Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ผลงานแก้หนี้ชิ้นโบว์แดง กองทัพอากาศ หักหนี้สวัสดิการเหลือเงิน30%สำเร็จ
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ผลงานแก้หนี้ชิ้นโบว์แดง กองทัพอากาศ หักหนี้สวัสดิการเหลือเงิน30%สำเร็จ

6 พ.ย. 67
18:05 น.
|
745
แชร์

สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทยแม้จะลงมาต่ำกว่าระดับ 90%ต่อ GDP แล้ว แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับสูงและส่งผลกระทบต่อครัวเรือนไทย โดยสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไตรมาสที่ 2/2567 อยู่ที่ 89.6 % ต่อGDP รัฐบาลยังคงมีนโยบายเดินหน้าแก้หนี้ให้กับประชาชนโดยได้รับความร่วมจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะสถาบันการเงิน 

หนี้ข้าราชการ คือ กลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหามายาวนาน จากข้อมูลพบว่า ข้าราชการทั้งระบบ 2.8 ล้านคน คิดเป็นมูลหนี้รวมราว 3.3 ล้านบาท มีทั้งหนี้สินเชื่อสวัสดิการ (Payroll Credit) หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้กยศ. สินเชื่อส่วนบุคคลบัตรเครดิต ซึ่งหากลงไปดูในเชิงรายละเอียดเจาะลงไปจะพบว่าข้าราชการทหาร จำนวนมากยังต้องแบกรับภาระอัตราดอกเบี้ยไม่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริง และเผชิญกับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมหลากหลายรูปแบบ ในกระบวนการให้สินเชื่อและกระบวนการดำเนินคดีทางการเงิน อันส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินงานราชการของชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ล่าสุดกองทัพอากาศ ประกาศระเบียบหักหนี้สินสวัสดิการให้เหลือเงินเดือนสุทธิ 30 % สำเร็จแล้วและลดอัตราดอกเบี้ยสวัสดิการ ต่ำกว่า 4.75 %

โดยบุคคลสำคัญคือ ดรีมทีมกองทัพอากาศโดยเฉพาะ พลอากาศเอก พันธุ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พลอากาศตรี สุรัตน์ มณีวงศ์วิจิตร อดีตเจ้ากรมการเงินทหารอากาศ  นอกจากนี้ บุคคลสำคัญที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการพัฒนาระบบเงินเดือนข้าราชการ ให้เกิดความโปร่งใส (Transparency) และมีประสิทธิภาพ (Efficiency) ทั้งยังลงคดีจริงทุกเคสเอง คือ น.อ. รุ่งวิทย์ วัณรถ ผู้อำนวยการกองเงินเดือนและค่าจ้าง กรมการเงินทหารอากาศ และความสำเร็จก้าวสำคัญครั้งนี้ คงเกิดไม่ได้หากไม่มีความทุ่มเท ของผู้บริหารคณะกรรมการทุกคณะ รวมถึงเจ้าหน้าที่กรมการเงิน และทุกหน่วยของ ทอ.

เปิดไทม์ไลน์แก้หนี้ ทหารอากาศ  

ย้อนกลับไปเมื่อ วันที่ 24 มกราคม 2567 เป็นครั้งแรกที่ทีมคณะกรรมการกำกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนรายย่อย หรือ บอร์ดแก้หนี้ ได้เริ่มเข้าหารือกับกองทัพอากาศ โดยหยิบยกประเด็นสำคัญเร่งด่วน ของ “หนี้สินภาคครัวเรือน” ขึ้นมาวางบนโต๊ะอยากเปิดเผย ด้วยองค์ความรู้ และประสบการณ์ตรงจากการแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้สิน ทั้งการเงินและกฎหมาย ครอบคลุม หนี้ข้าราชการครู หนี้กยศ. หนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ฯลฯ นำโดย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานฯ ดร.ขจร ธนะแพสย์ เลขานุการฯ ทุกวันคือการระดมสมองและเชื่อมโยงเครือข่ายในกระบวนการยุติธรรม เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน กองทัพอากาศ อย่างต่อเนื่อง คณะผู้บังคับบัญชากองทัพอากาศ มิเคยย่อท้อ หรือ นิ่งนอนใจในความทุกข์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับ จากการถูกหักเงินเดือนจนไม่เหลือกิน ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก หากพิจาราณาข้อมูลในภาพรวม กำลังพลและลูกจ้างสังกัดเหล่าทัพ มีทั้งหมดราว 2 แสนห้าหมื่นราย พบว่า มีจำนวนราว 5 หมื่นกว่าราย ที่เงินเดือนสุทธิหลังจากหักหนี้สหกรณ์และสวัสดิการแล้ว เหลือ ไม่ถึงร้อยละ 30 คิดเป็นราว 21 % ของทั้งหมด ขณะเดียวกันหากพิจารณาจำนวนคดีความที่กำลังฟ้องร้อง ทั้งในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และ การถูกฟ้องร้องล้มละลาย ในแต่ละปี ก็เป็นจำนวนที่น่ากังวลยิ่งเพราะนำไปสู่การยึดอายัดทรัพย์สิน  

แก้หนี้ทหารอากาศ

หลังจากการหารืออย่างต่อเนื่อง และร่วมกันประมวลผลข้อมูลหนี้สินข้าราชการทหารอากาศ อย่างเปิดเผย โปร่งใส เดือนกุมภาพันธ์ 2567 กองทัพอากาศ ได้แต่งตั้ง คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินทันที ภายใต้คำคำสั่งกองทัพอากาศ ที่ 11/67 มีการลงลึกถึง “ข้อเท็จจริง” ชีวิตจริงของ นายทหารและครอบครัว  มีการหารือนอกรอบหลายวาระ ตั้งกลุ่ม Line เพื่อสอบถามข้อมูล และออกรับฟังปัญหาอย่างใกล้ชิดกับทุก stakeholders ลงลึกในรายละเอียด หลายวาระที่ ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพอากาศเอง ประธานบอร์ดแก้หนี้ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ลงรับฟังปัญหาและเจรจาหาทางออก ด้วยตนเอง กับทั้งสหกรณ์และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการระหว่าง ทีมบอร์ดแก้หนี้ ของรัฐบาล และ กองทัพอากาศ เป็นไปอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง นำมาสู่ แถลงการณ์ร่วมระดับประเทศ  แสดงให้เห็นว่า ทัพบก ทัพเรือและทัพอากาศ และกองทัพไทย มองเห็นปัญหาร่วมกัน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล 

ทั้งนี้กองทัพอากาศ เป็นเหล่าทัพแรก ที่ออกระเบียบว่าด้วยการหักเงินเดือน เพื่อชำระเงินให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการฯ ให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานปรับปรุง หลักเกณฑ์การหักเงินเดือนคงเหลือ สุทธิ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ตามแนวทางระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ 2551 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ผ่านระยะเวลา เกือบ 9 เดือน กองทัพอากาศ มิได้แค่ เป็นหน่วยราชการแรก ที่ออกระเบียบ Residual Income ร้อยละ 30 ชัดเจนสำเร็จ แต่ ยังสร้างทีมติดตามกำกับการดำเนินการของทุกหน่วยอย่างจริงจัง สร้างระบบการหักจ่ายเงินเดือนที่มีประสิทธิภาพ ชัดเจน โปร่งใส จนได้รับรางวัล

นอกจากนี้ทีมงานบอร์ดแก้หนี้นำโดย กิตติรัตน์ ณ ระนอง ในฐานะประธานบอร์ดฯ เดินหน้าเชิงรุก เจรจา หารือ ชี้แจง ขับเคลื่อนให้ ทุกเจ้าหนี้ ลดอัตราดอกเบี้ยลง ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ กำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่างวด ที่เป็นธรรมและเหมาะสม ซึ่งสำหรับ สินเชื่อสวัสดิการหักเงินเดือน (Payroll Credit) นั้น ประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้แนะนำไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยควรจะไม่เกินอยู่ที่อัตราร้อยละ 4.75 เพราะไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้สหกรณ์ หรือเจ้าหนี้สถาบันการเงินใด การเป็นสินเชื่อสวัสดิการ แปลว่า ความเสี่ยง การหักเงินเดือนนั้นแทบจะไม่มี หรือตามข้อเท็จจริงอัตราหนี้เสียที่หักไม่ได้ ของ สินเชื่อสวัสดิการ อยู่ที่อัตราเพียงร้อยละ 0.2-0.3 เท่านั้น 

นับว่าเป็นสินเชื่อ ที่ให้ความมั่นคงแก่ เจ้าหนี้ เป็นอย่างยิ่ง โดย หน่วยงานรัฐนั้นนั้นเป็นคนดำเนินการ หักจ่าย จัดเก็บให้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี ด้วยความมุ่งมั่นและ เอาจริง ของ ดรีมทีมกองทัพอากาศ ผลปรากฏว่า ปัจจุบัน จาก สหกรณ์สังกัดกองทัพอากาศ 27 แห่งนั้น มีถึง 22 แห่ง ที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทุกสินเชื่อ ทั้งเก่าและใหม่ ทุกกรณี ต่ำกว่า 4.75 แล้ว ถือเป็นความสำเร็จที่เกินเป้าหมาย และรวดเร็วยิ่ง

สรุปเป็น Timeline โดยสังเขปดังนี้

  • 19 ธันวาคม 2566: คณรัฐมนตรีมี มติ ครม. ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการเชิงรุก
  • 5 มกราคม 2567: ประกาศกรมส่งเสริมสหกรณ์ เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สิน สำหรับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ครั้งแรกที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยสวัสดิการ ที่เป็นธรรม และเหมาะสม
  • 24 มกราคม 2567: บอร์ดแก้หนี้ หารือเชิงลึกประเด็นหนี้สินภาคครัวเรือน โดยเฉพาะหนี้สินข้าราชการ กับ ผู้บริหาร กองทัพอากาศ
  • 14 กุมภาพันธ์ 2567 : กองทัพอากาศ แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาหนี้สินของกำลังพล ทอ. และ จัดตั้งอนุกรรมการย่อย ด้านกำลังพล การเงิน การศึกษา และกฎหมายควบคู่ไป
  • 15 มีนาคม 2567: แถลงการณ์ร่วมกับ “แก้หนี้ข้าราชการ” ทุกเหล่าทัพและ 11 หน่วยราชการ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
  • 29 เมษายน 2567: หารือครั้งสำคัญ ติดตามความคืบหน้าแก้ไขปัญหาหนี้สิน กำลังพลทอ. ห้องประชุมกองทัพอากาศ
  • มีนาคม ถึง สิงหาคม ดรีมทีมกองทัพอากาศ และทีมงาน ประชุมบอร์ดแก้หนี้ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการ เจ้าหนี้สหกรณ์กองบิน ผู้บังคับบัญชาแต่ละแห่ง ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกัน พร้อมดำเนินการเจรจา ทำความเข้าใจ ขอความร่วมมือ หาทางออก
  • 27 กันยายน 2567: ประกาศระเบียบกองทัพอากาศ ว่าด้วยการหักเดือนสุทธิเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

ความสำเร็จของการแก้หนี้ในกลุ่ม ทหารอากาศ 

ภายใน 1 เดือนที่ทีมผู้เชี่ยวชาญ บอร์ดแก้หนี้เข้าพบท่านผู้ช่วย ผบ.ทอ. และคณะ ทอ. ได้แต่งตั้ง คณะแก้หนี้เร่งด่วนขึ้นทันทีและในเดือนมิถุนายน จากกำลังพลราว 36,000 คัดกรองข้อมูลแล้ว พบว่ามี ข้าราชการ ราว 8,286 ราย หรือคิดเป็น 22 % เงินเดือนสุทธิหลังหักหนี้ ต่ำกว่าร้อยละ 30 แต่ จนปัจจุบัน ทอ. สามารถลดอัตราข้าราชการที่จำนวนนี้เหลือ ราว 5,000 คน ภายในเวลาเพียง 3 เดือน คุณภาพชีวิตของ กำลังพล ทั้งตัวเขาเองและครอบครัว เกือบ หมื่นรายดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน กองทัพอากาศครั้งนี้ เรียกได้ว่า เป็น Best Practice ระดับชาติได้เลยก็ว่าได้ เพราะล่าสุด ทีมงาน กองเงินเดือนและค่าจ้าง กรมกำลังพลทหารอกาศ เพิ่งรับรางวัล นวัตกรรมยอดเยี่ยมไป “RTAF Debt Management”

แก้หนี้ทหารอากาศ

แชร์
ผลงานแก้หนี้ชิ้นโบว์แดง กองทัพอากาศ หักหนี้สวัสดิการเหลือเงิน30%สำเร็จ