วิมานหนาม ภาพยนตร์ไทยเรื่องใหม่จาก GDH ที่ได้แรงบันดาลใจการสร้างภาพยนต์จากความไม่เท่าเทียมทางสังคมในเรื่องเพศ บอกเล่าเรื่องราวความรักของ LGBTQ+ ที่เต็มไปด้วยอุปสรรคทางกฎหมาย ในวันที่เพศเดียวกันยังไม่สามารถแต่งงานกันได้ และในวันที่พวกเขาตายจากกันในสถานะของคู่รัก (ทางจิตใจ) แต่อย่างไรก็ไม่ใช่คู่สมรส (ทางกฎหมาย) และเมื่อไม่มีอะไรมารองรับ สิทธิที่พึงจะได้ก็อาจถูกช่วงชิงไปด้วยกฎหมาย ล่าสุดได้สร้างปรากฎการณ์ กวาดรายได้ทะลุ 50 ล้านบาททั่วประเทศ หลังเข้าฉายเพียงแค่ 5 วันเท่านั้น
แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยของเรา จะมีพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่กลุ่มคู่รัก LGBTQ+ สามารถไปจดทะเบียนเป็นคู่สมรสกันได้อย่างถูกกฏหมาย มีสิทธิในการสมรสที่ครอบคลุมทุกมิติเหมือนกับชาย-หญิง แต่ก็ยังคงเป็นเรื่องน่าเศร้า หากชีวิตใครต้องพบเจอปัญหาและอุปสรรคเหมือนกับตัวละครในวิมานหนาม เราก็คงทำได้เพียงน้อยใจในโชคชะตา เพราะ ต่อให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมออกมาก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ในเมื่อกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง
วิมานหนาม ภาพยนต์ที่บอกเล่าเรื่องราวความรักของ ชาย-ชาย คู่นึงที่ช่วยกันทำสวนทุเรียนมาเป็นระยะเวลา 5 ปี บนที่ดินติดจำนองของเสกสรร โดยทั้งคู่ได้มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน เสกสรรเป็นฝ่ายลงแรงทำสวนทุเรียน ส่วนทองคำเป็นฝ่ายดูแลภาพรวมและลงเงิน
เมื่อความรักของทั้งคู่สุกงอม ผลของทุเรียนก็ใกล้จะงอกเงยออกมาเป็นเงินในอีกไม่ช้า ทั้งคู่ตัดสินใจแต่งงานกัน ทองคำตัดสินใจนำเงินที่มีทั้งหมดไถ่ถอนที่ดินติดจำนอง จนได้มาซึ่งโฉนดที่ดิน ในตอนนั้น LGBTQ+ ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ ทำให้โฉนดที่ดินสวนทุเรียน เปรียบเสมือนทะเบียนสมรสของทั้งคู่ที่แปะฝาบ้านไว้
แต่โชคชะตาก็กลั่นแกล้งในข้ามคืน เมื่อเสกสรรเกิดอุบัติเหตุจนเสียชีวิต ทำให้ที่ดิน สวน บ้าน ที่เป็นชื่อของเสกสรร ต้องตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้สืบสันดานตามลำดับของกฎหมายนั่นคือ ‘แม่แสง’ แม่ของเสกสรร
กลายเป็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เสกสรรและทองคำ ทำมาด้วยกันศูนย์เปล่า ทองดำไม่มีสิทธิอะไรเลยตามกฎหมายแม้กระทั่งแหวนแต่งงานที่เป็นหลักฐานของความรักของทั้งคู่
ในภาพยนต์ วิมานหนาม สะท้อนให้เห็นว่า คู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถใช้สิทธิต่างๆ เท่ากับ คู่รักต่างเพศได้
เช่น
“รวยกระจุก จนกระจาย” ความยากจน ปัญหาเชิงโครงสร้างที่อยู่กับประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนานโดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด
ในภาพยนต์ วิมานหนาม ตัวละคร แม่แสง และ โหม๋ (ลูกบุญธรรม ที่ไม่ได้รับรองด้วยกฎหมาย) ต้องอยู่ด้วยความยากลำบาก ดิ้นรนทุกวิธีทางเพื่อความอยู่รอด ชีวิตที่ต้องนอนบ้านหลังคามุง เก็บกะหล่ำปีเลี้ยงชีพ ขี่มอเตอร์ไซค์ไปโรงพยาบาล
แม่แสง และ โหม๋ ได้ต่อสู้ดิ้นรนทุกวิธีทางเพื่อให้ได้ ที่ดินสวนทุเรียน และบ้านหลังคาสังกะสี ของเสกสรร แม้ว่าความจริงแล้วจะรู้อยู่เต็มอกว่า เสกสรร สร้างทุกอย่างกับมาทองคำ
หลายๆคน คงเคยได้ยินประโยคว่า ‘มีลูกไว้ดูแลยามแก่เฒ่า’ ในภาพยนต์ วิมานหนาม แม่แสงมองว่า เสกสรร ลูกชายของเธอคือสมบัติชิ้นเดียวที่เธอมี เพราะต้องผ่านการลงทุนทั้งแรงกายและแรงใจจากผู้หญิงคนหนึ่ง ดังนั้นเมื่อลูกชายของเธอเสียชีวิตไป สมบัติที่เป็นของลูกเธอ ก็สมควรที่ตกเป็นไปของเธอโดยปริยาย แม้ว่าเธอจะไม่ได้เป็นผู้สร้างใดๆเลย
นอกจากนี้ เรายังได้เห็นแนวคิดเกาะชายผ้าเหลืองไปสวรรค์ความเชื่อที่หวังพึ่งพาผลบุญจากผู้บวชเป็นพระภิกษุสามเณร อย่าง ประเพณีปอยส่างลอง หรือ ประเพณีบวชลูก จากกรณีที่ทองคำบวชให้แม่แสงแทนเสกสรรที่ได้เสียชีวิตไปก่อนหน้า
โหม๋ หญิงสาวที่แม้ไม่ได้เป็นลูกสาวของแม่แสง แต่กลับต้องดูแลแม่แสงที่เดินไม่ได้กว่า 20 ปีแทนเสกสรร ในเรื่องนี้โหม๋เป็นเหมือนสมบัติที่ตกทอดผ่านเสกสรรที่มีฐานะเป็นสามี (ที่โดนหลอก) ที่ต้องรับหน้าที่เป็นผู้ดูแลแม่แสง แต่เรื่องน่าเศร้าอยู่ตรงที่โหม๋ไม่ได้มีเอกสารยืนยันความเป็นบุตรบุญธรรมของแม่แสง นั้นแปลว่าหากแม่แสงเสียชีวิต โหม๋ก็จะมีสถานะเหมือนทองคำ ที่ไม่สามารถรับมรดกใดๆเลย
อ้างอิง : ilaw