Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ความท้าทายของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในยุคเงินเฟ้อ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ความท้าทายของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในยุคเงินเฟ้อ

27 มิ.ย. 65
17:50 น.
|
3.1K
แชร์

ร้านอาหารในประเทศไทยมีมูลค่าธุรกิจโดยรวมอยู่ที่เฉียด 4 แสนล้านบาทในปี 2565 และธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นหนึ่งกลุ่มธุรกิจร้านอาหารที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นๆ ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจากตัวเลขแค่ระดับ 1,676 ร้านในปี 2555 มาเป็น 4,370 ร้านในปี 2564 นี่ขนาดว่าพิษโควิด ตลอด2ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย2 ปีโควิดก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในต่างจังหวัด 

 

เหตุผลที่ร้านอาหารญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่อง 

ข้อมูลจากเจโทรกรุงเทพ มีอัพเดทตัวเลขร้านอาหารญี่ปุ่นของปี 2564 พบว่าในจำนวน 4,370 ร้านมีการเติบโต 6.7 % เป็นร้านในกทม. 2,073 ร้าน ลดลงไป1.5%  แต่ต่างจังหวัดในประเทศไทย ที่มีร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งสิ้น 19 จังหวัด รวม 2,297 ร้าน เติบโต15.5% ซึ่งจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาจากปัจจัย

  • วัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นที่แพร่หลายมากขึ้น 
  •  การขยายฐานลูกค้าโดยการเพิ่มความหลากหลายด้านราคา 
  • การเพิ่มขึ้นของศูนย์การค้าในพื้นที่ต่างจังหวัด 

ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยหนุนให้จำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น
 

ประเภทร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย “ซูชิ” มากที่สุด 

1.ซูชิ     1,196 ร้าน

ร้านซูชิจะรวมร้านอาหารประเภทข้าวปั้นซูชิ ประเภทปลาต่างๆ หรือ ร้านอาหารทะเล 

2.ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่น 1,071 ร้าน 

เป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีเมนูหลากหลาย มีอาหารเป็นเมนูเป็นชุด 

3.ราเม็น 459 ร้าน

มีเมนูประเภทราเม็น เกี้ยวซ่า 

4.สุกี้ / ชาบู 332 ร้าน

เมนูในหมวดหม้อร้อน สุกี้และชาบ

5.อิซากายะ 275 ร้าน 

เป็นร้านที่เน้นเมนูปิ้งย่าง เสียบไม้ คู่กับเมนูเครื่องดื่มประเภทเบียร์  

 644489

ต้นทุนปลานำเข้าสูงขึ้น และหายากมากขึ้นเรื่อยๆ 

แน่นอนว่าแม้มีร้านเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย แต่ร้านที่อยู่ไม่ได้ล้มหายไปก็คงจะมีไม่น้อยเช่นกัน ยิ่งในสภาวะปัจจุบันต้นทุนวัตถุดิบทุกอย่างปรับขึ้น อาจจะทำให้การใช้กลยุทธ์ด้านราคาไม่ง่ายอีกต่อไป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดของซูชิ ที่เป็นอาหารประเภทปลามีต้นทุนการนำเข้าที่สูงมากขึ้น 

ผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดังรายหนึ่ง เคยบอกกับเราว่า ต้นทุนการนำเข้าปลาแซลมอนจากแถบสแกนดิเนเวีย ตั้งแต่ช่วงโควิดเป้นต้นมาปรับขึ้นมาแล้่วถึง 70 % 

ขณะที่ Business Insider  เคยทำรายงานพิเศษ ชี้ถึงจำนวนปลาทูน่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาลดลงถึง 97%  ฟังดูเป็นตัวเลขที่น่าตกใจ และสร้างความกังวลให้กับผู้ประกอบธุรกิจตลาดปลาในญี่ปุ่นที่จัดประมูลปลาไม่น้อย เพราะการประมูลปลาเพื่อกระจายให้กับร้านอาหารทั่วประเทศ เค้าเกรงว่าในอนาคตที่ปลาหายากมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ไ่ด้ และยิ่งหายากมากขึ้นเท่าไหร่ นั่นแปลว่าราคาก็จะสูงมากขึ้นตามไปด้วย   
  

ดังนั้นวัตถุดิบหลักอย่างปลาต้องมีการนำเข้าจากต่างประเทศ การเกิดขึ้นของร้านอาหารญี่ปุ่นจำนวนมากโดยเฉพาะกลุ่มอาหารทะเล อาจจะเป็นเรื่องต้องมีการบริหารจัดการต้นทุนให้ดีมากขึ้น   ผู้ประกอบการรายไหนกล้าหั่นราคา ก็น่าจะต้องมีต้นทุนที่ถูกกว่าถึงจะทำได้ ผู้บริโภคสังเกตุได้ไม่ยากป้องกันการโดนหลอกขายคูปองร้านอาหารราคาต่ำๆ แล้วเชิดหนีเหมือนที่เป็นข่าว 

 

เงินเฟ้อสูง ความท้าทายของธุรกิจร้านอาหาร

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินแนวโน้มธุรกิจร้านอาหารปี 2565 จะพลิกฟื้นขยายตัวได้ 5.4% แต่ในบริบทที่ต่างกันตามขนาดธุรกิจ หลังหดตัวจากสถานการณ์โควิดต่อเนื่อง 2 ปี แต่ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาใช้แพลตฟอร์มเดลิเวอรีเพื่อสั่งอาหารออนไลน์เพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาสินค้าที่สูงขึ้นกดดันกำลังซื้อผู้บริโภคให้ลดลงในวงกว้าง กระทบหนักในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย เนื่องจากศักยภาพในการแข่งขันที่น้อยกว่าและปัญหาต้นทุนสูงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ดังนั้นในปี 2565 นี้ ร้านอาหารยังมีปัจจัยท้าทายที่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนี้ 

1.ปัญหาเงินเฟ้อที่สูงขึ้นรวดเร็วลดทอนกำลังซื้อภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนรายได้น้อยที่เป็นตลาดหลักของผู้ประกอบการรายย่อย อาจประกอบอาหารเองเพื่อลดค่าใช้จ่าย 

 

2.ภาวะต้นทุนที่ปรับเพิ่มสูงต่อเนื่อง เนื่องจากมีฐานรายได้และสัดส่วนกำไรที่ต่ำกว่ากลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มอื่นมาก 

 

3.ภาวะการแข่งขันสูงในธุรกิจ ประเภทอาหารที่มีลักษณะทั่วไปไม่มีจุดขายอาจปรับราคาได้ยากกว่า

ดังนั้น ผู้ประกอบการอาหารรายย่อยควรเร่งพัฒนาเมนูอาหารให้มีความแตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะ เพื่อสร้างคุณค่าและจุดขายอันเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มพื้นที่สร้างกำไรและความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงเพิ่มความหลากหลายของอาหาร และช่องทางการให้บริการเพื่อเพิ่มยอดขาย เหล่านี้จะสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปและรักษาพื้นที่ตลาดที่มีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นจากผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่รุกคืบผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรีได้เพิ่มมากขึ้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

ส่อง ดารุมะ เวาเชอร์-แฟรนไชส์ทิพย์ เป็นยังไง? ชวน 2 กูรูถอดบทเรียน

ร้านอาหารญี่ปุ่นใน ตจว. โตแซง กทม. ครั้งแรก!

 

 

แชร์
ความท้าทายของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในยุคเงินเฟ้อ