การประชุม WEF Annual Meeting ประจำปี 2567 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15-19 มกราคม ซึ่งปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 54 แล้ว ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ดินแดนแห่งสกีรีสอร์ทสุดหรูที่ในสัปดาห์นี้เต็มไปด้วยผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกรวมตัวกันที่นี่
เวทีดาวอส หรือการประชุม WEF เป็นการหารือและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาของโลก โดยมีหลักการสำคัญคือความพยามเป็นอิสระ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย และไม่มีผลประโยชน์พิเศษซ่อนเร้น โดยการประชุมประจำปี 2024 นี้มีรัฐบาลมากกว่า 100 แห่งจากทั่วโลก เข้าร่วม รวมไปถึงองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญทั้งหมด บริษัทเอกชน และพันธมิตรถึง 1,000 ตลอดจนผู้นำภาคประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญชั้นแนวหน้า รุ่นเยาวชนในปัจจุบัน ตัวแทนภาคประชาชน และสื่อมวลชนจากทั่วโลก
สำหรับ WEF Annual Meeting ประจำปี 2567 ที่ดาวอสถูกจับตามองเป็นพิเศษเนื่องจากอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์หลายจุดบนโลก ไม่เพียงแต่สงครามรัสเซีย ยูเครน และ สงครามอิสราเอล ฮามาส เท่านั้น แต่โลกยังมีความท้าทายจากความเสี่ยงของความขัดแย้งอีกหลายจุด ทั้งในอิโดแปซิฟิก จีน VS สหรัฐ , ญี่ปุ่น VS เกาหลีใต้ VS ไต้หวัน , สงครามในทะเลจีนใต้ และอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้
ทำให้หัวข้อของเวทีดาวอส 2024 คือ “Rebuilding Trust” ที่เน้นการฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่ออนาคต ความไว้เนื้อเชื่อใจในสังคม และระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายของโลกปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า ธีมเรื่อง AI หรือปัญญาประดิษฐ์ถูกกำหนดเป็นหนึ่งในเรื่องลักในเวทีดาวอส โดยถูกมองเป็นเทคโนโลยีที่สำคัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมจากนี้ไป โดยจะมีการหารือกันเพื่อหาทางร่วมมือเพื่อจะใช้ AI ให้เป็นประโยชน์ต่อทุกคนได้อย่างไร? ขณะที่กฎระเบียบเรื่อง AI ของประเทศต่างๆในโลกมีความแตกต่างกัน คำถามคือจะสามารถสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับความเสี่ยงทางสังคมอย่างไร และ AI จะเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อย่างไร ไม่ว่าจะเป็น 5 / 6 G, คอมพิวเตอร์ควอนตัม และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยในฟอรัม AI Governance Alliance จะมีการบูรณาการความร่วมมือจากรัฐบาลและบริษัทสำคัญๆต่างๆ 20 แห่ง เพื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของโลก ทำให้มีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับ AIถูกพูดถึงในหลากหลายมิติ
หัวข้อการเสวนาที่เกี่ยวข้องกับ AI https://www.weforum.org/events/world-economic-forum-annual-meeting-2024/themes/artificial-intelligence-as-a-driving-force-for-the-economy-and-society
สำหรับการเข้าร่วม WEF ของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ นับเป็นการเข้าร่วมระดับผู้นำของไทยในรอบ 12 ปี นับตั้งแต่ปี 2555 ในสมัยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเป็นการเยือนภูมิภาคยุโรปครั้งแรกของนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะตอกย้ำความพร้อมของไทยในการร่วมขับเคลื่อนประเด็นสำคัญของโลก และใช้โอกาสนี้พบปะหารือกับผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจากทั่วโลก
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดการพบปะภาคเอกชนสำคัญ อาทิ ผู้บริหารบริษัทด้านเทคโนโลยี และ Solutions บริษัทท่าเรือ logistics บริษัทด้านการเงิน การธนาคาร บริษัทด้านโทรคมนาคม บริษัทด้านยาและวัคซีน บริษัทด้านอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทด้านธุรกิจ Delivery และพบปะบุคคลสำคัญ อาทิ นายมาทีอัส คอร์มันน์ (Mathias Cormann) เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ OECD นาย Klaus Schwab ผู้ก่อตั้งและประธานบริหาร WEF และ ผู้บริหารของ World Bank ด้วย
ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีจะร่วมประชุม WEF ในครั้งนี้ เพื่อผลักดันบทบาทของไทยในการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และความร่วมมือในโลก การส่งเสริมการค้าการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนผ่านพลังงาน รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรม EVs อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนการส่งเสริมความเชื่อมโยงผ่านโครงการ Landbridge ให้แก่ผู้นำและผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม วิชาการ และสื่อชั้นนำต่าง ๆ ที่เข้าร่วม เพื่อนำผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมกลับมาให้พี่น้องชาวไทย
สภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรสัญชาติสวิส ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1971 โดยศาสตราจารย์เคล้าส์ ชวอบ (Klaus Schwab) ศาสตราจารย์ชาวเยอรมัน สาขาวิชาธุรกิจ แห่งมหาวิทยาลัยเจนีวา ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารของ WEF
WEF เป็นองค์กรอิสระนานาชาติที่ได้รับความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน สมาชิกประกอบด้วย ผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีคลัง รัฐมนตรีการค้า รัฐมนตรีต่างประเทศ ผู้ว่าการธนาคารกลาง ผู้บริหารสูงสุดหรือซีอีโอของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ องค์กรนานาชาติ เยาวชน ผู้คิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยี และตัวแทนประชาสังคม ที่มารวมตัวประชุมกันที่เมืองดาวอส ซึ่งเป็นเมืองสกีที่อยู่ในจุดที่สูงที่สุดของทวีปยุโรปเป็นประจำกันทุกปีเพื่อหารือและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาของโลก
ที่มา WEF , ทำเนียบรัฐบาล