คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถในปัจจุบันสนใจออกไปทำงานในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งหากเป็นในอดีตการออกไปทำงานต่างประเทศอาจจะเพื่อต้องการมีรายได้ที่มากกว่าทำงานในประเทศไทย ความเหลื่อมล้ำสูง ความยากจน และการศึกษาทำให้โอกาสในการมีรายได้จากการทำงานในประเทศน้อยกว่า ออกไปลองใช้ชีวิตในต่างแดน
ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานพบว่า แม้จะมีสถานการณ์โควิด 19 มาตลอดเกือบ 3 ปี แต่คนไทยก็ยังมีการเดินทางออกไปทำงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขล่าสุดถึงวันที่ 26 ก.ค.2565 คนไทยทำงานอยู่ต่างประเทศ อย่างถูกกฎหมายถึง 120,652 คน ใน 122 ประเทศทั่วโลก
คืออันดับ 1 คือ ไต้หวัน 48,542 คน 2. อิสราเอล 20,555 คน 3. เกาหลีใต้ 12,950 คน 4. ญี่ปุ่น 7,665 คน 5. สวีเดน 6,680 คน
2564 217,343 ล้านบาท
2563 194,960 ล้านบาท
2562 192,903 ล้านบาท
2561 144,451 ล้านบาท
รศ.ดร.กิริยา กุลกลการ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยวิเคราะห์ประเด็นที่ทำให้แรงงานรุ่นใหม่ ออกไปทำงานในต่างประเทศจำนวนมาก เพราะความต้องการแรงงานในต่างประเทศมากขึ้น บางประเทศเจอปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เช่น เป็นสังคมผู้สูงอายุ เช่น เกาหลี และหลายประเทศในยุโรป นอกจากนี้ ค่าแรงที่สูงกว่าทำงานในประเทศ จึงเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้คนไทยออกไปทำงานต่างแดน
แต่สิ่งที่คนไทยควรตระหนักในการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ คือ วิธีการเข้าไปทำงานควรถูกต้องตามกฎหมายและอยู่ในระบบเพราะนั่นหมายถึงสวัสดิภาพของแรงงานไทยในต่างแดนด้วย เราเห็นได้จากกรณี ผีน้อย คนไทยที่หลบหนีออกไปทำงานเกาหลีใต้ บางส่วนถูกกดขี่ ถูกเอาเปรียบจากนายจ้าง
1. การเดินทางไปทำงานต่างประเทศด้วยตนเอง
2. การเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยบริษัทจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง
3. การเดินทางไปทำงานต่างประเทศโดยกรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง ได้แก่ โครงการจ้างตรง :ไต้หวัน โครงการ IM : ประเทศญี่ปุ่น โครงการ EPS: เกาหลี โครงการ TIC
4. นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างไปทำงานในต่างประเทศ
5. นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างไปฝึกงานในต่างประเทศ
โดยข้อมูลล่าสุดในปีนี้ พบว่า คนไทยที่ไปทำงานต่างประเทศ หากเป็นในแถบตะวันออกกลางจะไปด้วยวิธีบริษัทจัดหางานเป็นผู้จัดส่ง ส่วนหากเป็นประเทศในแถบอาเซียน หรือในเอเชีย จะไปในรูปแบบไปด้วยตนเอง ซึ่งถือว่า 2 รูปแบบนี้เป็นส่วนใหญ่ของการออกไปทำงานต่างประเทศของคนไทย
อย่างไรก็ตามผู้ที่สนใจจะไปทำงานในต่างประเทศ ควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจและเดินทางไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครเขตพื้นที่ 1-10 หรือที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน