เรียกได้ว่า “ไทย” เจอผลกระทบหนักเกินกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ หลังจากที่ช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการว่า สหรัฐจะเดินหน้าบังคับใช้มาตรการ “ภาษีตอบโต้” (reciprocal tariffs) ต่อประเทศคู่ค้าทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยที่จะถูกเก็บภาษีในอัตราสูงถึง 37% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดไว้ที่ราว 10-25% อย่างมาก
มาตรการใหม่นี้ครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 185 แห่ง และจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน สำหรับอัตราภาษี Broadbase ทั่วโลก 10% และวันที่ 9 เมษายน สำหรับอัตราภาษีโต้ตอบรายประเทศอย่างที่ประเทศไทยเผชิญ
ในบทความนี้ SPOTLIGHT จะพาไปเจาะลึกว่า ประเทศไทยต้องเผชิญกับอะไรบ้างจากมาตรการภาษีตอบโต้ของทรัมป์? และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนและทั่วโลก ไทยกำลังเผชิญแรงกดดันมากน้อยแค่ไหน?
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 2 เม.ย. (เวลาสหรัฐฯ ) ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ออกมาประกาศใช้ภาษีตอบโต้ (reciprocal tariffs) ครอบคลุมประเทศต่างๆ ทั่วโลกถึง 185 แห่ง โดยแบ่งภาษีตอบโต้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
สำหรับ “ประเทศไทย” ซึ่งเป็นประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก โดนภาษีตอบโต้แบบรายประเทศที่อัตรา 37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าประเทศส่วนมากที่ได้รับผลกระทบไปเพียง 10% และอยู่ในระดับใกล้เคียงกับหลายๆ ประเทศที่สหรัฐฯ มองว่าเป็น “ศัตรูทางการค้า” และมีมูลค่าเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ สูง เช่น
ในทางกลับกัน ประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯ อย่าง สหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และ ซาอุดิอาระเบีย ถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราต่ำสุดที่ 10% เท่ากับประเทศส่วนใหญ่ที่ได้รับอัตราขั้นพื้นฐาน
สำหรับหลักการในการกำหนดอัตราภาษี ทรัมป์ กล่าวว่า อัตราภาษีตอบโต้ที่ประกาศออกมานั้น คิดเป็นครึ่งหนึ่งจากทั้งอัตราภาษีนำเข้าและมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีอื่นๆ ที่ประเทศนั้นๆ ใช้กับสหรัฐฯ โดยสำหรับไทย ข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาในวันนี้ ระบุว่า ประเทศไทยใช้ภาษีและมาตรการอื่นๆ กีดกันสหรัฐฯ ถึง 72% ทำให้ตัวเลขภาษีตอบโต้ของไทยออกมาเป็น 37% ดังกล่าว
สำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 11 ประเทศ ไม่มีชาติใดที่รอดพ้นจากการเก็บภาษีดังกล่าว โดย "กัมพูชา" เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถูกเก็บภาษีในอัตราสูงถึง 49% "ไทย" ตามมาในอันดับ 5 ที่ 37% ขณะที่ "สิงคโปร์" ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐ ถูกเก็บในอัตราต่ำสุดเพียง 10%
โดยหากแจกแจงออกมาเป็นรายประเทศ แต่ละประเทศในอาเซียนจะถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในอัตราต่างๆ ดังนี้
เมื่ออิงจากอัตราดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ประเทศส่วนใหญ่ในอาเซียนถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ค่อนข้างหนักเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก เพราะในการประกาศมาตรการครั้งนี้ หลายประเทศในอาเซียนถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้ในอัตรารายประเทศ ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บในอัตราขั้นต่ำที่ 10%
จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ หลายประเทศในอาเซียน ทั้ง เวียดนาม ไทย มาเลเซีย ล้วนแต่เป็นประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ติดอันดับ Top 15 ของโลก ซึ่งอาจเป็นหนึ่งสาเหตุที่อาเซียนได้รับผลกระทบหนักจากมาตรการนี้