช่เงินสดเพียงครั้งเดียว ในไตรมาสที่ 4/2566 ซึ่งจะมีผลทำให้ในแต่ละไตรมาสของปี 2567 หยุดรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนธุรกิจร้านขนมหวานเฉลี่ยไตรมาสละประมาณ 8 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 จึงตัดสินใจยุติการประกอบกิจการในปี 2567
ปัจจัยเงินเฟ้อและราคาต้นทุนวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหลายประเภท รวมไปถึงบริษัทฯ ของเราที่จำเป็นต้อง ยุติการประกอบกิจการในปี 2567 เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว บริษัทฯ ได้ทำการ บันทึกด้อยค่าแบบไม่ใช่เงินสดเพียงครั้งเดียว (One-time Non-cash) ในไตรมาส 4/2566 ซึ่งทางบริษัทฯ ได้แจ้งข้อมูลให้นักลงทุนทราบโดยทั่วกัน ในการนำเสนอข้อมูลผลประกอบการใน Opportunity day ไตรมาส 3/2566 เมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2566 ไปแล้ว
สำหรับปี 2567 แม้ว่าบริษัทฯ จะยุติการประกอบกิจการบางส่วน แต่ยังมี ปัจจัยบวกจากภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่ฟื้นตัวแรง ซึ่งจะหนุนผลประกอบการ โดยบริษัทฯ มีแผนเปิดให้บริการโรงแรม-รีสอร์ต และโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง ตั้งเป้ารายได้ของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ตปีนี้ที่ 1,300 ล้านบาท เติบโตประมาณ 15% จากปี 2566 นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผนโอนกรรมสิทธิ์พูลวิลล่าและวิลล่า ได้แก่
ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปีนี้เติบโตกว่า 100% จากปี 2566 และ แม้ว่าบริษัทฯ จะเผชิญกับความท้าทายจากเงินเฟ้อและต้นทุนวัตถุดิบ แต่บริษัทฯ ยังมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน มุ่งเน้นไปที่การขยายธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ต รวมไปถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันผลประกอบการให้เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปี 2567
เส้นทางของ GRAM Pancakes กับ PABLO Cheesetart เริ่มจากปี 2554 โดยคุณเบียร์ ปิยะเลิศ ทายาทตระกูลใบหยก ก่อตั้ง บริษัท พีดีเอส โฮลดิ้ง หรือ PDS ขึ้นมา มุ่งเน้นธุรกิจอาหารและขนมญี่ปุ่น โดยใช้กลยุทธ์ "ซื้อแฟรนไชส์ดังมาเปิดในไทย"
ปี 2559 กระแสชีสทาร์ตฟีเวอร์บุกไทย คุณเบียร์คว้าโอกาส ซื้อมาสเตอร์แฟรนไชส์ PABLO Cheesetart จากญี่ปุ่น มาเปิดสาขาแรกในไทย ภายใต้บริษัท PDS PABLO Cheesetart สร้างปรากฏการณ์ความฮอต ยอดขายพุ่งสูงแตะ 1 ล้านบาทต่อวัน!
ต่อมาปี 2561 เพื่อต่อยอดความสำเร็จ คุณเบียร์ขยายพอร์ตธุรกิจ เพิ่ม GRAM Pancakes ร้านแพนเค้กชื่อดังจากญี่ปุ่น เข้ามาเสริมทัพ GRAM Pancakes เขย่าวงการขนมหวานไทยด้วยแพนเค้กเนื้อฟู นุ่มละมุน ดึงดูดลูกค้าให้ต่อคิวยาวเหยียด
โดยร้าน GRAM Pancake โด่งดังจากแพนเค้กเนื้อฟูหนานุ่ม สูตรต้นตำรับจากญี่ปุ่น โรยหน้าด้วยเนยสดละลาย ทานคู่กับเมเปิ้ลไซรัปและวิปครีม กลายเป็นเมนูสุดฮิตที่ใคร ๆ ก็ต้องลอง ส่วน PABLO Cheese tart ล่อตาล่อใจด้วยทาร์ตชีสหอมกรุ่น แป้งทาร์ตกรอบร่วน ไส้ชีสเข้มข้น หวานมัน กลมกล่อม ทั้งสองแบรนด์ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม มีการขยายสาขาไปยังห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วประเทศ
จนในปี 2562 บริษัท วีรันดา รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ VRANDA ได้เข้ามาทำการซื้อหุ้น 100% ของบริษัท PDS ต่อจากคุณเบียร์ โดยปิดดีลไปด้วยมูลค่า 110 ล้านบาท จนเป็นเจ้าของมาสเตอร์แฟรนไชส์ในไทย GRAM Pancakes 5 สาขา และ PABLO Cheesetart 3 สาขาในไทย
จน ปี 2563 ถึงปี 2564 เกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 พฤติกรรมการบริโภคของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนนิยมสั่งอาหารเดลิเวอรี่มากขึ้น ส่งผลกระทบต่อยอดขายหน้าร้าน ทางบริษัทจึงได้พยายามปรับกลยุทธ์ต่างๆ มากมายเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด เพิ่มช่องทางเดลิเวอรี่ ขยายสาขา คิดค้นเมนูใหม่ ๆ อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ที่ยากลำบาก ประกอบกับเจ้าของแฟรนไชส์หลักในประเทศญี่ปุ่นปิดสาขาแฟลกชิปหลักในเมืองโอซาก้า ส่งผลต่อความนิยมของแบรนด์ลดลง ทางบริษัทจึงตัดสินใจยุติธุรกิจร้านขนมหวานทั้ง 2 แบรนด์ ผลของการตัดสินใจครั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลดีต่อ VRANDA โดยผลประกอบการในปี 2567 น่าจะดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ