Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
สรุปดราม่าโคเวย์ (COWAY)! ลูกค้าเดือด ติดเครดิตบูโร แบบ งงๆ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

สรุปดราม่าโคเวย์ (COWAY)! ลูกค้าเดือด ติดเครดิตบูโร แบบ งงๆ

7 พ.ค. 67
12:05 น.
|
8.5K
แชร์

ดราม่าสะเทือนวงการเครื่องกรองน้ำ! โคเวย์ ที่ได้สร้างความเดือดร้อนวุ่นวาย จนทำให้ลูกค้าเสียเครดิต ร้องกันอื้ออึง บริษัทฯ รีบแก้ไขสถานการณ์ ออกจากการเป็นสมาชิกเครดิตบูโร ดราม่าครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาอะไร? บทความนี้ จะพาทุกท่านไปไขความจริง กับเบื้องหลังโมเดลธุรกิจของโคเวย์ และอะไรเป็นสาเหตุของปัญหา ในครั้งนี้

สรุปดราม่าโคเวย์ (COWAY)! ลูกค้าเดือด ติดเครดิตบูโร 

995100

ก่อนจะไปทราบถึงปัญหาเรามาทำความเข้าใจ โมเดลธุรกิจเครื่องกรองน้ำ โคเวย์ กันก่อน การทำตลาดแบรนด์ โคเวย์ ในไทยจะเป็น รูปแบบการซื้อสินค้าที่เป็น “Subscription” มี สินค้าหลัก ได้แก่ เครื่องกรองน้ำ เครื่องฟอกอากาศ สัดส่วนยอดขายมาจากเครื่องกรองน้ำ 85% เครื่องฟอกอากาศ 15% 

เนื่อจากเครื่องกรองน้ำระดับพรีเมี่ยมส่วนใหญ่ในท้องตลาด มักใช้ระบบ Reverse Osmosis หรือเรียกสั้นๆ ว่า R.O. ซึ่งเป็นระบบกรองที่ละเอียด ช่วยให้น้ำที่ได้นั้นสะอาดบริสุทธิ์ แต่จะมีราคาที่สูงมากพร้อมทั้งมีขั้นตอน วิธีทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำที่ถูกต้องนั้นยุ่งยาก

ดังนั้นโมเดล ธุรกิจของ COWAY จะนำเสนอบริการเครื่องกรองน้ำแบบ Subscription คือ จ่ายค่าเช่าใช้เครื่องเป็นรายเดือน หรือ เช่าซื้อ เมื่อครบ 5 ปี จะได้เครื่องไป สอดรับความต้องการของลูกค้าในเวลานี้ 

เกิดปัญหาระบบ ตัดบัตรเครดิตที่ผิดพลาด

สรุปดราม่าโคเวย์! ลูกค้าเดือด ติดเครดิตบูโร แบบ งงๆ

จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2567 เหล่าลูกค้าเครื่องกรองน้ำโคเวย์หลายรายเกิดความกังวลใจ เมื่อพบว่าชื่อของพวกเขาถูกส่งเข้าเครดิตบูโร โดยที่ไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า เนื่องจาก โคเวย์ ทำธุรกิจ ในรูปแบบคือ จำหน่ายเครื่องกรองน้ำแบบเช่าซื้อ ลูกค้าจ่ายรายเดือน ส่งผลให้มีข้อมูลในเครดิตบูโร และหากมีการผิดนัดชำระ จะส่งผลเสียต่อเครดิตของลูกค้า แต่แล้วก็เกิด ปัญหา ขึ้น

เนื่องมาจากระบบการตัดบัตรเครดิตของโคเวย์ ที่ผิดพลาดในบางรายการ ลูกค้าบางรายเครื่องกรองน้ำถูกตัดบัตร แต่บางรายระบบไม่สามารถตัดบัตรได้ ผลก็คือมีรายการค้างชำระเกิดขึ้น แต่แทนที่จะแจ้งเตือนลูกค้า โคเวย์กลับส่งข้อมูลไปยังเครดิตบูโร ส่งผลให้ลูกค้าเสียเครดิตโดยไม่รู้ตัว จนสร้างความเดือดร้อนให้ลูกค้าเป็นอย่างมาก หลายคนต้องรีบติดต่อโคเวย์เพื่อแก้ไขข้อมูลกัน หลายคนคะแนนบูโรตก จนต้องเสียเวลาไปกับการอธิบายปัญหาให้ธนาคารฟัง

ส่งชื่อ ลูกค้า เข้าเครดิตบูโร โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า

นอกจากนี้มีรายงานว่า โคเวย์ เพิ่งยื่นเป็นสมาชิกเครดิตบูโรเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และดึงข้อมูลประวัติการผ่อนสินค้าของลูกค้าเข้าระบบทันที ส่งผลให้ลูกค้าที่ลืมจ่าย หรือบัตรเครดิตไม่ตัด กลายเป็นมีสถานะเครดิตบูโรล่าช้า ส่งผลต่อคะแนนเครดิต

อย่างไรก็ตามแต่ในกรณีนี้ ลูกค้าหลายรายไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้า ยิ่งไปกว่านั้น บางรายไม่ได้ผิดนัดชำระ แต่เกิดจากระบบหรือพนักงานที่ทำงานผิดพลาด ไม่ใส่ข้อมูลลูกค้าในระบบ ส่งผลให้เครดิตเสียโดยไม่เป็นธรรม ดราม่าครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการทำงานที่ไม่รัดกุมของโคเวย์ ขาดการแจ้งเตือนลูกค้าล่วงหน้า และยังมีช่องโหว่ของระบบที่ทำให้ข้อมูลผิดพลาด ส่งผลเสียหายต่อลูกค้าอย่างร้ายแรง

ข้อมูลอ้างอิงจาก Facebook CEO ของ NCB การนำรายชื่อส่งเข้า NCB เป็นหน้าที่ของสมาชิกของเครดิตบูโร (โคเวย์) ตามกฎหมาย พรบ. การประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 18 และ 19 ต้องนำส่งข้อมูลโดยไม่ต้องขอความยินยอมคือ การส่งข้อมูลบัญชีสินเชื่อที่มีประวัติการชำระหนี้ของสินเชื่อประเภทนั้นๆ ว่ามียอดคงค้างเท่าไหร่ เปิดบัญชีเมื่อไหร่ ชำระครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ การผ่อนชำระแต่ละเดือนมีสถานะอย่างไร เป็นปกติ หรือค้างชำระ เป็นต้น

นอกจากนี้ในครั้งแรกของการส่งข้อมูล ทางโคเวย์ได้นำส่งหนังสือแจ้งให้ลูกค้ารับทราบ ซึ่งทางบริษัทก็ได้นำส่งหนังสือไปเมื่อวันที่ 19 เมษายน ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโรตามกฎหมายโดยไม่ต้องขอความยินยอม

โคเวย์ เร่งแก้ปัญหาดราม่า ลาออกจากการเป็นสมาชิกบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ

หลังจากเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก กรณีส่งลูกค้าเข้าเครดิตบูโรโดยไม่แจ้ง โคเวย์ ประเทศไทย ออกมาประกาศรับผิดชอบแก้ไขปัญหา ด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป หมายความว่า ข้อมูลลูกค้าผู้ขอสินเชื่อกับโคเวย์ทุกคน จะไม่มีชื่อและข้อมูลอยู่ในระบบเครดิตบูโรอีกต่อไป 

สรุป เมื่อ โคเวย์ ทำการลาออกจากการเป็นสมาชิกเครดิตบูโร​บ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ​ เครดิตบูโร​จะดำเนินการลบข้อมูล​ทั้งหมดที่มีอยู่ของบัญชีสินเชื่อที่มีการนำส่งเข้ามาครับ​ เคยส่งเข้ามา​ 3 เดือนย้อนหลังก็ลบทิ้งทั้งสามเดือน​ การลบทำลายคือจะไม่มีข้อมูลบัญชีสินเชื่อนั้นๆไม่ว่าจะเป็นสินเชื่ออะไรก็ตาม​ ภาษาชาวบ้านคือลบบัญชีที่ลูกหนี้มีอยู่กับเจ้าหนี้สมาชิกสถาบันการเงิน​ที่ลาออกนั้นออกจากระบบฐานข้อมูล​ในวันที่การลาออกมีผลบังคับ​

สำหรับเนื้อความในจดหลายระบุบว่า

สรุปดราม่าโคเวย์! ลูกค้าเดือด ติดเครดิตบูโร แบบ งงๆ

“บริษัท โคเวย์ (ประเทศไทย) จํากัด ตระหนักถึงผลกระทบของลูกค้าบางท่าน ดังที่ปรากฏ ในสื่อสังคมออนไลน์ บริษัทฯ ขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า บริษัทฯ ได้ดําเนินการขอประชุมวาระเร่งด่วน กับ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด (เครดิตบูโร) เพื่อหารือและชี้แจงในรายละเอียดต่างๆ และ ได้รับความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าทุกท่านได้เป็นที่เรียบร้อย โดยทางบริษัทฯ จะลาออก จากการเป็นสมาชิกของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จํากัด (เครดิตบูโร)

ซึ่งจะมีผลทําให้ลูกค้า ผู้ขอสินเชื่อ (การบริการ subscription รายเดือน) ของบริษัทฯ ทุกรายจะไม่มีชื่อและข้อมูลที่เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ของบริษัท โคเวย์ (ประเทศไทย) จํากัด อยู่ในระบบฐานข้อมูลของเครดิตบูโรอีกต่อไป ซึ่งการดําเนินการนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป

บริษัทฯ ขออภัยในความไม่สะดวกต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ และขอเน้นย้ำว่าบริษัทฯ น้อมรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าทุกท่านอยู่เสมอ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุกปัญหาของ ลูกค้าโคเวย์ จะได้รับการแก้ไขโดยเร็วที่สุด โดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของลูกค้าเป็นสําคัญ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้นําข้อเสนอแนะจากเหตุการณ์ในครั้งนี้มาใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ แก่ลูกค้าทุกท่านให้ดียิ่งขึ้นต่อไป”

อย่างไรก็ตาม ยังมีลูกค้าอีกจำนวนหนึ่งที่ยังติดปัญหาเครดิตบูโรอยู่ โคเวย์จึงขอความร่วมมือจากลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ ติดต่อศูนย์บริการลูกค้าโคเวย์ เพื่อดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องต่อไป โดยสามารถติดต่อสำนักงานขายและศูนย์บริการตามเบอร์โทร

  • สาขา วัฒนา 0633239140 สาขา จตุจักร 0661256207
  • สาขา แจ้งวัฒนะ 0633239017 สาขา ปทุมธานี 0813589727
  • สาขา บางแค 0633239175 สาขา บางนา 0633239144 0633239037
  • สาขา บางกะปิ 0633239011 0661256206 สาขา อยุธยา 0633239023 0645850393
  • สาขา นนทบุรี 0633239019 สาขา ชลบุรี 0813589800
  • สาขา เชียงราย 0633239093 สาขา เชียงใหม่ 0813590304 0633239039
  • สาขา ขอนแก่น 0813589839 0633239026 สาขา นครราชสีมา 0813590685
  • สาขา เพชรบุรี 0633239096 สาขา หาดใหญ่ 0813589743 0633239042
  • สาขา สงขลา 0826930420 สาขา ยะลา 0633239146
  • สาขาภูเก็ต 0633239016

หรือช่องทางติดต่อ Line Official Account: @coway-thailand Email: cowaythailandofficial@coway.co.th หรือ Call Center 1421 ในเวลาทำการ 09.00 – 17.00 น.

เพราะอะไร COWAY ถึงเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรได้

777564

ล่าสุด คุณ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) ได้ออกมาชี้แจ้งว่า ตามที่มีข้อมูล​ข่าวสารเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกเครดิตบูโร​โดยระบุบว่า ​" ผมขอให้เรียนข้อมูล​เพื่อความเข้าใจพื้นฐานที่ถูกต้องดังนี้

  1. การเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโร​นั้นเป็นเรื่องความสมัครใจของกิจการ : นิติบุคคล​ที่ดำเนินธุรกิจสินเชื่อซึ่งอาจจะเป็นบัตรเครดิต​ สินเชื่อส่วนบุคคล​ สินเชื่อบ้าน​ สินเชื่อธุรกิจ​ เช่าซื้อ​ หรือสินเชื่อเกษตร เป็นต้น
  2. นิยามนิติบุคคล : นิติบุคคล ​ดังกล่าวจะต้องเป็นสถาบันการเงิน​ตามคำนิยามของกฎหมายการประกอบธุรกิจข้อมูล​เครดิต​ ตัวอย่างเช่น​ ธนาคารพาณิชย์​ ธนาคารของรัฐ​ บริษัทบัตรเครดิต​ บริษัทเช่าซื้อรถยนต์​ รถจักรยานยนต์​ เช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า​ อุปกรณ์​การเกษตร​ เป็นต้น
  3. หน้าที่ของสถาบั​นการเงินที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร​ตามกฎหมายโดยไม่ต้องขอความยินยอม : คือการส่งข้อมูล​บัญชีสินเชื่อที่มีประวัติการชำระหนี้ของสินเชื่อประเภทนั้นๆ​ ว่ามียอดคงค้างเท่าไหร่​ กู้เดี่ยวกู้ร่วม​ เปิดบัญชีเมื่อไหร่​ ชำระครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่​ การผ่อนชำระแต่ละเดือนมีสถานะอย่างไร​ เป็นปกติ​ หรือค้างชำระ​ เป็นต้น​ โดยข้อมูล​นั้นจะต้องมีความถูกต้อง​ ครบถ้วน​ ทันสมัย​ พร้อมใช้งาน​ ที่สำคัญในกรณีที่พบว่าข้อมูล​อาจไม่ถูกต้อง​ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง​ กฎหมายกำหนดให้สมาชิกต้องเป็นคนเข้าไปแก้ไขให้ตรงกับข​้อเท็จจริง​ เครดิตบูโร​ถูกสั่งห้ามไม่ให้แก้ไขข้อมูล​ใดๆ​ เว้นแต่จะเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเช่น​ ศาลสั่งให้แก้​ คณะกรรมการ​คุ้มครอง​ข้อมูล​เครดิต​สั่งให้แก้เป็นต้น​ และเมื่อส่งข้อมูล​เข้าระบบแล้ว​ ในครั้งแรกของการส่งข้อมูล​ จะต้องมีหนังสือแจ้งว่าในฐานะสมาชิกได้ส่งข้อมูล​อะไรให้กับเครดิตบูโร​ ตลอดจนเมื่อสิ้นปีก็ต้องส่งข้อมูล​อีกว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้ส่งข้อมูล​อะไรให้กับเครดิตบูโร​  การที่กฎหมายวางหลักให้การส่งข้อมูล​เป็นหน้าที่ของสมาชิกก็เพราะว่า​ ข้อเท็จจริง​ทั้งหมดคนที่รู้คือเจ้าหนี้กับลูกหนี้​ บุคคล​ที่สามที่ดูแลข้อมูล​จะใช้วิธีการควบค​ุมคุณภาพข้อมูลตามมาตร​ฐานสากลมากลั่นกรอง​ สอบทานก่อนนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ​ ที่เราเรียกกันว่า​ กระบวนการควบคุมดูแล​คุณภาพข้อมูล​ เช่น​ บัญชีนี้ถูกส่งมาว่าปิดบัญชี​แล้วแต่ทำไมยังมียอดหนี้คงค้าง​ อย่างนี้ก็จะถูกสกัดออกไปเป็นต้น
  4. การลาออกจากการเป็นสมาชิกของเครดิตบูโร :​ การลาออกก็เป็นไปด้วยความสมัครใจเช่นกัน​ อาจจะมีหลายสาเหตุเช่น​ ธุรกรรมน้อยไม่คุ้มกับการเป็นสมาชิก​ หยุดหรือเลิกกิจการ​ ถูกควบรวมกิจการ​ ไม่คิดว่าข้อมูล​เครดิตที่ตนเองเรียกดูได้ภายใต้ความยินยอมในการวิเคราะห์สินเชื่อนั้นนั้นมีคุณค่าเพียงพอ​ หรือข้อมูล​ที่สมาชิกนำส่งนั้นมีปัญหามากต้องใช้เวลาแก้ไข​ จนส่งข้อมูล​ไม่ทันตามกำหนดเวลา​ มีการปรับเปลี่ยนระบบงานจนทำให้การส่งข้อมูล​ล่าช้า​ ส่งไม่ทันตามกำหนด​ได้​ เป็นต้น​ ซึ่งอาจเป็นเหตุผลทางธุรกิจ​ เหตุผลทางการบริหารจัดการข้อมูล​ อันนี้แล้วแต่ประเด็นสำคัญ​ของสมาชิกเป็นสำคัญครับ
  5. เมื่อมีการลาออกจริงจากการเป็นสมาชิกเครดิตบูโร :​ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ​ เครดิตบูโร​จะดำเนินการลบข้อมูล​ทั้งหมดที่มีอยู่ของบัญชีสินเชื่อที่มีการนำส่งเข้ามา​ หากเคยส่งเข้ามา​ 3 เดือนย้อนหลังก็ลบทิ้งทั้งสามเดือน​ การลบทำลายคือจะไม่มีข้อมูลบัญชีสินเชื่อนั้นๆไม่ว่าจะเป็นสินเชื่ออะไรก็ตาม​ 

อยากเรียนว่า​ การที่สถาบันการเงินจะ​เข้ามาเป็นสมาชิกก็จะมีกระบวนการตรวจสอบคุณสมบัติ​ ความสามารถ​ในการส่งข้อมูล​ การดูแลความถูกต้องของข้อม​ูล​ การรักษาความลับและสิทธิ​์ของลูกหนี้ผู้เป็นเจ้าของข้อม​ูลนะครับ​ ส่วนการลาออกก็เป็นสิทธิ​ของสถาบันการเงินเช่นกัน​ ไม่มีการบังคับกัน​ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย​ ไม่ได้มีอะไรพิเศษ​ พิสดาร​ หรือแปลกแตกต่างไปจากมาตรฐานสากล​ ภาษาชาวบ้านคือ​ เข้ามาเป็นเพราะเห็นประโยชน์​ มีความสามารถเข้ามาได้​ ผ่านเกณฑ์​การประเมิน​ ส่งข้อมูล​ได้​ และเมื่อเห็นว่าไม่มีความจำเป็นก็ลาออกไปได้ครับ​ ทางผมมีหน้าที่ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด​ เพราะมันมีกฎกติกาอยู่นั้นเอง"

สุดท้ายนี้ ดราม่าครั้งนี้ เป็นบทเรียนสำคัญให้กับโคเวย์ และบริษัทอื่นๆ ที่ต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดการข้อมูล และการสื่อสารกับลูกค้าอย่างโปร่งใส เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกในอนาคต สำหรับผู้บริโภค ควรตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรของตัวเองเป็นประจำ หากพบข้อมูลผิดพลาด รีบแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไข และเก็บหลักฐานการชำระเงินต่างๆ ไว้อย่างมิดชิด เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการต่อสู้คดีหากจำเป็น

แชร์

สรุปดราม่าโคเวย์ (COWAY)! ลูกค้าเดือด ติดเครดิตบูโร แบบ งงๆ