คณะรัฐมนตรี อนุมัติแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ ตั้งเป้ารายได้คนไทยต้องมีรายได้ 25,000 บาท/เดือน จากปี 2564 มีรายได้ 18,917 บาท/เดือน
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะนำมาใช้ในปี 2566-2570 โดยมีสาระสำคัญ เช่น หลักการและแนวคิด 4 ประการคือ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการสร้างความสามารถ “ล้มแล้ว ลุกไว” เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG) พลิกโฉมประเทศไทยสู่ “สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”
โดยปี 2562 มีค่าเท่ากับ 5.66 เท่า 4.ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงไม่น้อยกว่า 20% โดยปี 2561 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานลดลง 16% และ 5.ดัชนีรวมสะท้อนความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆมีค่าไม่ต่ำกว่า 100.
เป้าหมายที่ 1 มูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปสูงขึ้น
ตัวชี้วัดที่ 1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตรเติบโต ร้อยละ 4.5 % ต่อปี
ตัวชี้วัดที่ 1.2 รายได้สุทธิต่อครัวเรือนเกษตรกร ไม่ต่ ากว่า 537,000 บาทต่อครัวเรือน เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 1.3 พื้นที่ทำเกษตรกรรมยั่งยืน เพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านไร่ เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 1.4 พื้นที่เพาะปลูกพืชที่ไม่เหมาะสมลดลงะ 10 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 2.1 ภาคเกษตรมีผลิตภาพการผลิตรวม (TFP) เฉลี่ย 1.5 %เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 2.2 มีตลาดกลางสินค้าเกษตรภูมิภาคในภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคใต้
2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 2.3 น้ำไหลลงอ่างเก็บน้ าทั้งประเทศมีปริมาณอย่างน้อย 40,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อสิ้นสุด
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 2.4 ระบบชลประทานมีประสิทธิภาพไม่ต่ ากว่าร้อยละ 75 เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 2.5 เกิดการใช้น้ำซ้ำในพื้นที่เกษตรนอกเขตชลประทาน ไม่น้อยกว่า 20% ของพื้นที่ เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 2.6 พื้นที่ที่สามารถลดความเสี่ยงภัยน้ าท่วม-น้ำแล้ง และเกิดระบบจัดการน้้ำชุมชน จำนวน 4,000 ตำบล เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 3.1 จำนวนสหกรณ์ภาคเกษตรในชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งสหกรณ์เพิ่มขึ้นอย่างน้อยกว่า 18% เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 3.2 จำนวนกลุ่มเกษตรกรในชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้น อย่างน้อยกว่า 6% เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 3.3 จำนวนวิสาหกิจชุมชนในระดับดี ตามเกณฑ์การจัดระดับความเข้มแข็งวิสาหกิจชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 35% เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ตัวชี้วัดที่ 3.4 ผู้ประกอบการเกษตรเพิ่มขึ้น (ตามการประเมินของ กษ.) ปีละ 4,000 ราย
สำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) เป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับแรกที่เริ่มต้นกระบวนการยกร่างกรอบแผนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและจะมีผลในการใช้เป็นกรอบเพื่อกำหนดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิบัติการในช่วง 5 ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
โดยการกำหหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะของแผนพัฒนาฯ ได้น้อมนำปรัชญำของเศรษฐกิจพอเพียงมำเป็นหลักนในการขับเคลื่อนและวำงแผนกำรพัฒนำประเทศ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายในมิติต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรม ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ต้องเผชิญกับความท้าทายจากภายนอกและภายในประเทศที่มีความผันแปรสูงและมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต
ทั้งที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และข้อจำกัดของโครงสร้างภายในประเทศที่ยังคงรอการปรับปรุงแก้ไขในหลายมิติการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยทั้งภายนอกและภายใน ตลอดจนผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างและองคาพยพของประเทศในทุกมิติ เพื่อน ามาประมวลผลประกอบการก าหนดทิศทางการพัฒนาประเทศที่ควรมุ่งไปในอนาคต
บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีความเจริญเติบโตควบคู่ไปกับสิ่งแวดล้อมที่ได้รับการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างสมดุลในระยะยาวเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายใน ให้สามารถเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคงท่ามกลางความผันแปรที่เกิดขึ้นรอบด้านจากภายนอก และสามารถบรรลุเป้าหมายระยะ 20 ปี ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติตามกรอบระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้
อ่านข่าวที่เกี่ยว
1.ชงครม.อนุมัติ "จ่ายก่อนแก่" ปลดล็อกเงินประกันสังคม เอาไปค้ำเงินกู้-ถอนไปใช้ก่อนได้
2.ลดภาษีดีเซล - น้ำมันเตาเป็นศูนย์ 6 เดือน พยุงไม่ให้ค่าไฟปรับขึ้น รวมมติ ครม. วันนี้
3.ครม.เคาะลดภาษีนำเข้า รถEV และกำหนดภาษีสรรพสามิต รถ 27 ประเภท