Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ยอดขายร้านค้าปลีก ปี 2568 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี คนไทยเลือกซื้อของที่จำเป็น
โดย : กองบรรณาธิการ SPOTLIGHT

ยอดขายร้านค้าปลีก ปี 2568 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี คนไทยเลือกซื้อของที่จำเป็น

21 ก.พ. 68
14:13 น.
|
318
แชร์

บรรยากาศของเศรษฐกิจไทยในช่วงต้นปีดูเหมือนจะยังไม่คึกคักอย่างที่คาด แม้ว่าจะมีมาตรการหนุนจากภาครัฐหลายมาตรการทั้ง Easy E-Receipt และการแจกเงินเฟส 3 Digital Wallet ข้อมูลจากหลายสำนักวิจัยด้านเศรษฐกิจมีข้อมูลตรงกันว่า มาตรการรัฐมีผลต่อเศรษฐกิจไม่มากนัก

จึงไม่แปลกใจหากวันนี้ร้านค้าของคุณจะมียอดขายที่ลดลงเพราะข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ปี 2568 นี้ ยอดขายของร้านค้าปลีกจะขยายตัวต่ำสุดในรอบ 4 ปี หรือนับแต่ปี 2564 เลยทีเดียว 

โดยมูลค่ายอดขายของธุรกิจค้าปลีกอยู่ที่ 4.25 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.0% ซึ่งชะลอลงจากปีก่อน และต่ำสุดในรอบ 4 ปี โดยมาจากหลายปัจจัยเสี่ยง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายลงจากช่วงปลายปีที่เป็นเทศกาลปีใหม่ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่ฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับเสี่ยงต่อสุขภาพ

ขณะเดียวกันหากประเมินในช่วงที่เหลือของปี 2568 ยังไม่มีปัจจัยหนุนที่ชัดเจนต่อยอดขายและความเชื่อมั่นของธุรกิจค้าปลีก ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูง และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคยังต้องวางแผนใช้จ่ายอย่างรัดกุม รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงต่อเนื่องในฝั่งผู้ประกอบการ ทั้งกับคู่แข่งในประเทศและต่างประเทศผ่านสินค้านำเข้า 

อย่างไรก็ตามภาครัฐฯมีมาตรการออกมากระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน  เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt (E-Tax) หรือการแจกเงินเฟส 3 (Digital Wallet) แต่ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ยังไม่ได้ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยได้มากนัก แต่อาจหนุนยอดขาย Modern Trade ได้บางส่วน และบางกลุ่มสินค้า

มาตรการลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt 

หนุนยอดขายบางส่วนให้กับค้าปลีก Modern Trade แต่ภาพรวมน่าจะกระตุ้นการใช้จ่ายได้น้อยกว่าปีก่อน โดยเฉพาะเงื่อนไขของการใช้จ่ายกลุ่ม 20,000 บาท ในหมวดสินค้า OTOP หรือผ่านร้านค้าวิสาหกิจชุมชน ที่อาจจะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงและเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ทั้งนี้ สินค้าที่จะได้รับอานิสงส์ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาหารและของใช้ส่วนตัวที่เป็นสินค้าจำเป็น รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมือสื่อสาร ที่ผู้บริโภคมีแผนที่จะซื้อ/เปลี่ยนรุ่นใหม่

มาตรการแจกเงินเฟส 3 (Digital Wallet)

แม้จะช่วยหนุนยอดขายค้าปลีกช่วงปลายไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ แต่คาดว่า ผู้บริโภคน่าจะนำเงินดิจิทัลที่ได้จากภาครัฐมาใช้จ่ายซื้อสินค้าแทนเงินของตัวเอง จึงทำให้ในภาพรวมของยอดขายค้าปลีกอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้จ่ายสินค้าเหล่านี้อยู่แล้ว โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร เครื่องดื่ม และของใช้ส่วนตัว แต่ทั้งนี้ คงต้องติดตามปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะความ

Modern Trade ได้อานิงส์จากมาตรการรัฐแตกต่างกัน

สำหรับนิยามของ  Modern Trade หรือ ค้าปลีกสมัยใหม่ หมายถึง ผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ที่มีการดำเนินธุรกิจมากกว่า 1 สาขา ในหมวดห้างสรรพสินค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น สุขภาพและความงาม เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ยอดขาย Modern Trade ในปี 2568 โต 4.8% แต่รายได้ของผู้ประกอบการแต่ละ Segment จะฟื้นตัวต่างกัน

-กลุ่มที่ดีขึ้นกว่าช่วงโควิด: ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ซูเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากเน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

-กลุ่มที่ทยอยฟื้นตัวแต่ยังไม่กลับไปเท่ากับช่วงก่อนโควิด: ร้านขายปลีกเสื้อผ้า/รองเท้า ร้านขายปลีกเฟอร์นิเจอร์ และห้างสรรพสินค้า เนื่องจากจำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่ผู้บริโภคสามารถเลื่อนการตัดสินใจซื้อไปก่อนได้

ส่วนสรุปตัวเลขยอดขายของธุรกิจค้าปลีกปี 2567 มีมูลค่าราว 4.12 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.8% ต่ำกว่าที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ที่ 4.0% เล็กน้อย โดยในไตรมาส 4 ยอดขายเพิ่มขึ้น 3.8% (YoY) ต่ำกว่าที่คาดเล็กน้อย หลักๆ เป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ฟื้นตัวช้า และผลของเหตุการณ์น้ำท่วมที่รุนแรงในหลายพื้นที่ ทำให้ได้รับความเสียหาย และผู้บริโภคอาจมีการใช้จ่ายอย่างประหยัด จึงทำให้ทั้งปี 2567 ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกเติบโต 3.8%

ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

แชร์
ยอดขายร้านค้าปลีก ปี 2568 ต่ำสุดในรอบ 4 ปี คนไทยเลือกซื้อของที่จำเป็น