76 หอการค้า 54 สมาคมการค้า ร่วมแสดงจุดยืนคัดค้านนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ชี้ จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
หอการค้าทั่วประเทศ คัดค้านนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ
หอการค้าทั่วประเทศและสมาคมการค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น 76 แห่ง 54 สมาคม ร่วมแสดงจุดยืนคัดค้านนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ โดยมี นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทนแถลงการณ์ดังต่อไปนี้
หอการค้าฯ มีความกังวลอย่างยิ่งต่อนโยบายปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 โดยนโยบายดังกล่าวขัดต่อหลักการและกลไกที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งควรพิจารณาปรับค่าแรงขั้นต่ำตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละพื้นที่ ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ เช่น ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และความสามารถของประเภทธุรกิจ ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนอย่างรอบคอบ
การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้
ขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วไทยส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องยอมรับว่าแต่ละจังหวัด และแต่ละประเภทธุรกิจ มีความพร้อมของสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ซึ่งการปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการบริการ และต้นทุนการจ้างงานทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะภาคเกษตร ภาคการค้าและบริการ ภาคท่องเที่ยว และผู้ประกอบการ SMEs เนื่องจากผู้ประกอบการจะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน
ดังนั้นการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่คำนึงตามที่กฎหมายกำหนดจะส่งผลให้ภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ หยุดกิจการ ลดขนาดกิจการ หรือปรับธุรกิจออกนอกระบบภาษี จนนำไปสู่การปลดลูกจ้างและเลิกจ้างพนักงานเพื่อลดต้นทุนให้อยู่รอด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
อีกทั้ง การปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง ยังเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงต้นทุนของการทำธุรกิจและนโยบายภาครัฐ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ยังมีปัญหาจากปัจจัยหลายประการที่มีความผันผวน อาทิ ค่าเงินบาท ราคาพลังงาน มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ และสงครามการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันและความน่าสนใจในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยอย่างชัดเจน
หอการค้าฯ เสนอแนวทางแก้ไข ดังนี้
- เห็นด้วยกับการมุ่งมั่นตั้งใจยกระดับรายได้เพื่อแรงงานไทยในประเทศไทยให้มีชีวิตดีขึ้น แต่การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีควรปรับตามที่กฎหมายบัญญัติกำหนดไว้ในมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
- ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ โดยไม่คำนึงถึงผลการศึกษาและการรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด และคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) อีกทั้ง ปัจจุบัน รัฐบาลได้ขึ้นค่าแรงปี 2567 ไปแล้ว 2 ครั้ง จึงไม่ควรมีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประจำปีเป็นครั้งที่ 3
- อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเพียงอัตราค่าจ้างของแรงงานแรกเข้าที่ยังไม่มีฝีมือ แต่การปรับอัตราจ้างควรพิจารณาจากทักษะฝีมือแรงงาน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมมาตรการทางภาษี ลดอุปสรรคต่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการและแรงงาน ให้ความสำคัญกับการ UP-Skill & Re-Skill และ New Skill เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity)
- การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ ควรให้มีการรับฟังความคิดเห็น และศึกษาถึงความพร้อมของแต่ละพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ รวมทั้งควรให้มีการหารือร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเข้าใจก่อนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเฉพาะพื้นที่จังหวัดและประเภทธุรกิจ
ท้ายที่สุดนี้ หากรัฐบาลยืนยันที่จะให้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 400 บาทต่อวันทั่วประเทศ โดยไม่คำนึงถึงกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาตัวเลขการปรับที่เหมาะสมสอดคล้องกับแนวทางที่ได้รับการยอมรับมา
โดยตลอดจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่ามีความยุติธรรมกับผู้ที่มีส่วนได้เสีย ซึ่งนำไปสู่การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำแบบยั่งยืน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาในอนาคต ดังที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ผ่านกลไกการทำงานร่วมกันของคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและคณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากนโยบายการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ จำเป็นที่จะต้องรักษาสิทธิในการดำรงไว้ของหลักนิติธรรม (The Rule of Law) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกภาคเอกชนที่มีส่วนได้เสียในการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวต่อไป
รายชื่อหอการค้าทั่วประเทศ และสมาคมการค้าฯ 52 สมาคม คัดค้านนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ
หอการค้าจังหวัด ได้แก่
- 1)หอการค้าภาคเหนือ 17 จังหวัด
- 2)หอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
- 3)หอการค้าภาคกลาง 17 จังหวัด
- 4)หอการค้าภาคตะวันออก 8 จังหวัด
- 5)หอการค้าภาคใต้ 14 จังหวัด
สมาคมการค้าฯ ได้แก่
- 1) สมาคมการค้าอาหารสัตว์เลี้ยงไทย
- 2) สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย
- 3) สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย
- 4) สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย
- 5) สมาคมยางพาราไทย
- 6) สมาคมน้ำยางข้นไทย
- 7) สมาคมธุรกิจไม้
- 8) สมาคมเฟอร์นิเจอร์ไทย
- 9) สมาคมการค้าของเล่นและผลิตภัณฑ์
เด็กไทย
- 10) สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์
- 11) สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร
- 12) สมาคมการค้้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย
- 13) สมาคมโรงแรมไทย
- 14) สมาคมผู้ค้าปลีกไทย
- 15) สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย
- 16) สมาคมหินอ่อนและแกรนิตไทย
- 17) สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน
- 18) สมาคมอาคารชุดไทย
- 19) สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย
- 20) สมาคมการค้าผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการ
น้ำมันพลังไทย
- 21) สมาคมผู้ผลิตสีไทย
- 22) สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย
- 23) สมาคมการค้าเครื่องกีฬา
- 24) สมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไท
- 25) สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- 26) สมาคมตลาดสดไทย
- 27) สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป
- 28) สมาคมกุ้งไทย
- 29) สมาคมอุตสาหกรรมนมและอาหาร
- 30) สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย
- 31) สมาคมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
อาเซียน
- 32) สมาคมภัตตาคารไทย
- 33) สมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย
- 34) สมาคมเครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน
- 35) สมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย
- 36) สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย
- 37) สมาคมรักษาความปลอดภัยภาคฟื้นเอเชีย
(APSA)
- 38) สมาคมสภารักษาความปลอดภัย
- 39) สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัย
แห่งประเทศไทย
- 40) สมาคมผู้บริหารงานรักษาความปลอดภัย
แห่งประเทศไทย
- 41) สมาคมสหพันธ์ธุรกิจรักษาความปลอดภัย
- 42) สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพรักษาความ
ปลอดภัยภาคเหนือ
- 43) สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัย
ภาคเหนือ
- 44) สมาคมผู้บริหารงานรักษาความปลอดภัย
ภาคตะวันออก
- 45) สมาคมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัย
(ภาคอีสาน)
- 46) สมาคมอารักขาบุคคลสำคัญ
- 47) สมาคมบริหารงานรักษาความปลอดภัยไทย
- 48) สมาคมการค้าธุรกิจคุ้มกันภัย
- 49) สหพันธ์นายจ้างวิชาชีพรักษาความปลอดภัย
- 50) ชมรมครูฝึกรักษาความปลอดภัยไทย
- 51) ชมรมผู้ประกอบการรักษาความปลอดภัย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- 52) ชมรมบริษัทรักษาความปลอดภัยพันธมิตร
(ภาคใต้)
- 53) ชมรมพันธมิตรธุรกิจรักษาความปลอดภัย
- 54) กลุ่มพัฒนาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย