"กาแฟ" เครื่องดื่มยอดฮิต ที่ใครหลายๆขาดมันไปไม่ได้ หรืออาจจะเรียกได้ว่า กาแฟ เป็นเครื่องดื่มกู้ชีพก่อนไปทำงานในตอนเช้าของใครหลายๆคน เพราะจากมีกลิ่นที่หอม รสชาติที่อร่อย ยังทำให้ร่างกายเราตื่นตัว กระปรี้กระเปร่าพร้อมเริ่มต้นวันที่สดใสอีกด้วย
ตลาดกาแฟที่ Demand สูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉลี่ยแล้ว คนทั่วโลกดื่มกาแฟมากถึง 2.25 พันล้านแก้ว โดย 1 พันล้านคนต้องดื่มกาแฟทุกวัน สำหรับตลาดกาแฟในประเทศไทย มีมูลค่ามากถึง 42,537 ล้านบาทในปี 63 สามารถแบ่งเป็นเป็น กาแฟสด 4,119 ล้านบาท และ กาแฟสำเร็จรูป 38,418 ล้านบาท
หนึ่งในตลาดกาแฟที่มีการเติบโตสูงในไทย คือ Specialty Coffee (กาแฟพิเศษ) มีมูลค่ามากถึง 2,000 ล้านบาท ในปี 62 โดยคิดเป็น 10% ของมูลค่ากาแฟคั่วบด และแม้ว่า 2 ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนามและอินโดนิเซีย จะมีการเพาะปลูกกาแฟมากกว่าประเทศเรา แต่ประเทศไทยได้เปรียบในเชิงคุณภาพกาแฟมากกว่าปริมาณ
กาแฟพิเศษ ที่ถูกคัดสรรมาเพื่อคุณ
ด้วยกระแส Specialty Coffee กำลังเป็นที่มาแรง ผู้คนยอมจ่ายราคาแพง เพื่อแรกกับการชิมกาแฟประเภทนี้ เพราะกว่าบาร์ริสต้าจะทำกาแฟประเภทนี้ 1 แก้ว ต้องมีความพิถีพิถัน บอกเล่าตั้งแต่กรรมวิธีการผลิตกาแฟชนิดนี้ ไปจนถึงเบื้องหลังของความพิถีพิถันในการผลิต ซึ่งสามารถดึงดูดเหล่าคอกาแฟทั้งหลายที่ปรารถนาอยากชิมรสสัสผัสที่แตกต่าง และมีเอกลักษณ์ของแต่ละแก้ว ทำให้ผู้เล่นมากมายในตลาดไทยเพื่อพยายามเจาะกลุ่มฐานลูกค้าคอกาแฟที่ชองความพิเศษ และหนึ่งในนั้น คือ C.P.S COFFEE
เทรนด์ Cafe Hopping & Specialty Coffee กำลังมา
นายอภิสิทธิ์ สิงห์สัจจเทศ ผู้จัดการทั่วไป แบรนด์ CPS CHAPS และ C.P.S. COFFEE ยัสปาล กรุ๊ป กล่าวว่า ธุรกิจคาเฟ่เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงต่อเนื่อง และวัฒนธรรมคาเฟ่ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตลูกค้า จนมีการนิยามกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ว่า Cafe Hopping ซึ่งเป็นงานอดิเรกของคนที่ชอบไปร้านกาแฟเป็นประจำ ดังนั้น แนวคิดที่โดดเด่นของ C.P.S. COFFEE ทั้งเมนูกาแฟจากผู้เชี่ยวชาญ ทำเลที่ตั้งของร้าน รวมไปถึงบรรยากาศการตกแต่งร้าน ที่ลูกค้าสามารถดื่มด่ำกับกาแฟสุดพิเศษ และมีมุมถ่ายรูปเช็คอินสวยๆ
C.P.S. COFFEE (ซีพีเอส คอฟฟี่) คาเฟ่สไตล์ Specialty Coffee & Lifestyle Barได้เปิดตัวมา ตั้งแต่ปี 2562 ภายแนวคิดหลัก COFFEE, PASSION, SPECIALTY กาแฟที่สร้างสรรค์ขึ้นจากความหลงใหล และความใส่ใจในการรังสรรค์เมนู การคัดเลือกเมล็ดกาแฟ วัตถุดิบ และอุปกรณ์ ไปจนถึงความเชี่ยวชาญของบาริสต้า โดยมีการลุกการเข้าถึงลูกค้าด้วย 3 โมเดล นั้นก็คือ
1.ป็อปอัพสโตร์ : แห่งแรกที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เน้นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เข้าถึงกลุ่ม Trend Setter
2.คอฟฟี่ บาร์ : ขยายตัวไปเปิดในอาคารสำนักงาน และโครงการ Mixed Used รวมทั้งการเปิดสาขาในต่างจังหวัดเป็นครั้งแรก
3.คอฟฟี่ ทรัค : สร้างแบรนด์ให้เข้าถึงไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม และมีการบริการที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น งานคอนเสิร์ต งานเทศกาลอาหารและเครื่องดื่ม เทศกาลดนตรีและศิลปะ
ที่มา
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร