Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
เงินบาทแข็งทำพิษ! เอสซีจี กำไรลด 80% แก้เกมลดต้นทุน ปิดกิจการไม่ทำกำไร
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

เงินบาทแข็งทำพิษ! เอสซีจี กำไรลด 80% แก้เกมลดต้นทุน ปิดกิจการไม่ทำกำไร

1 พ.ย. 67
17:40 น.
|
1.1K
แชร์

ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ได้เริ่งส่งพิษให้กับผู้ประกอบการไทย ทำให้มูลค่าสินค้าลดลง ส่วนแบ่งกำไรที่เคยได้ กลับหายไป แล้วจะมีสักกี่รายที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทบ้าง?

บทความนี้ SPOTLIGHT จะมาพาดูภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง บริษัทขนาดใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น อย่างบริษัทเอสซีจี ที่ผลประกอบการในไตรมาส 3 ปี 2567 ร่วงดิ่งลงกว่า 80% และ 9 เดือน ร่วงลงกว่า 70% และเอสซีจีจะปรับตัวกับเรื่องนี้อย่างไร? เรามาดกูกัน

เงินบาทแข็งทำพิษ! เอสซีจี กำไรร่วงดิ่งกว่า 80% แก้เกมลดต้นทุน ปิดกิจการไม่ทำกำไร

ผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 กำไรร่วง 81%

476810

เอสซีจีมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 721 ล้านบาท ลดลง 81% จากไตรมาสก่อน ซึ่งรวมรายการเงินสดที่ได้จากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหรือ Interest Rate Swap (IRS) มูลค่า 2,183 ล้านบาท จาก เอสซีจี เคมิคอลส์  เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่า 

โดยค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นนั้น ได้ส่งผลให้มีการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลงและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลงประกอบกับไตรมาสก่อนเป็นช่วงที่มีรายได้เงินปันผลรับจากการลงทุนในธุรกิจอื่น 

ทั้งนี้ หากไม่รวม IRS ขาดทุนสำหรับงวดจะเท่ากับ 1,462 ล้านบาท สำหรับรายได้จากการขายอยู่ที่ 128,199  ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน  เนื่องจาก เอสซีจี เคมิคอลส์ มีปริมาณขายเพิ่มขึ้นชดเชยกับยอดขายที่ลดลงของเอสซีจีพี ในขณะที่ EBITDA เท่ากับ 9,879 ล้านบาท ลดลง 39% จากไตรมาสก่อน 

ผลประกอบการใน 9 เดือนของปี 2567 

205949

เอสซีจีมีรายได้จากการขายอยู่ในระดับเดียวกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 380,660 ล้านบาท เป็นผลมาจากปริมาณขายของเอสซีจี เคมิคอลส์ และเอสซีจีพีที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ยอดขายกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับซีเมนต์และการก่อสร้างลดลง 

ส่วน EBITDA ลดลง 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 38,768  ล้านบาท กำไรสำหรับงวดและกำไรที่ไม่รวมรายการพิเศษ  (Profit excluding extra items) เท่ากับ 6,854 ล้านบาท ลดลง 75% และ 46% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องโรงงานปิโตรเคมี Long Son ที่ประเทศเวียดนาม (ค่าใช้จ่ายนี้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการเดินเครื่องที่เป็นเงินสดและค่าเสื่อมราคาที่ไม่เป็นเงินสด) ประกอบกับส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ลดลง

สินทรัพย์รวมของเอสซีจี ณ วันที่ 30 กันยายน 2567 มีมูลค่า 867,046 ล้านบาท โดยร้อยละ 45 เป็นสินทรัพย์ในอาเซียน (นอกเหนือจากไทย)

สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2567 นวัตกรรม สินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High-Value Added Products & Services-HVA)
มียอดขาย 115,712 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39 ของยอดขายรวม และสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม SCG Green Choice มียอดขาย 207,113 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54 ของยอดขายรวม 

มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ รวมส่งออกจากไทย ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 ทั้งสิ้น 169,682 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 45 ของยอดขายรวม 

ผลประกอบการแยกตามรายธุรกิจ 

  • เอสซีจี เคมิคอลล์ (เอสซีจีซี) ไตรมาส 3 ปี 2567 มีรายได้จากการขาย 53,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากปริมาณขายเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของ EBITDA อยู่ที่ 1,540 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50 จากไตรมาสก่อน EBITDA from Operations อยู่ที่ 1,340 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน ขาดทุนสำหรับงวดเท่ากับ 1,480 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากไตรมาสก่อน จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง ประกอบกับไตรมาสนี้รับรู้ขาดทุนจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือ 1,302 ล้านบาท
    เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากราคาขายสินค้าปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ EBITDA ลดลงร้อยละ 46 และ EBITDA from Operations ลดลงร้อยละ 51 ขาดทุนสำหรับงวดเพิ่มขึ้น 2,532 ล้านบาท จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าและจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง  
  • เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ รายได้จากการขายในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เท่ากับ 20,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน จากการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่สูงขึ้นจากไตรมาสก่อน รวมถึงการทำการตลาดปูนซีเมนต์คาร์บอนต่ำมากขึ้น ในขณะที่ EBITDA เท่ากับ 2,479 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสำหรับงวดอยู่ที่ 225 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 71 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากการซ่อมแซมเครื่องจักรตามฤดูกาล เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้จากการขายลดลงร้อยละ 3 จากการเบิกจ่ายงบประมาณรัฐที่ล่าช้าในขณะที่ EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 และกำไรสำหรับงวดเพิ่มขึ้น 690 ล้านบาท จากการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ของโรงงานซีเมนต์ในภูมิภาคมูลค่า 578 ล้านบาท 
  • เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง และเอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล ไตรมาส 3 ปี 2567 รายได้จากการขายในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 เท่ากับ 33,593 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย EBITDA เท่ากับ 899 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสำหรับงวดอยู่ที่ 314 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 45 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากความต้องการที่ลดลงตามฤดูกาล รวมถึงเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาค ประกอบกับไตรมาสก่อนเป็นช่วงที่มีรายได้เงินปันผลรับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
    รายได้จากการขายลดลงร้อยละ 13 จากเหตุการณ์อุทกภัยในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาค แต่ EBITDA เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และกำไรสำหรับงวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 214 จากการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่า

 

  • เอสซีจี เดคคอร์ 9 เดือนปี 2567 มีรายได้จากการขายในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เท่ากับ 19,585 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่มี EBITDA อยู่ที่ 2,530 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 730 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 
  • เอสซีจีพี 9 เดือนปี 2567 มีรายได้จากการขายในช่วง 9 เดือนของปี 2567 เท่ากับ 101,553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย EBITDA เท่ากับ 13,293 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสำหรับงวดเท่ากับ 3,756 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

897716 

เอสซีจี แก้เกมระยะสั้น เร่งลดต้นทุนทั้งองค์กร ปิดกิจการไม่ทำกำไร

เอสซีจี แก้เกมระยะสั้น เร่งลดต้นทุนทั้งองค์กร ปิดกิจการไม่ทำกำไร เดินเกมระยะยาวลุยโครงการอีเทนปิโตรเคมีเวียดนาม ดันปูนคาร์บอนต่ำ-พลาสติกรักษ์โลกมูลค่าเพิ่มสูง เติบโตตามแนวทาง Inclusive Green Growth 7 แก้เกมเศรษฐกิจรุมเร้า
ตั้งเป้า 

  1. มุ่งลดต้นทุนภาพรวมองค์กร 5,000 ล้านบาท ภายในปี 2568 
  2. ลดเงินทุนหมุนเวียนลง 10,000 ล้านบาท ภายในไตรมาส 1 ปี 2568 
  3. ยกเลิกกิจการที่ไม่ทำกำไร 
  4. ขายสินทรัพย์ (Asset Divestment) ลดต้นทุนการผลิต เร่งเพิ่มเชื้อเพลิงทดแทน ตั้งเป้าโรงงานปูนซีเมนต์ในไทยใช้ 50% 

สำหรับการเดินเกมระยะยาว ลุยปิโตรเคมีเวียดนามลงทุนเพิ่มทางเลือกใช้อีเทนลดต้นทุนวัตถุดิบ ด้วยงบ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าแล้วเสร็จปี 2570 เร่งพัฒนา-ส่งออกปูนคาร์บอนต่ำ พลาสติกรักษ์โลกดีมานด์สูง 

ด้านตลาดอาเซียนโตต่อเนื่อง เสริมความแข็งแกร่งตามแนวทาง Inclusive Green Growth เตรียมรับมือสงครามขยายตัว เศรษฐกิจโลกผันผวนรุนแรง วัฏจักรปิโตรเคมีทั่วโลกอ่อนตัวลากยาวกว่าที่คาด และค่าเงินบาทผันผวน 

นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “ผลประกอบการ 9 เดือนปี 2567 เอสซีจี มีรายได้ 380,660 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน จากปริมาณการขายของเอสซีจี เคมิคอลส์ และเอสซีจีพี โดย EBITDA (กำไรก่อนต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย โดยรวมเงินปันผลรับจากบริษัทร่วม) 38,768 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไร 6,854 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากค่าใช้จ่ายการเดินเครื่องโครงการลองเซิน ปิโตรเคมิคอลส์ (Long Son Petrochemicals – LSP) ส่วนต่างราคาสินค้าเคมีภัณฑ์ลดลง และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมที่ลดลงขณะที่กำไรไม่รวมรายการพิเศษ ลดลงร้อยละ 46 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับไตรมาส 3 ของปี 2567 มีรายได้ 128,199 ล้านบาท โดย EBITDA 9,879 ล้านบาท กำไร 721 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 81 จากไตรมาสก่อน เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่า
การปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือลดลง และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมลดลง ประกอบกับไตรมาสก่อนเป็นช่วงที่มีรายได้เงินปันผลรับจากการลงทุนในธุรกิจอื่น  

เอสซีจีคาดว่ารายได้ของปี 2567 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3% จากปีก่อน เพราะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนรุนแรง วัฏจักรปิโตรเคมีทั่วโลกอ่อนตัวลากยาว สงครามตะวันออกกลาง สินค้าจากจีนเข้ามาแข่งขันภายในประเทศมากขึ้น รวมทั้งค่าเงินบาทผันผวน นับเป็นความ
ท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจและมีแนวโน้มที่จะยืดเยื้อยาวนาน เอสซีจีจึงมุ่งดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวัง และรัดกุมยิ่งขึ้น โดย
ตั้งเป้า 1) มุ่งลดต้นทุนภาพรวมองค์กร 5,000 ล้านบาท ภายในปี 2568  2) ลดเงินทุนหมุนเวียนลง 10,000 ล้านบาท ภายในไตรมาส 1 ปี 2568  3) ยกเลิกกิจการที่ไม่ทำกำไร เช่น SCG Express และธุรกิจด้านดิจิทัลเทคโนโลยี OITOLABS ในประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณายกเลิก เเละ 4) ขายสินทรัพย์ (Asset Divestment) เพิ่มความคล่องตัวและมุ่งเน้นรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ประกอบกับยกระดับประสิทธิภาพการผลิต รักษา EBITDA ให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ต่อเนื่อง อาทิ เพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทนโรงงานปูนซีเมนต์ในไทยร้อยละ 50 ภายในปีนี้ การใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Automation) ผลิตกระเบื้อง แม่นยำ รวดเร็ว ลดวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม เอสซีจีมีการลงทุนในอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ยอดขายเติบโตร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากประเทศเวียดนามและอินโดนีเซีย  

476078

ในระยะยาว เรื่องกรีน Inclusive Green Growth ยังเป็นโอกาสและความได้เปรียบทางธุรกิจ ดังนั้น จึงเร่งลงทุนโครงการอีเทนที่ LSP ลดต้นทุนวัตถุดิบ ด้วยงบลงทุน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั่วโลก ทั้งยังช่วยลดคาร์บอนไดออกไซต์ในกระบวนการผลิต พร้อมดันนวัตกรรมกรีนมูลค่าเพิ่มสูง อาทิ ปูนคาร์บอนต่ำ เจนเนอเรชัน 2 ได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่อง มีสัดส่วนการใช้ปูนคาร์บอนต่ำทดแทนแบบเดิมร้อยละ 86 พลาสติกรักษ์โลก SCGC GREEN POLYMER TM เติบโตต่อเนื่อง

เอสซีจี เคมิคอลส์ (เอสซีจีซี) ยังมีความท้าทายจากสถานการณ์วัฏจักรปิโตรเคมีขาลง กำลังการผลิตใหม่ เเละความต้องการเคมีภัณฑ์โลกชะลอตัว ดังนั้นจึงรุกสร้างศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระยะยาว ด้วยโครงการลงทุนการปรับปรุงกระบวนการผลิต LSP เพื่อสามารถรับก๊าซอีเทนประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพราะเป็นวัตถุดิบที่ต้นทุนสามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั่วโลก และเพิ่มความยืดหยุ่นของวัตถุดิบในการผลิต ใช้เงินงบลงทุนประมาณ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่เพื่อสร้างถังรับก๊าซอีเทน และสาธารณูปโภคการรับวัตถุดิบ (Supporting Facilities) คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จปลายปี 2570 

สำหรับโครงการ LSP เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน ที่ผ่านมา และสามารถผลิตได้ 74,000 ตัน โดยเป็นยอดขายในช่วงทดลอง ทั้งนี้ ธุรกิจมุ่งบริหารจัดการการผลิตของโรงงานทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ โรงงานระยองโอเลฟินส์ (ROC) โรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์ (MOC) และโรงงาน LSP ให้เหมาะสมกับราคาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และสถานการณ์เศรษฐกิจโลก เพื่อให้มีศักยภาพการแข่งขันสูงสุด ซึ่งขณะนี้โรงงาน LSP ได้หยุดการเดินเครื่อง เพื่อบริหารต้นทุนธุรกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้ จะมีการประเมินการกลับมาเดินเครื่องอีกครั้ง เมื่อสถานการณ์เหมาะสม    

สำหรับนวัตกรรมกรีน SCGC GREEN POLYMER TM ไปได้ดี ความคืบหน้าล่าสุด อาทิ ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำ บางจากฯ และปัญจวัฒนาพลาสติก ผลิต “บรรจุภัณฑ์หัวเชื้อน้ำมันดีเซลรักษ์โลก FURiO Ultra HD” จากวัสดุใช้แล้วในครัวเรือนนำมาปรับปรุงคุณสมบัติสูตรเฉพาะทำให้บรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังผ่านการรับรองจาก GRS (Global Recycled Standard) และร่วมกับ คาโอ อินดัสเตรียล บริษัทชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น พัฒนา “บรรจุภัณฑ์ขวดแชมพูรักษ์โลก” จากเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง สามารถรีไซเคิลได้ร้อยละ 100 

สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและที่อยู่อาศัย ภาพรวมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณจากภาครัฐ เพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ตลาดสินค้าวัสดุก่อสร้างของไทยยังชะลอตัวจากงานโครงการที่ชะลอตัว และภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง 

463522

เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เร่งต่อยอดเทคโนโลยีก่อสร้างด้วย 3D Printing และพัฒนาวัสดุที่สามารถแข็งตัวและให้กำลังอัดคล้ายกับปูนซีเมนต์ชนิดพิเศษ (Special Cementitious Materials) รองรับการผลิตขึ้นรูปในตลาดโลก ล่าสุด ลงนามร่วมกับบริษัท Samsung E&A ประเทศเกาหลีใต้ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้าง เพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว แม่นยำ ลดต้นทุนและวัสดุเหลือใช้จากงานก่อสร้าง รวมทั้งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ โดยเฉพาะการนำ 3D Printing Mortar 
ที่มีคุณสมบัติโดดเด่นด้านคุณภาพ ด้วยวัสดุที่พัฒนาและจดสิทธิบัตรมากว่าสิบปี พร้อมสนับสนุนด้านคำปรึกษา (Technology Consultation) สามารถขึ้นรูปชิ้นงานที่มีความซับซ้อนสูง ไปจนถึงรูปแบบอาคารก่อสร้างหลายชั้น สำหรับใช้ในการก่อสร้างในประเทศซาอุดิอาระเบีย ล่าสุด SCG International ได้ส่งมอบปูนมอร์ตาร์ล็อตแรกไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย พร้อมแผนขยายตลาดไปยังภูมิภาคเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (SAMEA) รองรับภาคธุรกิจและการก่อสร้างในภูมิภาค นอกจากนี้ ผลักดันโซลูชันตอบโจทย์ อุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยรักษ์โลก “รถโม่เล็ก CPAC” เหมาะกับงานก่อสร้างในพื้นที่จำกัด ช่วยลดเสียงรบกวน และ ”คอนกรีตคาร์บอนต่ำซีแพค” ช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5  ร่วมมือกับ AP Thailand ใช้สำหรับงานก่อสร้างโครงการบ้านแนวราบกว่า 56 โครงการภายในปี 2567
ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1,112,600 กิโลกรัมคาร์บอน (Kg CO2) เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 117,116 ต้น 

สำหรับผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ เอสซีจี ยังได้รับการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อมระดับสากล (Environmental Product Declaration - EPD) ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์สำเร็จรูปเสือมอร์ตาร์ ถือเป็นรายแรก ครอบคลุมปูนมอร์ตาร์ 10 ผลิตภัณฑ์ ปูนซีเมนต์เอสซีจีและเสือ รวม 8 ผลิตภัณฑ์  และคอนกรีตผสมเสร็จซีแพค 27 ผลิตภัณฑ์ (คอนกรีตผสมเสร็จ จะได้รับการรับรองในเดือน พ.ย. 2567)

เอสซีจี ดิสทริบิวชั่นแอนด์รีเทล รุกตลาดค้าปลีกศักยภาพสูงสำหรับสินค้าและบริการเรื่องบ้านที่โตต่อเนื่อง ล่าสุด
เร่งขยายโมเดิร์นเทรด Mitra 10 ในประเทศอินโดนีเซีย เปิดเพิ่มอีก 2 สาขาที่เมืองจาบาเบกา และซามารินดา โดยยังมีแผนขยายสาขาเพิ่มอีก 4 แห่งภายในปี 2567 พร้อมเดินหน้าเสิร์ฟกลุ่มสินค้า House Brand ที่หลากหลาย ราคาเข้าถึงได้ ในช่องทางจัดจำหน่ายภายในประเทศ อาทิ กลุ่มสินค้าตกแต่ง แบรนด์ UNIX  กลุ่มสินค้าเหล็ก แบรนด์ TOPSTEEL และกลุ่มอุปกรณ์เครื่องมือช่าง TOPPRO นอกจากนี้ คิวช่าง (Q-Chang) เเพลตฟอร์มศูนย์รวมช่างคุณภาพและบริการดูแลบ้านครบวงจร เติบโตต่อเนื่อง ปัจจุบันมีเครือข่ายช่างผู้เชี่ยวชาญกว่า 10,000 ราย ให้บริการลูกค้ามากกว่า 300,000 รายทั่วประเทศ รุกเสริมเเกร่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยครอบคลุมทุกความต้องการ พร้อมเปิดรับพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่พร้อมร่วมมือสร้างศักยภาพการขยายธุรกิจ และเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต 

975869

เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง รุกนวัตกรรมวัสดุตกแต่งภูมิทัศน์ ร่วมสร้าง จ.ร้อยเอ็ด แลนด์มาร์คภาคอีสาน ด้วยการออกแบบ
ชูวัฒนธรรมสร้างอัตลักษณ์ เลือกใช้บล็อกและกระเบื้องปูพื้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตร้อยละ 40 ได้รับรอง SCG Green Choice และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย อาทิ บล็อกปูพื้น กระเบื้องปูพื้นเอสซีจี รุ่น Pavement, Serena และกระเบื้องปูพื้นเอสซีจีเทคโนโลยีใหม่ รุ่น UVT เป็นต้น ทั้งยังผลักดันสินค้าสำเร็จรูป และระบบติดตั้ง ตอบโจทย์ก่อสร้างรวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าที่ต้องการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วม อาทิ ไม้เชิงชายรุ่นพร้อม ไม้ฝาและไม้ตกแต่งทำสีสำเร็จ และวัสดุต่อเติมที่ทำงานง่าย ทนน้ำทนชื้น อย่างแผ่นสมาร์ทบอร์ด เอสซีจี เป็นต้น

เอสซีจี เดคคอร์ (SCGD) มุ่งลดต้นทุน เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด ติดตั้ง Hot Air Generator ที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมหนองแค ลดต้นทุนได้ 16.8 ล้านบาทต่อปี พร้อมเดินหน้ารุกตลาดเวียดนามสร้างการเติบโตต่อเนื่อง ล่าสุดเร่งปรับไลน์ผลิตกระเบื้องเซรามิกเป็นกระเบื้องพอร์ซเลนขนาดใหญ่ กำลังการผลิต 2.5 ล้านตารางเมตร ทั้งยังขยายช่องทางจัดจำหน่าย พร้อมเสิรฟ์สินค้าหลากหลายตอบโจทย์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ เปิดร้านจำหน่ายกระเบื้องเซรามิกและสุขภัณฑ์  V-Ceramic ร้านแรกทางภาคใต้ของเวียดนาม

เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ เติบโตต่อเนื่อง จากความต้องการและผลักดันการใช้พลังงานสะอาดภายในประเทศมากขึ้น ทำให้มีกำลังผลิตรวม 526 เมกะวัตต์ จากโครงการภาครัฐและภาคเอกชน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ร่วมกับ ธนาคารกสิกรไทย ลงนามการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการ Solar Private PPA (Power Purchase Agreement) สำหรับการลงทุนติดตั้งโซลาร์ในรูปแบบต่าง ๆ ให้กับองค์กรและบริษัทต่าง ๆ โดยมีกำลังผลิตรวม 88.5 เมกะวัตต์ อีกทั้งการเชื่อมต่อด้วยระบบเครือข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Microgrid) มีแผนขยายผลในกลุ่มโรงงานบริษัทโตโยต้า ในนิคมอมตะซิตี้ ชลบุรี สำหรับแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานความร้อนจาก

พลังงานสะอาด Rondo Heat Battery มีความคืบหน้าโครงการติดตั้งที่โรงงานปูนซีเมนต์ เอสซีจี จ.สระบุรี แล้วกว่าร้อยละ 45 ซึ่งดำเนินการออกแบบแล้วเสร็จ และได้เริ่มการผลิตวัสดุกักเก็บความร้อน  (Thermal Media) เก็บความร้อนของแบตเตอรี่กักเก็บความร้อนจากพลังงานสะอาด (Heat Battery) โดยคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องจักรได้ประมาณไตรมาส 2 ของปี 2568

102486

เอสซีจีพี รุกขยายในธุรกิจบรรจุภัณฑ์และโซลูชันที่เชื่อมโยงกับผู้บริโภค เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีศักยภาพเติบโตสูง ล่าสุดร่วมมือกับ Once Medical Company Limited พัฒนาโซลูชันเข็มฉีดยาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์คุณภาพสูงอื่น ๆ เพื่อเสริมศักยภาพการผลิตของ VEM Thailand และขยายเครือข่ายลูกค้าได้อย่างแข็งแกร่งและครอบคลุมยิ่งขึ้น อีกทั้ง มุ่งบริหารต้นทุนและเพิ่มความสามารถทำกำไร ด้วยการปรับพอร์ตเพิ่มยอดขายสินค้ามูลค่าสูง เพิ่มสัดส่วนส่งออกกระดาษบรรจุภัณฑ์ไปประเทศที่มีความต้องการ บริหารต้นทุนค่าขนส่ง เพิ่มการใช้กระดาษรีไซเคิลภายในประเทศ และขยายเครือข่ายการจัดหากระดาษรีไซเคิลเพิ่มขึ้น รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดต้นทุนพลังงานอย่างต่อเนื่อง

นายธรรมศักดิ์ กล่าวปิดท้ายว่า “ช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ ทุกภาคส่วนต้องรวมพลัง ช่วยเหลือกันและกัน  สำหรับเหตุการณ์อุทกภัยที่ผ่านมา เอสซีจีร่วมกับภาคีเครือข่ายให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมอบถุงยังชีพ 1,140 ถุง สุขากระดาษ 3,600 ชิ้น
เตียงกระดาษ 20 หลัง ห้องน้ำสำเร็จรูป 6 ห้อง ตั้งโรงครัว ทำอาหารให้ชุมชน 8 แห่ง สนับสนุนวัสดุซ่อมแซมโรงเรียน 15 แห่งใน
พื้นที่ประสบภัย ส่วนภาคธุรกิจต้องเร่งปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้พร้อมรับมือกับกฎเกณฑ์ มาตรการที่เกี่ยวกับโลกร้อน นอกจากเอสซีจีจะจัดโครงการ Go Together ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่อยกระดับความสามารถผู้ประกอบการ SMEs ให้ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังได้จัดหลักสูตร NZAP (NET ZERO Accelerator Program) สำหรับผู้ประกอบการ SMEs และผู้บริหารภาครัฐรุ่นใหม่ ให้เข้าใจนโยบายภาครัฐ กลไกการค้า การเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจคาร์บอนต่ำ เพื่อติดอาวุธ ลดต้นทุน เพิ่มกำไร และเกิดอุตสาหกรรมสีเขียวควบคู่กับการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ”

แชร์
เงินบาทแข็งทำพิษ! เอสซีจี กำไรลด 80% แก้เกมลดต้นทุน ปิดกิจการไม่ทำกำไร