หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ ด้วยการประกาศมาตรการขึ้นภาษีตอบโต้ในช่วงเช้ามืดของวันนี้ (3 เม.ย.) โลกก็เข้าสู่ภาวะปั่นป่วนอย่างฉับพลัน หลายประเทศต้องเข้าสู่โหมดฉุกเฉิน พร้อมตัดสินใจให้เร็วว่า จะ “ลุกขึ้นสู้” หรือ “หลบให้ไว”
โดยหนึ่งในประเทศที่รับแรงกระแทกไปเต็มๆ แบบไม่ทันตั้งหลักก็คือ “ไทย” ที่เจอบทลงโทษด้วยภาษีสูงถึง 37% ทำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตื่นตัว เพราะถ้าปล่อยให้มาตรการภาษีของสหรัฐฯ มีผลบังคับใช้โดยไม่มีการตอบโต้หรือปรับตัว ผลกระทบที่ตามมานั้นอาจลุกลามจนเกิดวิกฤต ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การค้า และเสถียรภาพระหว่างประเทศ
ในบทความนี้ SPOTLIGHT ชวนคุณมาสำรวจเสียงสะท้อนจากแนวหน้าเศรษฐกิจ ทั้งนักวิเคราะห์ นักวิชาการ และกูรูที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินว่าประเทศไทยควรเดินเกมอย่างไรในสนามที่เปลี่ยนกติกากลางกระดาน พร้อมจับตาท่าทีของรัฐบาลไทยว่า จะปรับกลยุทธ์อย่างไรให้ทันเกม และเอาตัวรอดจากมรสุมการค้านี้ไปได้
ดร.พิพัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร โพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัวไม่นานหลังทรัมป์ประกาศอัตราภาษีว่า หลังจากการตั้งกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ กลายเป็นจริง เกมการค้าที่ไทยต้องเล่นต่อไปคือ "เกมเจรจา" เต็มรูปแบบ
ซึ่งเมื่อประเมินตามสถานการณ์แล้ว ไทยดูจะมีทางเลือกหลักอยู่ 3 แนวทาง หรืออาจต้องผสมผสานกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือ
ทางเลือกนี้คือการเผชิญหน้าและตอบโต้กลับคล้ายกับที่จีน แคนาดา หรือสหภาพยุโรปเคยทำ แต่ข้อจำกัดสำคัญของไทยคือ ความไม่สมดุลของอำนาจต่อรอง เพราะสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทย
ไทยมีดุลการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ หลายหมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งแม้ส่วนหนึ่งจะมาจากสินค้าจีนที่ไหลผ่านไทย แต่ก็ยังทำให้สหรัฐฯ มองไทยว่า “ได้เปรียบ” ทางการค้า การเลือกสู้โดยไม่มีแต้มต่อ อาจเสี่ยงเกินไป
หากเลือกแนวทางเจรจาและ “ลดแรงเสียดทาน” ไทยอาจต้องยอมเปิดบางตลาดหรือปรับกฎเกณฑ์เพื่อให้สหรัฐฯ คลายความกังวล เช่น
นอกจากนี้ ไทยอาจต้องยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม เช่น การนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้นในหมวดพลังงาน เครื่องบิน อาวุธ หรือเครื่องจักร รวมถึงการเปิดเสรีในภาคบริการ การเงิน สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา หรือแรงงาน ซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่สหรัฐฯ กังวลมานาน
อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่าแนวทางนี้ต้องอาศัยการเจรจา “ภายใน” อย่างเข้มข้น เพราะคำถามใหญ่คือ ใครควรเสียอะไรเพื่อรักษาภาคส่งออกโดยรวม? และท้ายที่สุด สหรัฐฯ ต้องการเพียงผลประโยชน์ทางการค้าจริงหรือ? หรือมีนัยยะทางการเมือง ความมั่นคง หรือภูมิรัฐศาสตร์ซ่อนอยู่?
หากเจรจาไม่ลงตัว หรือไม่มีทางเลือกอื่น ดร. พิพัฒน์ มองว่า ไทยอาจต้อง “ทน” ต่อแรงกดดันในระยะสั้น โดยหวังว่าสหรัฐฯ จะลดท่าทีลงเมื่อได้รับแรงเสียดทานภายในประเทศ หรือจากประเทศคู่ค้าอื่น ๆ ทางเลือกนี้อาจมาพร้อมการจับมือกับประเทศที่ได้รับผลกระทบคล้ายกัน เพื่อรวมเสียงกดดันร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ การรีรอโดยไม่มีแผน ก็ไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดีในระยะยาว เพราะความเสียหายอาจเกิดขึ้นก่อนที่โอกาสในการเจรจาจะมาถึง
ในมุมมองของ ประกิต สิริวัฒนเกตุ กูรูตลาดทุนและกรรมการผู้จัดการ บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ การขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ต่อสินค้าส่งออกจากไทยในอัตรา 37% จะสร้างแรงกระแทกทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งต่อ GDP และภาคการส่งออก
ประกิตประเมินว่า การเก็บภาษี 37% ครั้งนี้จะสร้างแรงกระแทกอย่างมีนัยสำคัญต่อ GDP ไทย โดยอ้างอิงจากประมาณการเดิมที่เคยประเมินว่า หากโดนภาษี 15% จะส่งผลให้ GDP หดตัวราว 1.5% การขึ้นภาษีระดับนี้อาจกด GDP ลงไปใกล้เคียง 2% แม้จะไม่ถึงขั้นรุนแรง 3.6% แต่ก็ถือว่า “สะเทือนระบบ” อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกของไทยไปสหรัฐ ซึ่งในปี 2567 มีมูลค่ากว่า 5.49 หมื่นล้านดอลลาร์ (คิดเป็น 18.3% ของยอดส่งออกทั้งหมด) ย่อมหดตัวลงแน่นอน จากภาวะราคาสินค้าที่ถูกบวกภาษีจนแพงขึ้น กำลังซื้อในสหรัฐจะลดลง และสินค้าของไทยอาจถูกแทนที่ด้วยสินค้าที่ผลิตในสหรัฐเอง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดในตอนนี้คือ “การบริหารผลกระทบ” ให้เจ็บตัวน้อยที่สุด พร้อมวางแนวทางระยะกลางถึงยาวเพื่อไม่ให้ไทยเข้าสู่ภาวะเสียสมดุลในระบบการค้าโลก
นายประกิจ มองว่า ไทยไม่ควรเลือก “สู้กลับ” แบบจีนหรือสหภาพยุโรป เพราะจะยิ่งเสียมากกว่าได้ ด้วยอำนาจต่อรองที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง สิ่งที่ไทยควรทำคือ
ขณะเดียวกัน ไทยต้องเร่งหาตลาดส่งออกใหม่ ลดการพึ่งพาสหรัฐฯ โดยแสวงหาความร่วมมือกับประเทศอื่นที่เผชิญแรงกดดันจากภาษีเช่นเดียวกันโดยเฉพาะในเอเชีย ลาตินอเมริกา และตะวันออกกลาง พร้อมกับต้องจัดการความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีนอย่างจริงจัง ลดการขาดดุลการค้าให้ได้ เพราะในอนาคต หากไม่สามารถชดเชยการเกินดุลกับสหรัฐฯ ได้อีก ไทยอาจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะไม่สมดุลทางเศรษฐกิจอย่างถาวร
ทั้งนี้ แม้ทรัมป์จะเชื่อว่าการขึ้นภาษีจะกระตุ้นการผลิตภายใน แต่ในระยะสั้น สหรัฐฯ เองก็จะเจอแรงสะเทือนจากราคาสินค้านำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน ผู้บริโภคเผชิญเงินเฟ้อ ขณะที่กำลังซื้อหดตัว และห่วงโซ่อุปทานภายในยังไม่พร้อมผลิตทดแทนทันที
แม้ทรัมป์จะมีแผน “ลดภาษีในประเทศ” เพื่อลดแรงต้าน แต่นาย ประกิตเชื่อว่า แรงกดดันภายในจะผลักให้สหรัฐต้องยอมผ่อนปรนมาตรการภาษีบางส่วนในอนาคต โดยขึ้นอยู่กับว่า “ประเทศไหนจะเจรจาได้มีน้ำหนักมากกว่ากัน”
ด้าน ดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย Economic Intelligence Service (EIS) จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยว่า การขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าครั้งใหญ่ของสหรัฐฯ ที่มีผลบังคับใช้ในเดือนเมษายนนี้ เปรียบเสมือน “บทใหม่” ของความปั่นป่วนในระบบการค้าโลก โดยไทยเองเป็นหนึ่งในกว่า 60 ประเทศที่ถูกตั้งกำแพงภาษีสูงถึง 36–37% ซึ่งถือว่าสูงกว่าประเทศส่วนใหญ่
ยิ่งไปกว่านั้น การที่ไทยต้องจ่ายภาษีนำเข้าสหรัฐในอัตราใหม่ที่ 38.5% (รวมภาษีเดิม 1.5%) ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งโดยตรงอย่างเม็กซิโก ซึ่งยังคงถูกเก็บภาษีเพียง 25%
อย่างไรก็ตาม ดร.กิริฎามองว่า ท่ามกลางแรงกระแทกครั้งนี้ ไทยอาจมี “จุดได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” กับบางประเทศ โดยเฉพาะจีน (ถูกเก็บภาษีนำเข้ารวม 54%) และเวียดนาม (46%) ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในกลุ่มสินค้าเทคโนโลยี เช่น ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์
นอกจากนี้ ในเอกสารประกาศภาษีของสหรัฐฯ มีข้อความชัดเจนว่า อัตราภาษีสามารถเจรจาได้ หากประเทศคู่ค้าแสดงท่าทีพร้อมจะ “ให้บางอย่างแลกเปลี่ยน” ซึ่งสำหรับไทย ดร.กิริฎามองว่ามี 3 แนวทางที่สหรัฐฯ น่าจะผลักดัน ได้แก่
โดยการเจรจาเปิดตลาด ควรเริ่มจากสินค้าที่มีผลกระทบเชิงลบน้อย หรืออาจสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางเลือกให้ผู้บริโภคไทย เช่น การเปิดตลาดไวน์คุณภาพ หรือกาแฟเฉพาะทางจากสหรัฐฯ
ดังนั้น ดร.กิริฎา จึงมองว่า แม้สถานการณ์นี้จะมาพร้อมความเสี่ยงรอบด้าน แต่ก็เปิดช่องให้ไทยได้เจรจาเชิงยุทธศาสตร์กับสหรัฐฯ โดยต้องอาศัยข้อมูล วิเคราะห์ผลกระทบรายสินค้า และเจรจาในลักษณะ “เลือกเปิดในจุดที่ไม่เสียหาย แต่ได้ภาพลักษณ์และการยอมรับเชิงนโยบาย” และไทยควรใช้สถานการณ์นี้เป็นโอกาสวางโครงสร้างการค้าใหม่ให้สมดุลยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่การรอดเฉพาะหน้า แต่เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว
ด้าน นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกแถลงการณ์ผ่านโฆษกรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ แสดงท่าทีอย่างเป็นทางการของประเทศไทยต่อกรณีสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศในอัตราขั้นต่ำ 10% โดยไทยถูกกำหนดอัตราภาษีที่ 37% ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568
นายกรัฐมนตรีระบุว่า รัฐบาลไทย ตระหนักและเข้าใจถึงแรงจูงใจของสหรัฐฯ ที่ต้องการปรับสมดุลทางการค้ากับประเทศคู่ค้าผ่านนโยบาย reciprocal tariffs ซึ่งแม้จะสร้างผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศต่างๆ แต่ไทยมองว่าเป็นโอกาสในการปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
เบื้องต้น รัฐบาลย้ำว่าได้เตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบแก่ผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มที่พึ่งพาตลาดสหรัฐฯ พร้อมกับเร่งกระจายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพมากขึ้น เพื่อไม่ให้การพึ่งพาตลาดใดตลาดหนึ่งเป็นจุดเปราะบางในระบบเศรษฐกิจไทย
นอกจากนี้ ไทยประกาศความพร้อมในการเจรจาโดยเร็วเพื่อหาทางออกร่วมกัน โดยได้จัดตั้ง “คณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐฯ” ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา และใช้เวลาตลอด 3 เดือนในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ประเมินผลกระทบ และจัดทำ “ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์” ที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้สหรัฐฯ เข้าสู่กระบวนการเจรจากับไทย
ข้อเสนอเหล่านี้จะคำนึงถึงความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของสหรัฐฯ และความเสียหายที่อาจเกิดกับเกษตรกร ผู้บริโภค และภาคธุรกิจไทย พร้อมส่งเสริมให้ไทยใช้โอกาสนี้ในการลดต้นทุนการผลิต และยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมเป้าหมาย
นายกรัฐมนตรีแสดงความมั่นใจว่า ไทยมีศักยภาพในการเป็นพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ ในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในบริบทของ “มิตรประเทศเพื่อการลงทุน” (Friend-shoring) ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ผลักดันอย่างจริงจัง
ตัวอย่างความร่วมมือที่เป็นไปได้ เช่น
รัฐบาลไทยแสดงความหวังว่า ฝ่ายสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีทรัมป์ จะพิจารณาผลกระทบในวงกว้าง และหันมาเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระยะยาว แทนการใช้มาตรการกีดกันการค้าเพียงฝ่ายเดียว