Meta เตรียมปล่อย ‘Meta Verified’ หรือ ระบบยืนยันตัวตนบนเฟซบุ๊ก (Facebook) และ อินสตาแกรม (Instagram) เพื่อช่วยเปิดการมองเห็นโพสต์ในไทยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คิดค่าบริการเริ่มต้นเดือนละ 429 บาท ล่าสุดเปิดให้ลงทะเบียนรอใช้ใน waitlist แล้ว
สำหรับใครที่ทำเพจข่าวหรือคอนเทนต์บนเฟซบุ๊ก สิ่งหนึ่งที่น่าจะทำให้ทุกคนปวดหัวกันอยู่ในช่วงนี้ ก็คือ การที่ยอดเอนเกจเมนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยอดรีช ยอดชม กดไลค์ กดแชร์ลดลง จากการที่เฟซบุ๊กเปลี่ยนอัลกอริธึมแล้วทำให้การมองเห็นโพสต์ต่างๆ ลดลง
อย่างไรก็ตาม ทาง Meta ได้ออกวิธีการแก้ปัญหา (ด้วยเงิน) มาให้ทุกคนแล้ว ด้วยการเปิดให้ผู้ใช้ยืนยันตัวตนด้วยเอกสารแสดงข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น บัตรประชาชน ผ่านระบบ Meta Verified ซึ่งทาง Meta เคลมว่าจะช่วยเปิดการมองเห็นโพสต์ของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นยอดเอนเกจเมนต์ให้ดีขึ้น
ก่อนหน้านี้ Meta ได้มาประกาศเปิดตัวระบบนี้แล้ว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และได้เริ่มทดลองใช้ระบบนี้กับผู้ใช้ในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ก่อนจะขยายไปยังสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร แคนาดา และอินเดีย โดยปัจจุบันมี 2 แพลนด้วยกัน คือ
จากการทดลองใช้มาประมาณ 4 เดือน Meta เปิดเผยว่าบริการนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากผู้ใช้ จึงได้มีแผนที่จะเปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลก รวมถึง ‘ไทย’ ใช้บริการนี้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยพื้นที่แรกที่ Meta จะขยายไปก็คือ ‘กลุ่มประเทศละตินอเมริกา’ ที่จะสามารถใช้บริการนี้ได้ภายในสัปดาห์นี้
ในปัจจุบัน ผู้ใช้ในไทยยังไม่สามารถสมัครใช้บริการนี้ได้ แต่ทาง Meta ได้เปิดให้ผู้ใช้เข้าลงชื่อใน waitlist เพื่อรอเป็นผู้ใช้บริการได้แล้ว โดยถ้าบริการนี้เปิดให้ใช้ในประเทศไทยเมื่อไหร่ ระบบ Meta ก็จะแจ้งให้คนที่ลงชื่อไว้ทราบโดยอัตโนมัติ และได้เปิดเผยราคาเริ่มต้นแล้วว่าจะมีราคา 429 บาท ต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม คนที่จะลงชื่อ waitlist ไว้จะต้องเช็กก่อนว่า ตัวเองหรือแอคเคาท์ของตัวเองนั้นมีคุณสมบัติผ่านที่จะใช้บริการนี้หรือเปล่า โดยผู้ใช้หรือแอคเคาท์ที่จะสามารถใช้บริการนี้ได้ จะต้องเป็น
โดยหลังจากเช็คแล้วว่ามีเรามีคุณสมบัติเหล่านี้ เราก็จะสามารถสมัครใช้ Meta Verified ได้ด้วยการส่งเอกสารยืนยันตัวที่ออกโดยราชการ ทีมีหน้าและชื่อของเราอย่างชัดเจน และเมื่อสมัครแล้ว ผู้ใช้จะได้เครื่องหมายถูกสีฟ้าไว้หลังชื่อ ได้เซ็ตสติกเกอร์พิเศษ ได้ยอดการมองเห็นที่เพิ่มขึ้น และได้ใช้บริการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่คอยจัดการปัญหาต่างๆ ให้เรา
เรียกได้ว่า เป็นการเพิ่มความปลอดภัยอีกขั้นให้กับผู้ใช้เฟซบุ๊กและอินสตาแกรมที่มักจะเจอปัญหาแอคเคาท์ปลอมหรือบอทอยู่เสมอ ซึ่งการบังคับให้แอคเคาท์ที่มีความสุจริตใจจ่ายเงินเพื่อเพิ่มยอดการมองเห็นในครั้งนี้ ถึงแม้จะเป็นการสร้างภาระทางการเงินให้ผู้ใช้ แต่ก็อาจจะเป็นการช่วยคัดกรองได้ว่าโพสต์ที่อัลกอริธึมเปิดให้คนทั่วไปเห็นนั้นเป็นโพสต์ที่เขียนโดยคนที่มีตัวตนจริง และติดตามตรวจสอบได้
ที่มา: Social Media Today, Data Economy