“นาฬิกา” เครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการรับรู้และกำหนดสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่าง “เวลา” แต่ปัจจุบันนาฬิกาเป็นมากกว่าอุปกรณ์บอกเวลา แต่เป็นเครื่องประดับที่แสดงถึงรสนิยม ฐานะ หรือแม้แต่การลงทุน
TAG Heuer แบรนด์นาฬิกาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่มีชื่อเสียงและมีความเก่าแก่ด้วยอายุถึง 164 ปี แต่ TAG Heuer กลับไม่เคยเก่าและไม่แก่ แม้เวลาจะผ่านไปนานนับศตวรรษก็ตาม
บทความนี้ SPOTLIGHT จะพาทุกคนไปหมุนเวลาย้อนกลับ ท่องโลกของนาฬิกาแบรนด์หรูอย่าง TAG Heuer กับ 5 เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยว TAG Heuer
หลายๆ คนที่ไม่ได้เป็นสายสะสมนาฬิกา อาจจะรู้จักแบรนด์ TAG Heuer จากการที่ลิซ่า Blackpink ได้มีข่าวเดทกับ เฟรเดอริก อาโนลด์ (Frédéric Arnault) CEO ของ TAG Heuer ผู้ที่เป็นทายาทของ Bernard Arnault เจ้าของ LVMH มหาเศรษฐีเบอร์ต้นของโลก
แต่แท้จริงแล้ว TAG Heuer มีอะไรที่น่าสนใจมากกว่านั้น
TAG Heuer เกิดขึ้นจากชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า “เอดูอาร์ด ฮอยเออร์” (Edouard Heuer) ช่างทำนาฬิกาจากเมืองเล็ก ๆ ในสวิตเซอร์แลนด์ ที่ได้ก่อตั้ง Heuer Watch Company เมื่อปี 1860 หรือเมื่อ 164 ปีที่แล้ว
ฮอยเออร์ ใช้เวลาไปได้แค่ไม่นาน ก็ได้สร้างชื่อเสียงให้บริษัทโด่งดัง และได้รับการยอมรับระดับสากล จากการคิดค้นและการผลิตนาฬิกาจับเวลาที่มีความแม่นย้ำสูง โดยฮอยเออร์สามารถผลิตนาฬิกาที่สามารถจับเวลาได้ละเอียดถึง 1/100 วินาที เป็นรายแรกของโลก พร้อมทั้งมีการจดสิทธิบัตรมากมายในแง่ของการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
แต่แน่นอนว่า การที่ทำให้เขาโด่งดังได้ ต้องมาจากกอุตสาหกรรมที่ต้องใช้นาฬิกาจับเวลาอย่างแม่นยำ นั้นก็คือการแข่งขันกีฬาระดับโลกในช่วงทศวรรษที่ 1920 อย่าง โอลิมปิกที่แอนต์เวิร์ป (ปี 1920) ปารีส (ปี 1924) และ อัมสเตอร์ดัม (ปี 1928)
จนกระทั่งเมื่อปี 1933 แบรนด์ ได้มีการเปิดตัว Autavia นาฬิกาที่มีหน้าปัดจับเวลาเป็นคร้งแรกสำหรับการแข่งรถอย่างเป็นทางการ และก้าวขึ้นสู่ นาฬิกาสปอร์ตแบรนด์ชั้นนำของโลกได้ในที่สุด
ชื่อของ TAG Heuer เกิดขึ้นเมื่อปี 1985 เมื่อบริษัทเทคนิคดาวองต์การ์ด หรือ TAG ผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ไฮเทค ได้เข้าซื้อกิจการของฮอยเออร์ ซึ่งในขณะนั้นแม้ Heuer Watch Company จะมียอดขายนาฬิการุ่นต่าง ๆ ยอดเยี่ยม แต่ภาพรวมอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสค่อนข้างย่ำแย่ ทำให้สุดท้าย แจ็ค ฮอยเออร์ ลูกชายของผู้ก่อตั้ง ต้องยอมขายเพื่อให้แบรนด์เพื่อให้บริษัทได้ไปต่อ และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “TAG Heuer” อย่างเป็นทางการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ภายใต้การบริหารบริษัทของ TAG ทำให้แบรนด์ถูกปรับให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนาฬิการุ่นแรกที่เปิดตัวนั้นก็คือ “TAG Heuer Formula 1” นาฬิการะบบควอตซ์ (ใช้ถ่าน) ตัวเรือนทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น ใยแก้ว เน้นสีสันสดใสมากกว่าเดิม
TAG บริหารฮอยเออร์อยู่ได้ไม่นาน ได้ขายหุ้นให้แบรนด์หรูระดับโลกสัญชาติฝรั่งเศส หลุยส์ วิตตอง นั่นก็คือ LVMH และแม้ว่า LVMH จะได้ถือหุ้นเกือบ 100% แต่มีการแต่งตั้งทายาทสายตรงของฮอยเออร์เป็นที่ปรึกษาบริษัท
ปัจจุบัน ซีอีโอของ TAG Heuer คือ เฟรเดอริก อาร์โนลต์ (Frédéric Arnault) ลูกชายของ เบอร์นาร์ด อาร์โนลต์ ผู้ก่อตั้ง LVMH โดยทายาทหนุ่มรายนี้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2020
เฟรเดอริกกับ TAG Heuer มีความผูกผันและความรักกันอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะในวันเกิดในปีที่ 11 ของเขา เขาได้รับของขวัญจากพ่อเป็นนาฬิกา TAG Heuer Aquaracer ซึ่งเรียกได้ตอนนั้นแหละ กลายเป็นจุดกำเนิดความผูกผันและความหลงใหลในนาฬิกาของของเค้าตั้งแต่วัยเยาว์
ซึ่งหากถ้าเราจะพูดถึงความจริง แน่นอนอยู่แล้วที่ลูกชายจะต้องมาบริหารงานต่อจากพ่อ แต่กว่าที่จะได้มานั่งแท่น CEO เฟรเดอริกต้องเจอกับบททดสอบตัวเองมากมายในหลากหลายหน้าที่
บทบาทของ เฟรเดอริก ในฐานะ CEO TAG Heuer เขาได้ปรับภาพลักษณ์เพื่อให้ TAG Heuer เข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยใช้จุดแข็งการผลิตนาฬิกาแบบดั้งเดิม แต่ผสมผสานกับเทคโนโลยีขั้นสูงเข้าไปด้วย โดยมองว่าตลาด Smart Watch กำลังเติบโตและ TAG Heuer ก็สนใจกระโดดลงมาเล่นในตลาดนี้ด้วย จึงได้เปิดตัว TAG Heuer Connected สมาร์ทวอตช์สุดหรูที่ยังคงรักษาสไตล์นาฬิกาสวิสอันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ แต่มีการผสมผสานเทคโนโลยีล้ำสมัยเข้าไป เช่น ระบบ GPS , การติดตามการออกกำลังกาย, หน้าปัดนาฬิกาที่สามารถปรับแต่งได้
เช่นเดียวกับการออกนาฬิการุ่นลิมิตเต็ตเพื่อดึงดูดนักสะสมนาฬิกา และเพิ่มกลยุทธ์ดึง celebrity คนดังมาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของบริษัท เช่น
โดยสินค้าราคาต่ำกว่าทำหน้าที่เป็นตัวล่อลวงลูกค้าอายุน้อยและทะเยอทะยานที่จะหันไปหาผลิตภัณฑ์ที่มีราคาแพงกว่าเมื่อพวกเขาอายุมากขึ้นและมีรายได้มากขึ้น “สำหรับหลาย ๆ คน เรา คือ นาฬิกาหรูเรือนแรก”
และ collection ล่าสุดที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะ collection นี้ได้สร้างกระแสฮือฮาจากควีนลิซ่าที่ได้ส่วมใส่ในงานเปิดตัวนาฬิการุ่นพิเศษของ TAG Heuer นั้นก็คือ TAG Heuer Formula 1 | Kith หน้าปัดสีเปลือกไข่ โดย collection นี้หยิบรุ่น TAG Heuer Formula 1 Series 1 ปี 1986 มาปรับดีไซน์ใหม่ให้มีความเข้าถึงง่ายมากขึ้น มีทั้งหมด 10 รุ่น สีสันจัดเต็ม ดีไซน์ตามคอนเซ็ปต์ของเมือง ไล่มาตั้งแต่ฮาวาย โตเกียว โตรอนโต นิวยอร์ก ไมอามี ลอสแอนเจลิสและปารีส
รุ่นที่เข้าไทยจะมีทั้งหมด 3 รุ่นหลักๆ คือ รุ่นหน้าปัดสีเปลือกไข่ สายสตีล, รุ่นสีเขียวและรุ่นสีน้ำเงิน ที่หน้าปัดจะเป็นดำลายริ้ว สายจะเป็นยางสีเขียวและน้ำเงินทั้งสาย ทั้ง 3 รุ่นนี้เข้าไทยแค่อย่างละ 10 เรือนเท่านั้น ราคาเรือนละ 59,500 บาท
นอกจากนี้ เฟรเดอริก ยังได้มีการลดจุดจำหน่าย TAG Heuer จาก 4,000 แห่ง เหลือเพียง 2,500 แห่ง จากนั้นเขาเพิ่มจำนวนร้านบูติกที่ขายเฉพาะ TAG Heuer ขึ้นแทน เพื่อยกระดับตำแหน่งของแบรนด์ให้นาฬิการุ่นใหม่ๆ ที่ออกมามีราคาสูงขึ้น
นี่ถือเป็นกลยุทธ์เดียวกับ Bernard Arnault ผู้เป็นบิดาในการยกให้จีนกลายเป็นตลาดสำคัญ โดยตั้งเป้าจะเปิดสาขาในจีนปีละ 5 แห่ง
โดย 1 ปีหลังจากที่เฟรเดอริกเข้ามาบริหาร บริษัทมียอดขายในปี 2021 ของ TAG Heuer อยู่ที่ 857 ล้านฟรังก์สวิส หรือราว 2.8 หมื่นล้านบาท และอยู่ในอันดับที่ 9 ของวงการ และตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง CEO เขาตั้งเป้าหมายจะนำพาแบรนด์ไต่ขึ้นอันดับ 4 ของวงการนาฬิกาสวิสให้ได้
รายได้ของ LVMH ปี 2023 อยู่ที่ 8.62 หมื่นล้านยูโร (ราว 3.4 ล้านล้านบาท) โตขึ้นถึง 13% จากปีก่อนหน้า เฉพาะแผนกนาฬิกาและเครื่องประดับ ซึ่งประกอบด้วย Bulgari, Tiffany, TAG Heuer, Hublot และ Zenith โตขึ้น 7%
โดยรายได้ของแผนกนาฬิกาและเครื่องประดับอยู่ที่ 1.09 หมื่นล้านยูโร (4.32 แสนล้านบาท) คิดเป็น 12.6% ของรายได้รวม ซึ่ง LVMH ได้ระบุไว้ในแถลงการณ์เลยว่า ยอดขายในแผนกนาฬิกาและเครื่องประดับเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะ Tiffany, Bulgari และ TAG Heuer ซึ่งประสบความสำเร็จในด้านรายได้ที่สูงทำลายสถิติ จากคอลเล็กชันฉลองครบรอบ 60 ปี Carrera