กรมโรงงานอุตสาหกรรมเปิดเผยตัวเลขน่าตกใจ! ไตรมาสแรกปี 2567 มีโรงงานปิดกิจการพุ่งสูงถึง 367 แห่ง ส่งผลให้สูญเสียเงินลงทุนรวมกว่า 9,417.27 ล้านบาท และพนักงานถูกเลิกจ้างมากถึง 10,066 คน SPOTLIGHT รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปิดกิจการของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงแนวทางในการปรับตัวของภาคธุรกิจและลูกจ้างที่ต้องเผชิญความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
จากข้อมูลของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่า โรงงานที่เลิกกิจการส่วนใหญ่เป็นโรงงานจำพวก 3 (หรือโรงงานที่มีเครื่องจักรเกิน 75 แรงม้า) จำนวน 348 แห่ง คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 9,221.79 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นโรงงานจำพวก 2 (โรงงานที่มีเครื่องจักรไม่เกิน 75 แรงม้า) จำนวน 19 แห่ง มูลค่าเงินลงทุน 195.38 ล้านบาท โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากการปิดโรงงานในครั้งนี้ ได้แก่ ชลบุรี กรุงเทพมหานคร และพระนครศรีอยุธยา
เดือน | จำนวนโรงงาน(โรง) | จำนวนเงินลงทุน(ล้านบาท) | จำนวนคนงาน(คน) | |||||||||
2564 | 2565 | 2566 | 2567 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | |
มกราคม | 67 | 74 | 31 | 91 | 13,100.94 | 3,915.23 | 272.92 | 3,885.94 | 2,755 | 3,836 | 605 | 2,592 |
กุมภาพันธ์ | 69 | 65 | 82 | 116 | 1,960.28 | 9,463.91 | 1,564.38 | 2,325.61 | 1,555 | 1,784 | 2,032 | 3,330 |
มีนาคม | 66 | 58 | 56 | 160 | 1,641.17 | 1,218.55 | 595.42 | 3,205.72 | 1,416 | 1,860 | 1,108 | 4,144 |
เมษายน | 39 | 48 | 17 | 942.92 | 1,601.66 | 35,797.10 | 1,123 | 1,542 | 390 | |||
พฤษภาคม | 68 | 79 | 41 | 2,295.80 | 1,214.59 | 1,231.56 | 1,800 | 1,116 | 1,389 | |||
มิถุนายน | 64 | 139 | 131 | 2,884.14 | 2,426.94 | 2,622.72 | 1,526 | 2,873 | 1,795 | |||
กรกฏาคม | 53 | 107 | 217 | 1,865.02 | 4,160.90 | 4,676.84 | 1,565 | 1,883 | 6,314 | |||
สิงหาคม | 43 | 137 | 299 | 887.86 | 1,223.88 | 5,823.72 | 1,496 | 2,334 | 7,928 | |||
กันยายน | 45 | 92 | 212 | 6,082.48 | 1,403.62 | 5,227.33 | 2,618 | 4,090 | 4,921 | |||
ตุลาคม | 42 | 102 | 86 | 1,635.58 | 3,760.65 | 1,305.68 | 1,452 | 3,471 | 1,905 | |||
พฤศจิกายน | 57 | 56 | 105 | 2,497.14 | 2,001.24 | 3,443.88 | 1,339 | 2,184 | 2,187 | |||
ธันวาคม | 65 | 40 | 60 | 2,697.24 | 1,620.50 | 2,232.82 | 1,901 | 920 | 1,454 | |||
รวม | 678 | 997 | 1,337 | 367 | 38,490.56 | 34,011.66 | 64,794.38 | 9,417.26 | 20,546 | 27,893 | 32,028 | 10,066 |
ตารางรายงานเปรียบเทียบจำนวนโรงงาน จำนวนเงินลงทุน และจำนวนคนงาน ที่เลิกประกอบกิจการ ระหว่างปี 2564-2567
เทียบกับช่วงเดียวกัน ไตรมาส 1/2566 สถิติการปิดตัวลงของโรงงานในประเทศไทยพุ่งสูงสุด มีจำนวนโรงงานปิดตัวทั้งสิ้น 169 แห่ง คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 2,432.72 ล้านบาท ส่งผลให้มีพนักงานถูกเลิกจ้างจำนวน 3,745 คน โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพฯ และชลบุรี และ ประเภทของโรงงานที่ปิดตัวลง
และยังมี การเป่าหัวพืชหรือทำหัวพืชให้เป็นเส้นแว่นหรือแท่ง, การทำวงกบขอบประตูหน้าต่าง บานหน้าต่าง, การทำภาชนะบรรจุหรือถุงหรือกระสอบ, การทำพลาสติกเป็นแท่ง เม็ด ท่อ หลอด แผ่น ชิ้น ผงหรือรูปทรงต่าง ๆ, การทำสปริงเหล็ก สลัก แป้น เกลียววงแหวนหมุนย้ำ, ผลิตประกอบดัดแปลงหรือซ่อมแซมเครื่องจักรเฉพาะที่ใช้ไฟฟ้า และการซ่อมแซมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์
สถานการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการจ้างงาน ภาครัฐและภาคเอกชนควรเร่งหาแนวทางช่วยเหลือผู้ประกอบการและพนักงานที่ได้รับผลกระทบ
วิเคราะห์แนวทางการแก้ปัญหา ในวันที่ยอดปิดโรงงานไตรมาสแรกปี 67 พุ่ง คนตกงานกว่า 1 หมื่นคน สำหรับเจ้าของกิจการและผู้ประกอบการ แบ่งเป็น 2 กลยุทธ์หลัก ได้ดังนี้
1.กลยุทธ์ระยะสั้น
2. กลยุทธ์ระยะยาว
นอกจากนี้ เจ้าของกิจการควรติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด ศึกษาข้อมูลข่าวสาร พัฒนาธุรกิจให้ยืดหยุ่น ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง สื่อสารกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ สร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน ร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา
เมื่อพูดถึงแนวทางการแก้ปัญหา สำหรับ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการไปแล้วจะไม่พูดถึง ลูกจ้างหรือพนักงาน ได้อย่างไรในเมื่อ เศรษฐกิจที่ถดถอยส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วน รวมไปถึงภาคการจ้างงาน พนักงานหลายคนมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้าง ดังนั้น พนักงานควรเตรียมตัวและปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
และอย่างลืมดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ การจัดการความเครียด ความวิตกกังวล และความกลัวก็สำคัญ ลองไปปรึกษาเพื่อน ครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญ หากรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
สุดท้ายนี้การปรับตัวในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เหล่าลูกจ้างและพนักงานควรมีสติ คิดบวก และพยายามหาวิธีแก้ปัญหา พัฒนาทักษะ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีโอกาสได้งานใหม่ หรือประกอบอาชีพอิสระได้
ที่มา กรมโรงงานอุตสาหกรรม,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,ธนาคารแห่งประเทศไทย,และ สภาหอการค้าไทย