นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การจะตัดสินใจปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อตรึงราคาขายปลีกดีเซลให้ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรนั้น เป็นหน้าที่ของฝ่ายนโยบายเป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจ ซึ่งหากปรับลดแล้วจะต้องคำนึงถึงรายได้ที่จะเข้ามาชดเชยภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ลดลงไปด้วย เพื่อไม่ให้กระทบกับรายได้รวมของประเทศในปีงบประมาณ 2565
ทั้งนี้จากการหารือก่อนหน้านี้ มีข้อสรุปว่าจะใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดูแลเรื่องสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงไปก่อน และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงกู้เงินเพิ่มเติมได้ 20,000 ล้านบาท กับบวกกับอีก 10,000 ล้านบาท เพื่อดูแลราคาน้ำมันที่แพงขึ้น
"ตอนนี้เป็นเรื่องของฝั่งนโยบายที่จะต้องหารือ ดูข้อเท็จจริงภาพรวมทั้งหมดว่ากองทุนน้ำมันมีฐานะดูแลราคาน้ำมันไปได้นานขนาดไหน และหลังจากนั้นจะดำเนินการอะไรต่อ หากจะลดภาษีน้ำมัน ก็ต้องดูเรื่องรายได้ที่จะมาชดเชยจากภาษีน้ำมันที่หายไปด้วย เพื่อไม่ให้กระทบกับรายได้รวมของประเทศในปีงบประมาณ 2565" นายลวรณ กล่าว
-กลุ่มน้ำมันเบนซินเก็บภาษีที่ 0.98-6.50 บาท/ลิตร
-ก๊าซ LPG เก็บภาษีที่ 2.17 บาท/กก.
-กลุ่มน้ำมันเตาเก็บภาษีที่ 0.64 บาท/ลิตร
ทีมข่าว "SPOTLIGHT" รวบรวมข้อมูลโครงสร้างของราคาขายปลีกน้ำมัน 1 ลิตร ประกอบไปด้วยต้นทุน 8 ส่วน ดังนี้
1.ราคาน้ำมันสำเร็จรูป ซึ่งคือน้ำมันดิบที่ผ่านการกลั่น ยังไม่ได้รวมภาษี เงินกองทุน อื่นใด
2.ภาษีสรรพสามิตร น้ำมันเป็นสินค้าที่มีการเก็บภาษีสรรพสามิตร เพราะจัดอยู่หมวดที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
3.ภาษีเทศบาล เก็บเพื่อไปบำรุงพื้ที่ ปัจจุบันอยู่ในอัตราประมาณ10% ของภาษีสรรพสามิตร
4.กองทุนน้ำมัน มีไว้เพื่อรักษาเสถียนรภาพราคาน้ำมันในประทศ
5.กองทุนอนุรักษ์พลังงาน มีไว้เพื่อไปใช้พัฒนาพลังานทางเลือกต่าง
***รวมต้นทุนทั้ง 5 ข้อนี้ จะได้เป็น “ราคาขายส่ง” *****
6.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เก็บ 7 % ของราคาขายส่ง
7.ค่าการตลาด คือค่าดำเนินการของผู้ค้าน้ำมันและกำไรรวมกันเป็นค่าการตลาด
8.ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิด 7 % จากค่าการตลาดอีกที
***ครบ 8 ต้นทุนนี้แล้ว มันจึงออกมาเป็นราคาขายปลีกน้ำมันใน 1 ลิตร**
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
https://www.amarintv.com/spotlight/economy/detail/18590
https://www.amarintv.com/spotlight/insight/detail/14663