รู้จัก CRC
บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC คือ ธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของไทย ภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล โดยใช้เครื่องหมายทางการค้าหลักคือ เซ็นทรัล (Central) ผ่านรูปแบบและช่องทางหลากหลาย (Multi-format and Multi-category) เจาะตลาด 3 ประเทศ ทั้งในประเทศไทย อิตาลี และเวียดนาม
CRC แบ่งเป็นธุรกิจหลักเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มแฟชั่น
: จะมีการพัฒนาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล แฟล็กชิปสโตร์ สาขาชิดลม สู่การเป็น World Class Luxury Destination รวมถึงการขยายสาขาเพิ่ม 2 แห่ง พร้อมรีโนเวทและอัพเกรดห้างอีก 4 แห่ง ตลอดจนมีแผนเพิ่มแบรนด์ชั้นนำระดับโลก และนำแบรนด์ในไทยขยายไปยังเวียดนาม
กลุ่มฟู้ด
: เดินหน้าขยาย GO Wholesale อีก 7 สาขา เพื่อให้เป็นจุดหมายใหม่ The New Choice For All สำหรับผู้ประกอบการทุกคน ตั้งเป้าขยาย 40 สาขาภายใน 5 ปี ก้าวขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของ Omni B2B ในกลุ่ม HoReCa นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายสาขา Tops รวม 10 สาขาในไทย ส่วนเวียดนามมีแผนเปิดไฮเปอร์มาร์เก็ต GO! 3 สาขา และ go! (มินิ โก!) อีก 9 สาขา ซึ่งถือเป็น Proven Format ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
กลุ่มฮาร์ดไลน์
: จะขยายสาขาไทวัสดุ 9 สาขา พร้อมรีโนเวทอีก 4 สาขา และได้ทรานส์ฟอร์มเหงียนคิมในเวียดนามให้สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น
กลุ่มพร็อพเพอร์ตี้
: ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์ มีการพัฒนาและปรับปรุงสาขาอย่างต่อเนื่อง ส่วนศูนย์การค้า GO! ในเวียดนาม มีแผนขยายอีก 3 สาขา โดยตั้งเป้าปิดปี 67 ด้วยจำนวน 42 สาขา ครอบคลุม 42 จังหวัด จาก 63 จังหวัดทั่วประเทศ
เจาะกลยุทธ์ แผนการดำเนินงาน CRC 5 ปี
- ปี 66 CRC ได้รับเลือกเป็นองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนแห่งเอเชีย โดยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ DJSI
- ได้รับผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ประจำปี66 ในระดับ "AAA" ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดของไทย จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ทำให้เซ็นทรัล รีเทล ประสบผลสำเร็จและสามารถครองความเป็นผู้นำในทุกกลุ่มธุรกิจ โดยในปี 67 นี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้วางกลยุทธ์บนคอนเซ็ปต์ของ Leading Excellence and Advancing Sustainability คือ การบริหารธุรกิจทุกกลุ่มของเซ็นทรัล รีเทล ตอกย้ำการเป็นเบอร์ 1 ด้วยผลประกอบการและผลการดำเนินงานที่ยอดเยี่ยม (Excellence Performance) ในทุกมิติ รวมทั้งมีการวางกลยุทธ์เรื่องการสร้างความยั่งยืน ให้เข้มข้นไปอีกขั้น (Advance Sustainability)”
นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โลกของเราเจอกับกระแส Disruption จากการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Generative AI หรือ Climate Change ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีวิกฤตโรคระบาดของโควิด -19 ที่ช่วยเป็นตัวเร่งให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์เพื่อสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง โดยผสมผสานช่องทางการสื่อสารเหล่านั้นทั้งออนไลน์ (Online) และการขายหน้าร้าน (Offline) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอย่างชาญฉลาดและไร้รอยต่อ อย่าง Omni Channel และพร้อมขยายอีโคซิสเต็มจาก B2C สู่ B2B อย่างเต็มรูปแบบ เดินหน้า Scale up อย่างต่อเนื่อง
โดยกลยุทธ์ CRC OMNI-Intelligence จะเป็นแผนวิสัยทัศน์ 5 ปีเดินหน้าสู่ The Next Era ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในทุกกระบวนการของการทำธุรกิจ เช่น การนำ AI เข้ามาผนวกกับความชำนาญของพนักงานเพื่อให้การทำงานของ CRC รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ตั้งเป้ารายได้เติบโต 9-11 %
- กำไรก่อนหักภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ย (EBITDA) เติบโต 15-17%
- ใช้งบลงทุน 22,000 – 24,000 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน บริษัทยังคงมีการยกระดับความแข็งแกร่งของธุรกิจหลักใน Multi-Format, Multi-Category และ Multi-Market โดยมุ่งเน้นธุรกิจที่มีการเติบโตสูง รวมถึงการยกระดับ Synergy และมองหาโอกาสทำ M&A เพื่อเพิ่ม Value ในระยะยาวให้กับธุรกิจ ประกอบกับการทำให้สถานภาพทางการเงินมีความแข็งแกร่ง และมีการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น และมีความยืดหยุ่นทางด้านการเงิน บนหลักการบริหาร 3C (Cash, Cost, Capex)
มาตรการ Easy e-Receipt ดันยอดขาย CRC
หลังจากรัฐบาลออกโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าและบริการมาใช้หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุด อย่าง Easy e-Receipt
ทำให้แนวโน้มยอดขายในไตรมาส 1/67 เติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากลูกค้าต่างกล้าเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในสาขาต่างของ CRC ทำ Transaction และขอใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น (CRC) ได้แสดงความคิดเห็นว่า
“รัฐบาลยังสามารถออกมาตรการอื่นๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จากการดึงกำลังซื้อของกลุ่มกำลังซื้อสูงออกมาได้อีก รวมถึงแนวทางต่างๆที่สามารถผลักดันให้ยอดการใช้จ่ายต่อหัว (Spending) ของนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการที่แก้กฎหมายเกี่ยวกับการคิดภาษีบางประเภท เพื่อทำให้สินค้ามีราคาถูกลง หรือการให้เขตพื้นที่พิเศษปลอดภาษีเพิ่มเขึ้นเพื่อทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าช็อปปิ้งในประเทศไทยมากขึ้น”
นอกจากนี้ นายญนน์ ยังสนับสนุนแนวความคิดของคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย
- ขอให้ภาครัฐพิจารณาทบทวนการยกเว้นบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ที่มียอดไม่เกิน 1,500 บาท เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้ประกอบการไทย
- ขอให้ทบทวนนโยบายและเงื่อนไขในการใช้สิทธิประโยชน์ใน Free Trade Zone
- ขอให้ออกมาตรการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ เช่น การนำมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนตลาด (Anti-Circumvention : AC) หรือการเพิ่มความเข้มงวดการตรวจจับสินค้าที่นำเข้าผ่านด่านศุลกากร
- ขอให้เร่งออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้ครอบคลุม เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการต้องเผชิญกับสินค้าราคาถูกจากจีนทะลักเข้ามามาก