อาหารญี่ปุ่นนับเป็นอาหารยอดนิยมของคนไทยมาอย่างยาวนาน เห็นได้จากร้านอาหารญี่ปุ่นที่เปิดให้บริการในประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลสำรวจขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ในปี 2566 พบว่า ประเทศไทยมีร้านอาหารญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 6 ของโลก
นายคุโรดะ จุน ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) หรือเจโทร กรุงเทพ เปิดเผยถึงปัจจัยที่ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยเติบโตอย่างต่อเนื่องว่า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความนิยมอาหารญี่ปุ่นของคนไทยที่เพิ่มขึ้น 5 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมนูประเภท ราเมง ชาบู สุกี้ และ ซูชิ ซึ่งเป็นเมนูยอดนิยมของร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจค้าปลีกในไทย ส่งผลให้มีชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวและอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภคอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากกรุงเทพฯ แล้ว ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในต่างจังหวัดของไทยก็เติบโตขึ้นเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในต่างจังหวัดไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่นทั้งหมด เนื่องจากร้านซูชิบางแห่งต้องปิดตัวลง เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ประกอบกับวัตถุดิบที่ใช้ในร้านซูชิเป็นวัตถุดิบสดที่มีราคาสูง ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจค่อนข้างสูงตามไปด้วย
รวมร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 5,751 ร้าน เพิ่มขึ้น 8% ในปี 2566 มีจำนวน 426 แห่ง โดยแบ่งเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นในกรุงเทพเปิดเพิ่มขึ้น 5 เท่า รองลงมาคือ เขตปริมณฑลมีร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า เช่นเดียวกัน ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดของไทยมีเพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ดังนั้นเมื่อรวมทั้งประเทศไทยมีสัดส่วนร้านอาหารญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 1.9 เท่า ทั้งหมดเป็นการเปรียบเทียบในข่วงระหว่างปี 2561 ถึงปี 2566 หรือ 2017 ถึง 2023 ผ่านมา
จากผลสำรวจพบว่า ร้านอาหารญี่ปุ่น ที่เปิดเพิ่มมากที่สุดในประเทศไทยในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมาจะมี 5 ประเภทได้แก่
ส่วนร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิ ที่เป็นประเภทของร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีจำนวนร้านมากที่สุดในไทยในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา กลับมีจำนวนร้านที่ปิดตัวลดลงมากกว่าจำนวนร้านที่เพิ่มขึ้น นั่นคือ ลดลง 4.1% สาเหตุจากการแข่งขันทั้งจากร้านอาหารญี่ปุ่นด้วยกัน และร้านอาหารประเภทอื่นที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือความท้าทายของต้นทุนวัตถุดิบอาหาร และสภาพเศรษฐไทยที่ยังแย่บวกกับค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นในประเทศไทย
สำหรับผลสำรวจเรทราคาอาหารญี่ปุ่นเฉลี่ยต่อหัวผู้บริโภคในปี 2566 ทาง เจโทร ได้ทำการเมื่อแบ่งระดับราคาอาหารญี่ปุ่นเฉลี่ยต่อหัวผู้บริโภค โดย เฉลี่ยต่อหัว ดังนี้
โดนหากแยกตามพื้นที่ ราคาอาหารเฉลี่ยต่อหัว 101 – 250 บาทมีจำนวนมากที่สุด ตามมาด้วย เรทระดับราคา 251 – 500 บาท โดยทั้ง 2 เรทราคานี้จะมีมากที่สุดในประเทศไทย รองลงมาคือ เรทราคา 501 – 1,000 บาท มีมากสุดในสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร ด้านเรท ราคาต่ำกว่า 100 บาท จะมีมากในพื้นที่ ปริมณฑลและต่างจังหวัด
ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) หรือเจโทร กรุงเทพ กล่าวว่า ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีก แม้ว่าจะมีจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่หากพิจารณาจากจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นเฉลี่ยต่อจำนวนประชากรแล้ว ไทยยังอยู่ในอันดับ 4 ของโลก นั่นหมายความว่ายังมีช่องว่างให้เติบโตได้อีก
อุปสรรคต่อการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย ได้แก่ พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่อาจยังไม่คุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่นบางประเภท และการออกแบบเมนูที่อาจไม่ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภคชาวไทย อย่างไรก็ตาม อาหารญี่ปุ่นยังคงได้รับความนิยมจากคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยแนวโน้มในอนาคตจะมีความหลากหลายมากขึ้น และจะแพร่หลายมากขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวและจังหวัดที่มีประชากรจำนวนมาก
เจโทร กรุงเทพ มองว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องนำเสนอรสชาติหรือเมนูต้นฉบับเสมอไป แต่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคไทยได้ เช่น การนำอาหารญี่ปุ่นมาประยุกต์กับอาหารไทย หรือการพัฒนาเมนูอาหารญี่ปุ่นให้มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นต้น