ธุรกิจการตลาด

รวมธุรกิจปิดตัวในปี 2565

25 ก.ค. 65
รวมธุรกิจปิดตัวในปี 2565
ประเทศไทยเจอวิกฤตโควิด-19 ระบาดระลอกแรกเต็มปีนับจากปี 2563 เป็นต้นมาพร้อมๆ กับหลายเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกัน รวมถึงยังมีระลอกแรกสอง สาม สี่ ห้า ตามมา จนรัฐบาลทั่วโลกไม่เว้นไทยต้องใช้นโยบายประกาศล็อกดาวน์มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตคนให้ต้องทำงานอยู่บ้าน(Work from Home) มีผลกระทบลามไปถึงภาคธุรกิจที่สายป่านไม่ได้ยาวมากเพียงพอ แม้จะกัดฟันพยายามทุกวิถีทางเพื่อปรับตัวสู้เอาตัวรอด
 
 
 
แต่ด้วยสถานการณ์ที่เหมือนธุรกิจอมโรคมายาวนาน และยังถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาต้นทุนในการทำธุรกิจที่ราคาน้้ำมัน, ก๊าซหุงต้ม, ค่าไฟฟ้า และต้นอื่นๆ จนในที่สุดไม่สามารถพยุงเอาชีวิตในวงจรธุรกิจอีกต่อไปจนในที่สุดทำให้ธุรกิจชื่อดังๆ หลายต้องปิดตัวไปในที่สุดเพียงแค่ 6-7 เดือนแรกของปีนี้ก็ล้มหายไปหลายเจ้า
 
 
SPOTLIGHT จะมาดูกันว่าปีนี้มีธุรกิจชื่อดังที่ต้องปิดตัวแล้วมีใครบ้างมีธุรกิจชื่อดังที่ต้องปิดตัวแล้วมีใครบ้างประเทศไทยเจอวิกฤตโควิด-19 ระบาดระลอกแรกเต็มปีนับจากปี 2563 เป็นต้นมาพร้อมๆ กับหลายเทศทั่วโลกที่ต้องเผชิญสถานการณ์เดียวกัน รวมถึงยังมีระลอกแรก สอง สาม สี่ ห้า หกตามมา

 


ปิดตำนานห้างไฮเอนด์กลางกรุง ‘เดอะเพนนินซูล่า พลาซ่า’

รวมธุรกิจปิดตัวในปี 2565

 

ศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ ‘เดอะเพนนินซูล่า พลาซ่า’ ตั้งอยู่บนทำเลทอง ถ.ราชดำริ ได้ปิดตัวลงตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2565 ที่ผ่านมา เพราะทางห้างฯ ได้หมดสัญญาเช่า และได้ส่งคืนให้กับสำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สินวชิราวุธวิทยาลัย โดยพื้นที่บริเวณนี้มีผู้ประกอบการชนะประมูลได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการพื้นที่ซึ่งมีแผนพัฒนาสร้างเพื่อเตรียมพัฒนาเป็นโรงแรมหรู ของกลุ่มแอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล ธุรกิจโรงแรมในเครือแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ขึ้นแทนพื้นที่เดิมที่เปิดดำเนินการมา 34 ปี 

 

"เดอะเพนนินซูล่า พลาซ่า" เป็นอดีตศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ เจ้าแรกๆ ที่นำแบรนด์เนมหรูชื่อดังจากมาเปิดร้านในไทย อาทิ แบรนด์  LOUIS VUITTON, Christian Dior, VERSACE, CELINE, LOEWE  เป็นต้น รวมทั้งยังเป็นศูนย์รวมดีไซเนอร์ไทยคุณภาพคับแก้ว และร้านเพชรชื่อดังมากมาย

 

อีกทั้งยังมี ร้านอาหารดัง “Le Jardin” (เลอ จาร์แดง) ซึ่งเป็นร้านอาหารในคอนเซ็ปต์ลอบบี้ เลานจ์ ที่ได้รับความนิยมจากบุคคลในแวดวงนักธุรกิจ และไฮโซในไทย มามากกว่า 30 ปี

 

โดยมีแลนด์มาร์คในทุกๆ ช่วงสิ้นปีในเทศกาลปีใหม่ ‘เดอะเพนนินซูล่า พลาซ่า’จะประดับประดาตกแต่งไฟเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ รวมถึงจะมีต้นคริสต์มาสขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณหน้าศูนย์การค้า ทำให้เป็นจุดสำคัญของผู้คนที่ชอบการถ่านรูปสวยๆ ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

 

‘เดอะเพนนินซูล่า พลาซ่า’ ตั้งอยู่บนที่ดิน 3 ไร่เศษ มีสำนักงานบริหารจัดการทรัพย์สิน วชิราวุธวิทยาลัย เป็นเจ้าของ และมีบริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด (LHMH) ในเครือแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นผู้เช่าพัฒนาโครงการ ซึ่งสัญญาเช่าใช้งานจะสิ้นสุดลงปลายปี 2564 แต่เจ้าของพื้นที่ได้มีการจัดประมูลใหม่ โดยได้ LHMH ผู้เช่ารายเดิมเป็นผู้ชนะการประมูล และได้สิทธิการเช่าใช้พื้นที่เป็นระยะเวลา 30 ปี  โดยตึก เพนนินซูล่า พลาซ่าเดิม จะโดนรื้อถอน จากนั้นสร้างอาคารขึ้นมาใหม่ พัฒนาเป็น โรงแรมแกรนด์ เซ็นเตอร์พอยต์ ราชดำริ 2  ซึ่ง สูง 40 ชั้น มีแผน เปิดบริการราวปี 2570 รองรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติเป็นหลัก 



ห้าง 'คลังพลาซ่า' ไปต่อไม่ไหว ขอปิดสาขาโคราช

ห้างคลังพลาซ่าปิดตัว

 

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2565 บริษัท คลังพลาซ่า จำกัด เจ้าของห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า” จ.นครราชสีมา ออกประกาศแจ้งปิดการให้บริการห้างสรรพสินค้า “คลังพลาซ่า สาขาอัษฎางค์” อย่างเป็นทางการ เป็นการปิดตำนานของห้างแห่งนี้ที่เปิดดำเนินมายาวนาน 36 ปี 

 

โดยให้เหตุว่าโดนผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยมีการชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก ประกอบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีความยากลำบากมากขึ้น จากสงครามและมาตรการคว่ำบาตรซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกในขณะนี้  

 

จากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้าเป็นอย่างมากบริษัท คลังพลาซ่า จำกัด ได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อที่จะประคับประคองสถานการณ์ แต่จากระยะเวลาที่ยาวนาน บริษัทประสบภาวะขาดทุนสะสมมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสถานการณ์อยู่ในภาวะวิกฤต ขาดสภาพคล่องทางการเงินในการดำเนินธุรกิจ

 

โดยคณะผู้บริหารได้พิจารณาเห็นว่ามีความจำเป็นต้องปิดการให้บริการห้างสรรพสินค้าคลังพลาซ่าและเลิกจ้างพนักงาน ตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป และการจ่ายค่าจ้างและชดเชย หนักงานทุกท่าน บริษัทได้มอบหมายให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นตัวแทนดำเนินการดูแลและประสานงานต่อไป ขณะที่ก่อนหน้านี้ในปี 2564 เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 'คลังพลาซ่า'  ได้ประกาศปิดให้บริการห้างสรรพสินค้า 'คลังพลาซ่า สาขา จอมสุรางค์' มาแล้วด้วยเหตุผลคล้ายกันจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นกัน

 

หลังปิดให้บริการแล้วเจ้าของคือตระกูล 'มานะศิลป์' ได้วางแผนจะเปิดให้เช่าพื้นที่อาคารคลังพลาซ่าแก่ผู้ประกอบการหรือนักลงทุน โดยจะเปิดให้เช่าจำนวน 3 ชั้น รวมพื้นที่ 8,000 ตารางเมตร หรือจะแยกเช่าพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ โดยอาคารคลังพลาซ่าเป็นทรัพย์สินสร้างบนที่ดินของตระกูลมานะศิลป์

 

โดยประวัติคลังพลาซ่า มีตระกูล 'มานะศิลป์' ชาวโคราชเป็นเจ้าของ เปิดให้บริการมาตั้งแต่รุ่นพ่อ นายไพศาล มานะศิลป์ ตั้งแต่ปี 2501 จากร้านขายอุปกรณ์การเรียนชื่อ “คลังวิทยา” ข้างวัดพายัพ พระอารามหลวง ต่อมาปี 2519 ขยายเป็น “คลังวิทยาดีพาร์ทเม้นท์สโตร์” ในฐานะห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของภาคอีสาน จนกลายมาเป็นห้างสรรพสินค้า ”คลังพลาซ่า” ตั้งอยู่ริมถนนอัษฏางค์ เมื่อปี 2529 และเพิ่มสาขา “คลังจอมสุรางค์” เยื้องลานย่าโม เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2534 และในปี 2553 ได้เพิ่มสาขา “คลังวิลล่า” เยื้องมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.) นครราชสีมา 

 




'โพสต์ทูเดย์" สื่อคุณภาพ ขอลาวงการ

ปิดโพสต์ทูเดย์

 

"โพสต์ทูเดย์" เป็นสื่อใหญ่รายล่าสุดที่ประกาศหยุดการดำเนินขอปิดตัวสื่อออนไลน์ หลังทำหน้าที่บทบาทสื่อมายาวนานเกือบ 20 ปี  โดยจะมีผลในวันที่ 30 มิ.ย. 2565 พร้อมเลิกจ้างพนักงานทั้งหมดในกองบรรณาธิการที่มีประมาณ 20 คน โดยสาเหตุคาดว่าเพราะแบกผลขาดทุนไม่ไหว ซึ่งก่อนหน้านี้มีการปิดในส่วนของสื่อหนังสือพิมพ์มาแล้ว

ประวัติ หนังสือพิมพ์ 'โพสต์ทูเดย์' ก่อกำเนิดเมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2546 เป็นสื่อในเครือของ 'บางกอกโพสต์' เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันฉบับภาษาไทย ที่ตีพิมพ์จำหน่ายในประเทศไทย ของบางกอกโพสต์ที่นำเสนอข้อมูล ข่าวสาร ทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง และไลฟ์สไตล์
 

หลังดำเนินธุรกิจหนังสือพิมพ์ มาประมาณ 17 ปี ในเดือน ก.พ. 2562 บริษัทจะหยุดดำเนินธุรกิจหนังพิมพ์ในเครือ ทั้งหนังสือพิมพ์ M2F ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรี และหยุดพิมพ์หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจภาษาไทย ภายในเดือนมี.ค.  2563 โดยโพสต์ทูเดย์จะปรับเปลี่ยนเป็นสื่อดิจิทัลอย่างเต็มตัว

หลังจากที่ 'โพสต์ทูเดย์' ปิดตัวหนังสือพิมพ์ไปเพียง 3 ปี ในสิ้นเดือน มิ.ย. 2565 ก็มาถึงคิวของสื่อออนไลน์ที่เหลือ 'โพสต์ทูเดย์' ที่กำลังจะลาวงการเพราะไม่สามารถแบกผลการขาดทุนต่อไปได้ เพราะหากย้อนไปดูเลขผลประกอบของบริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน)(POST) ซึ่งเป็นเจ้าของโพสต์ทูเดย์ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีการขาดทุนอย่างหนักมาต่อเนื่องทุกปี ตั้งแต่ที่ยังไม่มีสถานการณ์โควิด-19 ระบาดมากระทบธุรกิจ แต่เมื่อปี 2563 เป็นต้นมา โควิด-19 บุกเข้าไทยอย่างเป็นทางการ จนมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและธุรกิจของไทยอย่างหนักให้ต้องขาดทุนและปิดตัวไปหลายรายแล้วจากพิษของไวรัสร้ายตัวนี้
 
ผลประกอบการ บริษัท บางกอก โพสต์ ปี 2561-2565
ปี 2561 ขาดทุน 167.65 ล้านบาท
ปี 2562 ขาดทุน 308.76  ล้านบาท
ปี 2563 ขาดทุน 364.94 ล้านบาท 
ปี 2564 ขาดทุน108.20 ล้านบาท 
ไตรมาส 1 ปี 2565 ขาดทุน 42.72  ล้านบาท

 

แน่นอนว่าทำให้บริษัทแม่อย่าง 'บางกอก โพสต์' มีผลการขาดทุนสะสมอย่างหนักเฉียด 900 ล้านบาท จึงน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ 'โพสต์ทูเดย์' ต้องปิดตัวลงไป หลังอยู่เคียงข้างวงการสื่อของไทยมายาวนานเกือบ 20 ปี

 

 

ห้างดังเชียงใหม่ 'กาดสวนแก้ว' ขอปิดชั่วคราวแบบไม่มีกำหนด 

ปิดกาดสวนแก้ว

 

อุทยานการค้า "กาดสวนแก้ว" อ.เมืองเชียงใหม่ ห้างสรรพสินค้าชื่อดังของชาวเชียงใหม่มายาวนานครบ 30 ปี ในปี 2565 ได้ประกาศปิดบริการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป หลังต้องเผชิญสถานการณ์การระบาดของโควิดตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่การระบาดของ Covid-19 ถือได้เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อศูนย์การค้ากาดสวนแก้วเป็นอย่างมาก

แม้ศูนย์การค้าจะพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อประคับประคองให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ แต่เนื่องจากปัญหาการระบาดของ Covid-19 ยังคงยืดเยื้อทางศูนย์การค้าจึงมีความจำเป็นต้องหยุดดำเนินการเป็นการชั่วคราว เพื่อรอให้สถานการณ์ต่าง ๆ คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นซึ่งยังไม่ได้ซึ่ง "กาดสวนแก้ว" ยังไม่ได้กำหนดว่าจะหยุดดำเนินการนานแค่ไหน

'อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว' ตั้งอยู่ที่ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2535 ประกอบด้วยศูนย์การค้าสูง 10 ชั้น โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว สูง 13 ชั้น ขนาด 420 ห้อง ก่อตั้งโดย ร.ต.ท.สุชัย เก่งการค้า อดีตสถาปนิกกรมตำรวจ ที่ผันตัวมาเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บนเนื้อที่ 28 ไร่ และซื้อที่ดินเพิ่มอีก 20 ไร่ จากลูกของเจ้าพงศ์อิน
ลักษณะอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ตัวอาคารก่อด้วยอิฐสีน้ำตาลเข้ม และห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรงภาพยนตร์วิสต้า ขนาด 7 โรง และโรงละครกาดเธียเตอร์ ชั้น 5 ความจุ 1,500 ที่นั่ง

 

ส่วนห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ตัดสินใจยุบบริการต่างๆ ของสาขากาดสวนแก้ว ไปรวมกับสาขาเซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ และเปลี่ยนสาขากาดสวนแก้ว มาเป็นห้างเซ็นทรัล เอาต์เล็ท (Central Outlet) จำหน่ายสินค้าลดราคาสูงสุด 90% เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2563 เป็นต้นมา โดยที่ชั้นล่างยังเป็นท็อปส์ มาร์เก็ต เช่นเดิม

 

ขณะที่การแข่งขันของธุรกิจศูนย์การค้าใน จ.เชียงใหม่ มีความรุนแรงขึ้นคล้ายกับหลายหัวเมืองใหญ่ เพราะมีห้างใหญ่ คือ เซ็นทรัลพัฒนา เปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล เชียงใหม่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 70 ไร่ ริมถนนซูเปอร์ไฮเวย์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2556 และยังมีศูนย์การค้าเม-ญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้งเซ็นเตอร์ บริเวณสี่แยกรินคำ ถนนห้วยแก้วกับถนนซูเปอร์ไฮเวย์ ต.ช้างเผือก อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ เปิดเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2557 ของกลุ่มเอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของโรงภาพยนตร์ในเครือเอสเอฟ 
ดังนั้นคู่แข่งที่รุกขยายเข้ามาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ มากขึ้น มีรูปโฉมที่ทันสมัย ทำให้ศูนย์การค้าใหม่ได้รับความนิยมมากว่าศูนย์การการรูปแบบเดิม

 

รวมถึงประเด็นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มหนึ่งที่นิยมมาเที่ยวเชียงใหม่ก็เดินทางมาไม่ได้ โดยเฉพาะชาวจีน ยิ่งมาซ้ำเติมจนมีผลกระทบให้ธุรกิจ 'อุทยานการค้ากาดสวนแก้ว' มีผลขาดทุนจนต้องขอปิดพักชั่วคราวแบบไม่มีกำหนด

 

 

JSL ขาดทุนต่อเนื่องธุรกิจไปต่อไม่ไหว

jsl ปิดตัว

บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด JSL ออกจดหมายชี้แจงแล้ว เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 ว่า ขอ ยุติการดำเนินงานบางส่วนลงนับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2565 เป็นต้นไป  โดยอธิบายต่อว่าได้ดำเนินธุรกิจผลิตสื่อทีวี รวมถึงการสร้างบุคลากรสำหรับวงการบันเทิงทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง การรับจ้างสร้างสรรค์และผลิตงานสำหรับภาครัฐและเอกชน ติดต่อมาเป็นระยะเวลา 43 ปี ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมานั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่ออย่างมาก ทั้งการเกิดขึ้นของสถานีโทรทัศน์จำนวนมาก ทั้งผลกระทบจาก DIGITAL DISRUPTION และการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ได้รับผลกระทบอย่างมาก แม้ตลอดมาบริษัทฯ จะพยายามปรับตัวในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สามารถยืนหยัดในอุตสาหกรรมสื่อบันเทิงได้ต่อไป

 

เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จํากัด (ชื่อเดิม บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2522 โดยเริ่มต้นจากการผลิตรายการโทรทัศน์ให้แก่สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) จากนั้นบริษัทได้ขยายการดำเนินงานไปสู่การผลิตรายการละครโทรทัศน์ให้แก่สถานีโทรทัศน์ช่องอื่นๆ และซีรีส์สำหรับสถานีโทรทัศน์ชั้นนำ ถือเป็น 1 ใน 5 บริษัทผลิตรายการโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งเป็นอีเวนต์ออแกไนเซอร์ชั้นนํา

 

โดยมีรายการทีวีดัง อาทิ อาทิ รายการเจาะใจ ออกอากาศเมื่อปี 2534 และปัจจุบันออกอากาศอยู่ที่ช่อง 9 MCOT, รายการจันทร์กระพริบ ออกอากาศเมื่อปี 2532 - 2542 ทางช่อง 7, รายการ 07 โชว์ ออกอากาศเมื่อปี 2540 - 2553 ทางช่อง 7, รายการยุทธการขยับเหงือก ออกอากาศเมื่อปี 2532 - 2540 ทางช่อง 5 และรีเทิร์นอีกครั้งเมื่อปี 2562- 2563 ทางช่อง ONE 31, รายการครบเครื่องเรื่องผู้หญิง ออกอากาศเมื่อปี 2534 - 2547 ทางช่อง 7, รายการกิ๊กดู๋สงครามเพลงเงินล้าน ออกอากาศเมื่อปี 2555 - 2561 ช่อง 7 HD เป็นต้น

 

คำว่า JSL มาจากชื่อของผู้ก่อตั้งบริษัท 3 คน ได้แก่ J คือ หน่อย-จำนรรค์ อัษฎามงคล (ศิริตัน), S คือ สมพล สังขะเวส และ L คือ ต้น-ลาวัลย์ ชูพินิจ (กันชาติ) เริ่มแรกใช้บ้านพักบริเวณสนามเป้า ถนนพหลโยธิน ต่อมาย้ายมาที่ซอยอินทามระ 6 ถนนสุทธิสารวินิจฉัย และหมู่บ้านราชาวิลล่า ซอยลาดพร้าว 67 ก่อนที่จะมีสตูดิโอเป็นของตัวเอง ในซอยลาดพร้าว 107 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยในช่วงแรกดำเนินงานด้านการผลิตรายการโทรทัศน์เป็นหลัก

 

โดยตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมามีผลขาดทุนมาโดยตลอดจนล่าสุดในปี 2564 ขาดไป 57 ล้านบาท

 

 

 

"ดารุมะ ซูชิ" ขาดสภาพจนต้องปิดตัว

 

ดารุมะซูชิปิดตัว

 

บริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด วันที่ 12 ม.ค. 2559 ซึ่งปัจจุบันก็เป็นเวลากว่า 6 ปี 5 เดือนแล้ว โดยดำเนินธุรกิจในกลุ่มธุรกิจการบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหารญี่ปุ่น ในชื่อ ดารุมะ ซูชิ (Daruma Sushi) 

ธุรกิจร้านดารุมะ ซูชิ มีด้วยกันทั้งหมดสาขาทั้งหมด 27 สาขา แบ่งเป็นสาขาที่เป็นแฟรนไชส์ 20 สาขา และเบื้องต้นพบว่า เป็นสาขาของนายเมธา ชลิงสุข กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ดารุมะ ซูชิ จำกัด ประมาณ 7 สาขา คือ สาขาอ่อนนุช, สาขาอุดมสุข, สาขาสวนสยาม, สาขาเฉลิมพระเกียรติ, สาขาเมเจอร์รังสิต, สาขาเมเจอร์รัชโยธิน และสาขาพาราไดซ์

 

สำหรับการทำธุรกิจของ บอล เมธา ชลิงสุข ซีอีโอหนุ่มกับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นนั้น ในช่วงที่ผ่านมาได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีจากคออาหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะการจัดโปรโมชั่นบุฟเฟ่ต์แซลมอน ในราคาถูก ทำให้มีผู้เข้าไปใช้บริการจำนวนมาก ภายใต้สโลแกนของร้าน คือ “กินไม่อั้น ไม่ต้องจ่ายเพิ่ม”

 

มีการจัดโปรโมชั่น ราคาพิเศษ ตั้งแต่จ่ายหัวละ 299 บาท จนมาถึงหัวละ 199 บาท จนกระทั่งเกิดกรณีการขายวอยเชอร์ (e-Voucher) จำนวนมาก โดยจากการตรวจสอบพบว่า ตั้งแต่มีการเปิดขาย e-Voucher มาตั้งแต่ปีที่แล้วเกือบ 6 แสนใบ ใช้ไปแล้วประมาณ 4 แสนใบ เหลือที่ยังไม่ได้ใช้ทั้งหมด 1.29 แสนใบ คิดเป็นจำนวนผู้ถือ e-Voucher ซึ่งเป็นผู้เสียหายที่ยังไม่ได้ใช้ประมาณ 3.3 หมื่นราย เพราะร้าน 'ดารุมะ ซูชิ' เริ่มทยอยประกาศปิดสาขาตั้งแต่วันที่ 17-18 มิ.ย. 2565 

 

ส่งผลให้กลุ่มผู้เสียหายเริ่มมีการรวมตัวกันใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเพื่อฟ้องผู้เกี่ยวข้อง  ไม่นาน "เมธา ชลิงสุข หรือบอล" CEO หนุ่ม หายตัวไป และพบข้อมูลเจ้าของบริษัทเองค้างจ่ายค่าปลาแซลมอนให้กับซัพพลายเออร์ 30 ล้านบาท  จากนั้นในวันที่ 22 มิ.ย.2565 เมธา ชลิงสุขได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำตวจจับกุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิ 

 

พร้อมทั้งยอมรับว่าทำธุรกิจแแล้วเกิดปัญหาสภาพคล่อง เพราะทำการขายคูปองออนไลน์ในราคา 199 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าความเป็นจริง เพื่อให้มีเงินเข้ามาในระบบ นำไปหมุนต่อไปได้ แต่ในภายหลังไม่สามารถดำเนินกิจการต่อได้ จึงตัดสินใจหลบหนีไปสหรัฐอเมริกา จนสร้างความเสียมูลค่ามากว่า 100 ล้านบาท 

 

ผลประกอบการ 'ดารุมะ ซูชิ'

  • ปี 2560 กำไร 674,204 บาท
  • ปี 2561 กำไร 698,721 บาท
  • ปี 2562 กำไร 1 ล้านบาท
  • ปี 2563 กำไร 1.7 ล้านบาท
  • ปี 2564 กำไร 1.2 ล้านบาท

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT