SCB EIC ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2568 เหลือ 2.5% จากผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 ที่เร่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการค้า ขณะเศรษฐกิจไทยเผชิญแรงกดดันจากการส่งออกที่ชะลอตัว ปัญหาหนี้ครัวเรือน และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ แนวทางพัฒนาควรมุ่งลดความเหลื่อมล้ำ เสริมภูมิคุ้มกันผู้มีรายได้น้อย และส่งเสริมการปรับตัวเพื่อความยั่งยืนในอนาคต
SCB EIC ลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2568: Trump 2.0 จุดเปลี่ยนสำคัญ
SCB EIC ปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2568 ลงเหลือ 2.5% จากเดิม 2.8% โดยชี้ว่านโยบาย "Trump 2.0" จะเร่งปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และการกีดกันการค้า ส่งผลกระทบต่อการค้า การลงทุน และแรงงานในระดับโลก หลายประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ แม้เตรียมมาตรการรองรับไว้บ้าง แต่ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจลดประสิทธิภาพของมาตรการดังกล่าว
ผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ จาก Trump 2.0 อาจไม่รุนแรงนัก เนื่องจากนโยบายลดภาษีและผ่อนปรนกฎเกณฑ์เพื่อกระตุ้นการลงทุน อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) อาจลดดอกเบี้ยน้อยลงกว่าคาดเพื่อควบคุมความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปและจีนมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ในอีกด้านหนึ่ง ญี่ปุ่นอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด เพื่อป้องกันการอ่อนค่าของเงินเยนจากผลกระทบของ Trump 2.0
เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวได้ถึง 4% จากการส่งออก การใช้จ่ายภาครัฐ และการท่องเที่ยว แต่ในปี 2568 เศรษฐกิจไทยอาจเผชิญแรงกดดันจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องจักรที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกขึ้นภาษีนำเข้า
ปัญหา China’s overcapacity ยังซ้ำเติมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยทั้งในและนอกประเทศ ส่งผลต่อการชะลอตัวของภาคการส่งออกและการผลิต
ผลสำรวจ SCB EIC Consumer Survey 2024 ชี้ว่าผู้บริโภคกว่า 60% มองว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะแย่ลง โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ต่ำ ทำให้แนวโน้มการใช้จ่ายลดลง ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังเป็นปัจจัยกดดันหลัก โดยคุณภาพสินเชื่อรายย่อยมีแนวโน้มแย่ลง
SCB EIC คาดการณ์ว่า กนง. จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% ในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เพื่อบรรเทาภาระหนี้และสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
SCB EIC สะท้อนว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะ "โลกสองใบ" ใน 3 มิติ ได้แก่
ประเทศไทยจำเป็นต้องลดช่องว่างระหว่าง "โลกสองใบ" เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว