Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

8 ธ.ค. 66
18:32 น.
|
15K
แชร์

อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ โดยล่าสุดมีบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน 5 แห่ง ประกาศลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มูลค่ารวมกว่า 6 หมื่นล้านบาท 

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้านบาท

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

จากกระแสงาน Motor Expo 2023 ที่มียอดการจองรถยนต์ไฟฟ้า (EV Car) หลากหลายแบรนด์จากจีนก้าวขึ้นมาครองใจคนไทย ที่เวลานี้สามารถทำยอดขายได้หลายพันคัน ทำให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทย ณ ตอนนี้อยู่ในช่วงที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ  สอดคล้องกับ ทาง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ที่กล่าวว่า เวลานี้การแข่งขันในตลาดรถยนต์ EV (Electric Vehicle : EV) ทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหลายรายต่างปรับลดราคาขายลงเฉลี่ย 2-10% เพื่อกระตุ้นยอดขาย ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าเร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและอาจช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหากเทียบกับค่าน้ำมัน รวมถึงการซ่อมบำรุง รถ EV จึงกลายเป็นตัวเลือกสำหรับผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ  

อัพเดทยอดจองรถในงานมอเตอร์ เอ็กซ์โปร์ 2023 กดที่ลิงก์นี้

 

การลงทุนรถยนต์ EV ในไทยของค่ายรถจีน

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

ด้านการลงทุนรถยนต์ EV ในไทยของค่ายรถจีนในปัจจุบันยังน้อย หากเทียบกับฝั่งญี่ปุ่นที่ตั้งฐานการผลิตรถยนต์ในอดีต แต่อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังมีความน่าสนใจในการตั้งฐานการผลิตรถยนต์ EV ในสายตานักลงทุนจีนอยู่ โดยการลงทุนรถยนต์ EV ในไทยมีส่วนช่วยกระจายความเสี่ยงจากประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เลี่ยงการแข่งขันใน ตลาดรถยนต์ EV ในจีนที่รุนแรง อีกทั้งยังสามารถต่อยอดห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยที่แข็งแกร่ง สำหรับ  5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน ที่ตั้งโรงงานในไทยมีดังนี้



BYD Company

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

ก่อตั้งขึ้นในปี 1995 เพื่อผลิตแบตเตอร์รี่ ทำให้บริษัทมีความโดดเด่นเรื่อง Blade Battery ซึ่งเป็นแบตเตอร์รี่ที่ปลอดภัยที่สุดในตอนนี้  โดยบริษัท BYD เป็นรายแรกที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้ลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย โดยบริษัทวางแผนลงทุนในไทยมูลค่า 20,000 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ จังหวัดระยอง 36 บนพื้นที่ 600 ไร่  คาดเริ่มผลิตในปี 2567 ด้วยกำลังผลิต 150,000 คัน/ปี เพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนและยุโรป

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปีของ บริษัท BYD จำกัด (มหาชน) 

  • ปี 2563  มีรายได้รวม 153.47 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 4.23 พันล้านหยวน 
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 216.14 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 3.05 พันล้านหยวน 
  • ปี 2565  มีรายได้รวม 424.06 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 16.62 พันล้านหยวน 
  • 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้รวม 422.27 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 21,36 พันล้านหยวน  

 

GWM [Great Wall Motor]

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

ก่อตั้งขึ้นในปี 1984 บริษัทมีความเชี่ยวชาญในการทำรถยนต์ ปิกอัพและเอสยูวี ภายใต้แบรนด์ Haval และ รถไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ Ora โดยบริษัทได้เข้ามาใช้โรงงานของ General Motors (Chevrolet) และมีแผนลงทุนทั้งหมด 22,600 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก มาบตาพุด จังหวัดระยอง ครอบคลุมพื้นที่ 412 ไร่ มีศักยภาพการผลิตแบบเต็มกำลังอยู่ที่ 80,000 คันต่อปี และจะเป็นฐานการผลิตหลักสำหรับรถยนต์พวงมาลัยขวาโดยเฉพาะรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (xEV) ของภูมิภาคอาเซียน  นอกจากนี้โงงานนี้ยังเป็นฐานการผลิตอัจฉริยะเต็มรูปแบบแห่งที่สอง นอกประเทศจีนของ เกรท วอลล์ มอเตอร์ อีกด้วย

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปีของ บริษัท Great Wall Motor จำกัด (มหาชน)

  • ปี 2563  มีรายได้รวม 103.31 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 5.36 พันล้านหยวน 
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 136.40 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 6.73 พันล้านหยวน 
  • ปี 2565  มีรายได้รวม 137.34 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 8.27 พันล้านหยวน 
  • 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้รวม 119.5 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 4.99 พันล้านหยวน  

 

Changan [Chong Qing Changan]

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

ก่อตั้งขึ้นในปี 1862 บริษัทผลิตและจำหน่ายรถยนต์โดยสารไปถึงรถบรรทุกเชิงพาณิชย์ Changjiang Type 46 เป็นรถยนต์คันแรกที่ผลิตโดยประเทศจีน โดยบริษัทมีแผนลงทุนสร้างโรงงานในเฟสแรกจำนวน 8,800 ล้านบาท  ล่าสุด ฉางอาน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากจีน ประกาศรุกตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเต็มตัว ด้วยการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่นแรก ได้แก่ Deepal L07 และ Deepal S07 อย่างเป็นทางการที่งานมอเตอร์ เอ็กซ์โป 2023

นอกจากนี้ ฉางอานยังได้เริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแห่งแรกในประเทศไทย ที่จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด บนพื้นที่กว่า 1,500 ไร่ โรงงานแห่งนี้จะรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าทุกขั้นตอน ตั้งแต่งานพ่นสี ประกอบตัวถัง ประกอบเครื่องยนต์ ประกอบแบตเตอรี่ ไปจนถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ

ฉางอานตั้งเป้าที่จะผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่โรงงานแห่งนี้เพื่อจำหน่ายในภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด รวมถึงตลาดรถยนต์พวงมาลัยขวาทั่วโลก โดยในช่วงระยะแรก ภายในต้นปี 2568 คาดว่าโรงงานแห่งนี้จะมีกำลังการผลิตรถยนต์ที่ 100,000 คันต่อปี

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปีของ บริษัท Chong Qing Changan จำกัด (มหาชน)

  • ปี 2563  มีรายได้รวม 84.57 พันล้านหยวน กำไรสุทธิ 3.32 พันล้านหยวน 
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 105.14 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 3.55 พันล้านหยวน 
  • ปี 2565  มีรายได้รวม 121.25 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 7.80 พันล้านหยวน 
  • 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้รวม 108.21 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 9.88 พันล้านหยวน  

 

GAC AION [Guangzhou Automobile Group]

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

ก่อตั้งขึ้นในปี 1954 เพื่อเป็นโรงงานสำหรับซ่อมรถบัสสาธารณะของประเทศจีน และได้ผลิตรถยนต์ภายใต้แบรนด์ GAC ในปี 2007 เพื่อสำหรับในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก และบริษัทได้มีแผนลงทุนสร้างโรงงานในไทยมูลค่า 6,000 ล้านบาท ตัวโรงงานตั้งอยู่ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 และจะเรื่มผลิตได้ในเดือน มิ.ย. 2567 เฟสแรกจะเป็นการประกอบก่อน สำหรับเป้าหมายยอดขายภายในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 3,000 คัน

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปีของ บริษัท Guangzhou Automobile Group จำกัด (มหาชน)

  • ปี 2563  มีรายได้รวม 63.16 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 5.97 พันล้านหยวน 
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 75.68 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 7.33 พันล้านหยวน 
  • ปี 2565  มีรายได้รวม 110.01 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 8.07 พันล้านหยวน 
  • 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้รวม 98.18 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 4.51 พันล้านหยวน  

 

SAIC Motor (MG)

5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน

บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1955 ด้วยการเป็นบริษัทประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ จากนั้นบริษัทได้มีความรวมมือกับบริษัทต่างๆเพื่อประกอบรถยนต์ให้กับบริษัทต่างๆ จนในปี 2006 บริษัทได้ผลิตรถยนต์แบรนด์ตัวเองขึ้นมา และในปี 2013 บริษัทได้จับมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อผลิตรถยนต์ ซึ่งตอนนี้บริษัทได้ลงทุนไปแล้ว 10,000 ล้านบาท และกำลังเพิ่มอีก 500 ล้านบาท โดยโรงงานตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 2 จังหวัดชลบุรี บนพื้นที่กว่า 437.5 ไร่ มีกำลังการผลิตสูงสุดอยู่ที่ 100,000 คันต่อปี ปัจจุบันรถยนต์ MG วิ่งในท้องถนนในปีะเทศไทยกว่า 180,000 คัน รวมถึง MG เป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มีปริมาณการถือครองสูงสุด และเป็นแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าที่มีความหลากหลายที่สุดในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย

ผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปีของ บริษัท SAIC Motor Corp จำกัด (มหาชน)

  • ปี 2563  มีรายได้รวม 742.13 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 20.43 พันล้านหยวน 
  • ปี 2564 มีรายได้รวม 779.84 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 24.53 พันล้านหยวน 
  • ปี 2565  มีรายได้รวม 774.06 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 16.11 พันล้านหยวน 
  • 9 เดือนแรกของปี 2566 มีรายได้รวม 517.35 พันล้านหยวน  กำไรสุทธิ 11.4 พันล้านหยวน  

การเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนในไทย สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทยที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รับอานิสงส์มาตรการสนับสนุนรถพลังงานไฟฟ้าและราคาน้ำมันแพง

 

ที่มา investing, ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี และ Krungsri Securities

แชร์
5 บริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจีน ที่ทุ่มทุนตั้งโรงงานผลิตในไทยกว่า 67,900 ล้าน