งานวิจัยพบว่า TikTok ปิดกั้นคอนเทนต์ที่มี ‘การต่อต้านจีน’ มากกว่าแพลตฟอร์มอื่นในโซเชียลมีเดียอย่าง Instagram และ YouTube โดยเฉพาะเนื้อหาที่วิพากษ์วิจารณ์จีน หรือนำเสนอเรื่องราวในแง่ลบ
ล่าสุด ผลศึกษาจาก Network Contagion Research Institute (NCRI) โดยมหาวิทยาลัย Rutgers พบว่า คอนเทนต์วิดีโอที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ พูดถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีนในเชิงลบ มักถูกปิดกั้น หรือค้นหาได้ยากบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่าแพลตฟอร์มอื่นอย่าง Instagram และ YouTube
โดยภายในงานวิจัย มีการรวบรวมวิดีโอประมาณ 300 คลิป สำหรับแต่ละคีย์เวร์ดที่เกี่ยวข้องกับมุมองต่อจีน เช่น ‘อุยกูร์’ ‘ซินเจียง’ ‘ทิเบต’ และ ‘เทียนอันเหมิน’ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok, YouTube, และ Instagram โดยแต่ละคลิปวิดีโอ จะถูกจัดประเภทด้วยผู้ตรวจสอบที่เป็นมนุษย์สูงสุด 3 คน ว่า เป็นประเภท ‘สนับสนุนจีน’ ‘ต่อต้านจีน’ ‘เป็นกลาง’ หรือไม่มีความเกี่ยวข้อง
คีย์เวิร์ดเหล่านี้ ได้รับการคัดเลือกจาก NCRI ด้วยเหตุผลว่า คำดังกล่าวมีความสำคัญในเชิงสงคราม และการโฆษณาชวนเชื่อของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งกำหนดให้การสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกของจีน ทั้งภายในและภายนอกของเป้าหมายหลักของวาระการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
ด้วยผลลัพธ์กว่า 3,435 รายการ พบว่า อัลกอริทึมของ TikTok แสดงเนื้อหาเชิงบวก เป็นกลาง หรือไม่เกี่ยวข้องในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า Instagram และ YouTube เช่น ผลการค้นหาคำว่า ‘เทียนอันเหมิน’ กว่า 25% บน TikTok เป็นเนื้อหาที่สนับสนุนจีน มีทั้งเพลงรักชาติ โปรโมชั่นการท่องเที่ยว หรือภาพทิวทัศน์ ที่ไม่มีการกล่าวถึงการสังหารหมู่ในปี 1989 ในขณะที่ประมาณ 16% บน Instagram และ 8% บน YouTube เป็นคอนเทนต์ที่สนับสนุนจีน
นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่า TikTok ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นที่สนับสนุนรัฐบาลจีน โดยทำการสำรวจชาวอเมริกันประมาณ 1,200 คน ซึ่งพบว่าผู้ที่ใช้งาน TikTok เป็นปะจำ มีแนวโน้มที่จะมีความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับรัฐบาลจีน มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้แอปเป็นประจำประมาณ 50%
Joel Finkelstein ผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ NCRI กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้ TikTok แตกต่าง คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีน ถูกเบียดบังออกไปบนแพลตฟอร์มมากที่สุด และอาจทำให้ผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา ได้รับภาพรวมที่ไม่ครบถ้วนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของประเทศจีน เมื่อค้นหาคำ หรือ วลีสำคัญ
ไม่เพียงเท่านี้ จากการสำรวจที่ดำเนินการควบคู่ไปกับการศึกษา พบว่า ผู้ที่ใช้งาน TikTok เป็นเวลาสามชั่วโมงหรือมากกว่าต่อวัน มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับประวัติสิทธิมนุษยชนของจีน มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้อย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งนี้ นักวิจัยชี้ว่า การจัดประเภทเนื้อหาว่าสนับสนุนจีน หรือ ต่อต้านจีน เป็นการตัดสินแบบอัตนัย แม้ว่าจะมีการพยายามลดอคติให้เหลือน้อยที่สุด แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความแตกต่างในการตีความด้วย
อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Bloomberg เผยว่า โฆษกของ TikTok โต้แย้งผลการค้นพบของ NCRI และกล่าวว่า การทดลองที่ไม่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และมีข้อบกพร่องนี้ ได้รับการออกแบบมาอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ผิดพลาด ซึ่งมีลักษณะการกำหนดผลสำรวจมาแล้ว ไม่ได้สะท้อนถึงประสบการณ์ของผู้ใช้จริง
นอกจากนี้ TikTok เป็นบริการแพลตฟอร์มที่ใหม่กว่าคู่แข่งรายอื่น ทำให้เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นนานก่อนที่ TikTok จะมีอยู่ ยกตัวอย่างในบางกรณีที่ Instagram และ YouTube มีคอนเทนต์ที่สนับสนุนจีนสูงกว่า TikTok ด้วย อย่างคีย์เวิร์ด ‘อุยกูร์’ และ ‘ซินเจียง’ การค้นหาบน YouTube ประมาณ 50% แสดงเนื้อหาในเชิงบวก เมื่อเทียบกับ TikTok ที่มีการค้นหาน้อยกว่า 25%
ทั้งนี้ นักวิจัย NCRI ระบุว่า ผลลัพธ์ดังกล่าวเกิดจากบัญชีที่มีอิทธิพลจำนวนหนึ่งที่สร้างขึ้นบน YouTube หรือมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลในรัฐบาลก็ตาม รวทมทั้งยอมรับว่า การศึกษาของพวกเขาไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ว่ารัฐบาลจีน หรือพนักงานของ TikTok ได้จงใจบิดเบือนอัลกอริทึมหรือไม่
ที่ผ่านมา TikTok เผชิญกับการถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด โดยผู้ร่างกฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา หลังเกิดความกังวลเกี่ยวกับอิทธิพลของรัฐบาลจีน ที่มีต่อ TikTok และภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นต่อความมั่นคงของชาติ
โดยเมื่อต้นปีนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ลงนามในกฎหมายที่บังคับให้ ByteDance ขายแอปภายในวันที่ 19 มกราคม ไม่เช่นนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ จากแนวคิดที่ “TikTok อาจถูกนำไปใช้เพื่อเผยแพร่ข้อความที่สนับสนุนจีนไปยังพลเมืองอเมริกัน โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว” ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐสภา พยายามแบนแอปดังกล่าว
ซึ่งในระหว่างการให้การเป็นพยานต่อรัฐสภาในเดือนมีนาคม คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ ได้กล่าวถึงความสามารถของจีน ในการดำเนินการอย่างมีอิทธิพลกับ TikTok โดยความพยายามดังกล่าว ตรวจจับได้ยากมาก
แนวคิดนี้ เกิดขึ้นจากการอ้างอิงผลงานวิจัยโดย NCRI ในฉบับก่อนหน้า ว่า TikTok มีการเพิ่มหรือลดคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม จากการพิจารณาว่า เนื้อหานั้นสอดคล้องกับผลประโยชน์ของรัฐบาลจีนหรือไม่ ทำให้นักการเมืองในสหรัฐฯ จำนวนมาก นำรายงานดังกล่าวมาอ้างอิงอย่างหนัก และมองว่า TikTok เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
แม้ Shou Zi Chew ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TikTok ออกมาเรียกรายงานก่อนหน้านี้ว่า ให้ข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดก็ตาม ในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภาเมื่อต้นปีนี้ ไม่เพียงเท่านี้ TikTok ยังเผยกับสำนักข่าว Bloomberg ว่า งานวิจัยนี้ เผยแพร่โดย Cato Institute ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยที่มุ่งเน้นแนวคิดเสรีนิยมและตลาดเสรี
ผู้บริหารของ ByteDance และ TikTok ปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่า รัฐบาลจีนใช้แอปโซเชียลมีเดียเพื่อเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อซ้ำแล้วซ้ำเล่า แต่ข้อโต้แย้งเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ พอใจได้ จน TikTok ยิ่นฟ้องรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อยกเลิกกฎหมายดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่ารัฐสภาไม่ได้พิสูจน์ข้ออ้างที่ว่าแอปดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ
นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ TikTok ถูกกล่าวหาว่า แพลตฟอร์มมีการปิดกั้นคอนเทนต์บางประเภท เพราะที่ผ่านมา TikTok เผชิญข้อกล่าวจากการปิดกั้นหรือเซ็นเซอร์เนื้อหาบางประเภทบนแพลตฟอร์ม ดังนี้:
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา TikTok เผยว่า การตัดสินใจแบน หรือระงับเนื้อหาบางประเภท ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับแรงกดดันทางการเมือง กฎหมาย และวัฒนธรรม:
ในขณะที่ การปิดกั้นคอนเทนต์ที่มีการต่อต้านจีนของ TikTok ยังคงไม่มีบทสรุป หลักฐาน หรือคำแถลงอย่างเป็นทางการ งานวิจัยของ NCRI เป็นเพียงการตั้งสมมติฐาน และทำวิจัยในเบื้องต้นเท่านั้น สุดท้ายนี้ ผู้ใช้งานแพตฟอร์มต้องมีวิจารณญาน ในการเสพสื่อ คิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ดี ก่อนตัดสินอะไรลงไป
ที่มา Bloomberg, Just the News, Malaysia Now, Network Contagion