ในสังคม ปัจจุบันที่ผู้คนนิยมมีลูกน้อยลง แต่งงานกับเพศเดียว หรืออยู่เป็นโสดมากขึ้น แต่เพื่อเติมความอบอุ่นให้กับครอบครัว หลายบ้านจึงนิยมรับน้องหมา น้องแมว เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของบ้าน โดยไม่ใช่แค่พาเข้ามาในฐานะสัตว์เลี้ยงเท่านั้น แต่เป็นในฐานะ ‘สมาชิกคนหนึ่ง’ ของบ้าน เกิดเป็นเทรนด์ ‘Pet Humanization’ หรือการปรนนิบัติพัดวีน้องหมา น้องแมวอย่างดี ยอมเป็นทาสอย่างเต็มใจ สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับตลาด ‘Pet Economy’ ทั้งอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ Petcare รวมไปถึงอาหารสัตว์ด้วย
istock-1339251741.jpg)
Kantar บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลก เผยผลสำรวจเกี่ยวกับอาหารสัตว์ในประเทศไทย พบว่าตลาดเติบโตอย่างแข็งแกร่งในหลายมิติ มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ผู้ซื้อมากขึ้น และผู้เล่นที่มากขึ้น
ด้านผู้บริโภค มีพฤติกรรมที่ค่อนข้างคล้ายกับครัวเรือนที่มีเด็ก คือ ต้องการสรรหาสินค้าที่ดีที่สุดให้กับเพื่อนสี่ขา สร้างโอกาสการเติบโจให้กับสําหรับแบรนด์ใหญ่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมอาหาร สี่สามารถต่อยอดจากการผลิตอาหารสำหรับมนุษย์ มาสู่อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้อย่างไม่ยากเย็น และเป็นวิธีหนึ่งในการบริหารจัดการวัตถุที่มาจากกระบวนการผลิตอาหาร ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนอีกด้วย
istock-1288930323.jpg)
4 เทรนด์ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงที่ธุรกิจ - ทาสน้องหมา น้องแมว ต้องรู้
- จำนวนทาสแมวโตแรงแซงทาสน้องหมาแล้ว
จากข้อมูลของ Kantar Worldpanel ในประเทศไทย ที่ได้รวบรวมโปรไฟล์ของแต่ละครัวเรือนรวมไปถึงจํานวนสมาชิก รายได้ครัวเรือน การเป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยง และไม่ว่าจะมีแมวหรือสุนัขหรือทั้งสองอย่าง พบว่าจํานวนครัวเรือนที่เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 กับไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ส่วนในระดับภูมิภาคนั้น จํานวนครัวเรือนที่มีสัตว์เลี้ยงในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เติบโตเร็วกว่าในพื้นที่อื่นๆ สำหรับการใช้จ่ายในการซื้ออาหารสัตว์นั้น เหล่าทาสแมวซื้ออาหารโดยเฉลี่ย 15.25 ครั้งต่อปี มียอดซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 125.4 บาท/ครั้ง ด้านทาสหมานั้นซื้ออาหารโดยเฉลี่ย 7.73 ครั้งต่อปี มียอดซื้อเฉลี่ยอยู่ที่ 184.6 บาท/ครั้ง

- ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงมีมูลค่ายอดขายโดยรวมเติบโตขึ้น
แม้ว่าจะมีครัวเรือนที่มีสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันมีมีจำนวนครัวเรือนน้อยกว่าครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงแบบบรรจุหีบห่อ ทําให้ยังมีช่องว่างของโอกาสที่ธุรกิจจะเข้าสู่ตลาด ในด้านอาหารแมว มีการแข่งขันสูงเนื่องจากมีการแย่งชิงส่วนแบ่ง โดย 8 แบรนด์ ครองส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 80% ในขณะที่อาหารสุนัขมีผู้เล่นหลักอยู่ 5 ราย โดยเจ้าของน้องแมวแมวยังพร้อมเปย์ ซื้อสินค้าแบรนด์มากกว่าเจ้าของน้องหมาอีกด้วย
ในขณะที่แบรนด์หน้าใหม่จํานวนมากเกิดขึ้น ผู้บริโภคยังคงซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงโดยเฉลี่ย 2 แบรนด์ต่อปี การเติบโตของผู้ซื้อส่วนใหญ่มาจากอาหารแมว ในขณะที่อาหารสุนัขนั้นฐานผู้ซื้อกําลังหดตัว อย่างไรก็ตามมูลค่ายอดขายยังคงเพิ่มขึ้นในตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงโดยรวม

- เทรนด์ Premiumization กับแบรนด์อาหารสุนัขและอาหารแมว
อาหารแห้งกำลังครองตลาด ในขณะที่อาหารแมวแบบเปียกมียอดขายมากกว่าอาหารสุนัขแบบเปียก แต่สัดส่วนคงยังน้อยกว่า 15% อย่างไรก็ตาม อาหารแมวแบบเปียกนั้นเติบโตเร็วกว่าอาหารแห้ง ซึ่งบ่งชี้ว่าแบรนด์ควรใส่ใจกับสินค้ารูปแบบนี้ ส่วนตลาดอาหารสัตว์ในระดับพรีเมียมนั้นมีการเติบโตที่น่าสนใจ โดยกลุ่มพรีเมียมและซูปอร์พรีเมียมนั้นเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุด ในขณะที่อาหารรูปแบบตักกลับเริ่มเสื่อมความนิยม โดยผู้บริโภคหันไปใช้รูปแบบบรรจุภัณฑ์แทน
- ช่องทางการจำหน่ายผ่าน Hypermarket และ Convenience Store กำลังเติบโต ออนไลน์น่าจับตามอง
Pet Shop และ ร้านของชำ เป็นช่องทางสำคัญสําหรับอาหารสัตว์เลี้ยง โดยครองส่วนแบ่งมูลค่ายอดขายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Modern Trade โดยเฉพาะ Hypermarket และ Convenience Store กําลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ช่องทางออนไลน์ก็มีความสําคัญเพิ่มขึ้นเช่นกัน
istock-1164114777(1).jpg)
โดยผู้ซื้อมักจะเลือกช่องทางนี้เมื่อต้องการซื้ออาหารสัตว์เก็บไว้ในปริมาณมาก สะท้อนให้เห็นว่า ในการเข้าสู่ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย แบรนด์ต่างๆ จะต้องเตรียมพร้อมสําหรับการจัดจําหน่ายทั้งใน Modern Trade รวมไปถึง Ecommerce และช่องทางการค้าแบบดั้งเดิม
ที่มา : Kantar