ในยุคที่โลกหมุนเร็ว ความผูกพันของครอบครัวคนไทยยังคงแน่นแฟ้น แต่การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างกลับสร้างปัญหาให้คนรุ่นใหม่เผชิญภาระหนักหน่วงที่ "คนรุ่นก่อน" ไม่เคยเจอ กลายเป็น "แซนด์วิชเจเนอเรชั่น" ที่ต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัวทั้งรุ่นก่อนและรุ่นหลัง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย
จากงาน KKP Financial Talk: Money Master #เรื่องเงินอย่าปล่อยให้รู้งี้ โดย หนึ่งในแขกที่ร่วมพูดคุยบนเวทีคือ ดร.ณชา อนันต์โชติกุล หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์ KKP Research หนึ่งในวิทยากรของงาน กล่าวว่า ปัญหาของแซนด์วิชเจนเนอเรชั่น ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยาก แต่ทางออกนั้นอยู่ที่ตัวเรา หากเข้าใจถึงปัญหา วิธีรับมือ และเริ่มต้นลงมือทำตั้งแต่วันนี้
ค่าครองชีพที่สูงขึ้น: ราคาสินค้าและบริการต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่าที่อยู่อาศัย ค่าอาหาร และค่าเดินทาง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของคนรุ่นใหม่
จากปัญหาที่กล่าวขึ้นมาด้านบนแล้วในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัว การแบกรับภาระครอบครัวนั้นหนักหน่วงยิ่งกว่า จนหลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมทุ่มเททำงานหนักแล้วก็ยังดูแลคนรอบข้างได้ไม่ดี แถมเงินเก็บก็แทบไม่มี และเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่โอกาสในการสร้างฐานะในยุคนี้ยากขึ้นมาก จากการศึกษาในอเมริกาพบว่า โอกาสที่ลูกหลานจะรวยกว่าพ่อแม่นั้นลดลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับงานวิจัยในไทยที่ชี้ว่า ช่วงสิบปีที่ผ่านมา โอกาสที่คนไทยจะขยับฐานะทางรายได้หรือขยับสถานะทางสังคมนั้นยากขึ้น สถานะทางการเงินของคนรุ่นใหม่จึงผูกติดอยู่กับฐานะทางครอบครัวค่อนข้างมาก แม้จะมีบางคนที่รวยขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นเป็นเพียงส่วนน้อย
นอกจากโอกาสที่ยากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียและกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในยุคใหม่ โดยเฉพาะการ "ใช้ก่อน จ่ายทีหลัง" กระตุ้นให้ผู้คนอยากได้อยากมีสิ่งของที่ไม่จำเป็น ก่อให้เกิดหนี้สินจากการใช้จ่ายเกินตัวหรือไม่มีเงินเก็บออม ซึ่งอาจกลายเป็นภาระต่อตัวเองในระยะยาว หรืออาจเพิ่มปัญหาให้กับ "เดอะแบก" ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่เราควบคุมได้ ซึ่งก็คือการสร้างวินัยในการเก็บออม และการหาความรู้ทางการเงินอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ไม่ว่าใครก็มีโอกาสเป็น "เดอะแบก" ของครอบครัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน แต่กลุ่มที่พบเจอบ่อยที่สุดคือ "แซนด์วิช เจเนอเรชั่น" (Sandwich Generation) หมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ในวัยกลางคนที่มีลูกแล้ว และต้องเริ่มดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราลงในเวลาเดียวกัน เปรียบเสมือนถูกประกบด้วยภาระหน้าที่จากสองทิศทางเหมือนแซนด์วิช สาเหตุหลักมาจากคนไทยมีลูกช้าลง ทำให้ลูกหลานอยู่ในช่วงวัยเรียนหรือเริ่มต้นทำงาน ในขณะที่พ่อแม่ก็เข้าสู่วัยเกษียณหรือใกล้เกษียณ ส่งผลให้ "เดอะแบก" ต้องแบ่งเวลาและเงินทองเพื่อดูแลทั้งสองรุ่น
ภาระหนักหน่วงนี้ก่อให้เกิดความเครียดสะสม เพราะ "คนรุ่นหลัง" ต้องรับผิดชอบทั้งเรื่องการเงินและการดูแลคนรอบข้าง ขณะที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ดร.ณชา อธิบายเพิ่มเติมถึงปัญหาของประเทศไทย ว่านอกจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวต่ำ ทำให้การหาเงินยากขึ้นแล้ว โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็น "สังคมผู้สูงอายุ" เต็มรูปแบบ ส่งผลให้ไทยมีผู้สูงอายุมากที่สุดในอาเซียน
ภาวะนี้สร้างภาระให้กับภาครัฐ ที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุ ในขณะที่ฐานคนเสียภาษีมีน้อยลง ส่งผลให้ "เดอะแบก" ในระบบแบกรับภาระหนักหน่วงขึ้น ยิ่งหากคนไทยไม่มีความรู้ทางการเงิน ปัญหานี้จะยิ่งทวีความรุนแรง ภาระ "เดอะแบก" จะยิ่งหนักหน่วงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อทั้งตัวบุคคลเอง ครอบครัว และเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เพราะ "คนรุ่นหลัง" เหล่านี้คือกำลังสำคัญของเศรษฐกิจ ในขณะที่ยังมีเรี่ยวแรงทำงาน แต่เมื่อถึงวัยเกษียณ รัฐก็ต้องแบกรับภาระในการดูแลพวกเขาอีกครั้ง ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ทางการเงินให้กับ "คนรุ่นหลัง" จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่พวกเขาจะสามารถวางแผนจัดการกับภาระต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผลสำรวจนิด้าโพล ชี้ให้เห็นว่า คนไทยร้อยละ 44 ไม่อยากมีลูก ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ "ไม่อยากมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม" และ "ต้องการใช้ชีวิตอย่างอิสระ" พราะการเลี้ยงดูบุตรให้เติบใหญ่ท่ามกลางสังคมปัจจุบันนั้น เต็มไปด้วยภาระทั้งด้านการเงินและเวลา หลายคนจึงตัดสินใจ "เลือกที่จะไม่มีลูก" มากขึ้น สถิติจาก UN ESCAP ระบุว่า ผู้หญิงไทยมีลูกเฉลี่ย 1.3 คนต่อคน ซึ่งต่ำกว่าอัตราทดแทนประชากร
แต่อย่าเข้าใจว่าการไม่มีลูกจะแปลว่า "ไร้ภาระ" ไปเสียทีเดียว เพราะในอนาคตยังมีเรื่องต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบอีกมาก เช่น การดูแลตัวเองในวัยเกษียณ การเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดคิด รวมไปถึงการพึ่งพาระบบสวัสดิการจากภาครัฐที่อาจไม่เพียงพอ นอกจากนี้การไม่มีลูก ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เช่น ขนาดเศรษฐกิจที่หดตัวลง จำนวนแรงงานหนุ่มสาวลดลง ส่งผลต่อภาษีและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต ดังนั้น ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มี สิ่งสำคัญคือ "การวางแผนการเงิน" เตรียมพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายในอนาคต ดูแลตัวเองให้มีสุขภาพแข็งแรง และหาความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการต่างๆ เพื่อความมั่นคงในชีวิต
การวางแผนทางการเงินไม่ใช่เรื่องเฉพาะคนอยากรวย แต่เป็นทักษะชีวิตพื้นฐานที่ช่วยให้เรา "บรรเทาภาระ" และ "หยุดวงจรเดอะแบก" ได้ ดร.ณชา อธิบายสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยยังขาดความรู้ด้านการเงิน และความสำคัญของการวางแผนการเงินดังนี้
ดังนั้น ไม่ว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูก เราต้องดูแลตัวเองให้ได้ ความรู้ทางการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ นอกจากวินัยทางการออมแล้ว การหาความรู้ให้เงินออมงอกเงยก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของเดอะแบกได้ แต่ต่างคนก็อาจต้องใช้เครื่องมือทางการเงินต่างกันตามความเหมาะสม
สิ่งสำคัญคือพื้นฐานความรู้ทั้งเรื่องการเงินส่วนบุคคลอย่างเรื่องดอกเบี้ยต่างๆ, การวางแผนภาษี, ความรู้ด้านการลงทุนที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินเฉยๆ, การบริหารจัดการหนี้, การบริหารความเสี่ยง ทั้งจากการลงทุน ไปจนถึงบริหารความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนข้างหลัง และการป้องกันตัวเองจากภัยทางการเงิน ที่ไม่ว่าจะร่ำเรียนสูงแค่ไหนก็อาจตกเป็นเหยื่อได้เสมอ
แม้ว่าความท้าทายในยุคสมัยปัจจุบันจะมากมาย แต่คนรุ่นใหม่ก็ยังมีโอกาส "รวย" ได้ สิ่งสำคัญคือพื้นฐานความรู้ทั้งเรื่องการเงินส่วนบุคคลอย่างเรื่องดอกเบี้ยต่างๆ, การวางแผนภาษี, ความรู้ด้านการลงทุนที่จะช่วยสร้างผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินเฉยๆ, การบริหารจัดการหนี้, การบริหารความเสี่ยง ทั้งจากการลงทุน ไปจนถึงบริหารความเสี่ยงเพื่อไม่ให้เป็นภาระคนข้างหลัง และการป้องกันตัวเองจากภัยทางการเงิน ที่ไม่ว่าจะร่ำเรียนสูงแค่ไหนก็อาจตกเป็นเหยื่อได้เสมอ อยู่ที่ว่าเราจะปรับตัวและหาโอกาสอย่างไร เช่น
สำหรับ การวางแผนการเงิน แม้จะเป็นจำนวนเงินที่ไม่เยอะมาก แต่ต้องวัดที่อัตราการออมว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ เริ่มออมอย่างต่อเนื่อง เงินเก็บจะเพิ่มขึ้นแน่นอน หรืออาจมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการลงทุน พลังของดอกเบี้ยทบต้น คือพลังที่สำคัญมากในการสร้างความมั่งคั่ง
เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนคือตอนนี้ ยิ่งลังเลยิ่งเสียโอกาส ได้ลองผิดลองถูก พัฒนาทักษะการลงทุนให้ดีขึ้น การเก็บออมและการเพิ่มพูนความรู้ด้านการเงิน เป็นสิ่งที่ทุกคนเริ่มทำได้ทันที เพื่อบรรเทาภาระตัวเองในอนาคต และลดภาระให้เดอะแบกในรุ่นต่อไป ดังนั้นอย่ารอช้า หากไม่อยากเเบกจนหลังหัก เริ่มต้นวางแผนการเงินของคุณตั้งแต่วันนี้!