หลังจากประเทศไทยเปิดตัววีซ่าใหม่ที่เรียกว่าวีซ่าพำนักระยะยาว “Long-Term Resident Visa (LTR)” ให้กับกลุ่มชาวต่างชาติที่มีศักยภาพเช่น ผู้ที่มีความมั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เข้ามาพักอาศัยในประเทศไทยหรือทำงานจากประเทศไทย โดย LTR Visa ได้ให้สิทธิประโยชน์หลายด้าน
ล่าสุดนิเคอิเอเชีย รายงานการให้สัมภาษณ์ของเลขาธิการ บีโอไอ นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ ว่า ตั้งแต่เปิดตัว LTR Visa เมื่อวันที่ 1 กันยายนจนถึงปัจจุบัน มีผู้ยื่นใบสมัครแล้วกว่า 1,600 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันมากเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ จีน ตามมาด้วยอังกฤษ และเยอรมัน
วีซ่าพิเศษนี้มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญต่างชาติในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น รถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีชีวภาพ คนทำงานทางไกลที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และผู้เกษียณอายุที่ร่ำรวย ซึ่งจากข้อมูลผู้สมัคร 1,600 คนนี้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ต้องการทำงานทางไกลจากไทยและผู้เกษียณอายุ ส่วนแรงงานที่มีทักษะสูงมีจำนวนมากเช่นกัน
ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากอินโดนีเซีย ปีนี้รัฐบาลคาดหมายว่า GDP จะขยายตัวได้ 3.2% และ 3% ถึง 4% ในปีหน้า สาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นประมาณ 20% ของ GDP แต่รัฐบาลยังหวังที่จะยกระดับอุตสาหกรรมไทยด้วยการส่งเสริมการลงทุนและดึงผู้มีความสามารถมาสู่เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชากรสูงอายุขึ้นอย่างรวดเร็ว
การจัดทำ LTR Visa จึงเป็นมาตรการดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งเลขาธิการบีโอไอ มองว่า โครงการนี้เกิดขึ้นในขณะที่บริษัทต่างๆ ทั่วโลกกำลังต้องปรับโครงสร้างห่วงโซ่อุปทานของตัวเอง เป็นโอกาสดีให้กับประเทศที่หวังจะดึงดูดการลงทุนให้มากขึ้น
"ไทยเราสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อธุรกิจ ที่ตอนนี้ต้องเผชิญทั้ง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โควิด และการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน" "ไทยไม่ขัดแย้งกับประเทศใดๆ และปลอดภัยสำหรับการลงทุน"
สำหรับเป้าหมายของการดึงนักลงทุน และชาวต่างชาติเข้ามาพำนักระยะยาวในประเทศไทยยังคงเป้าหมายไว้ที่ 1 ล้านคนภายใน 5 ปี จึงต้องมีกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้เข้ามากว่าปีละ 200,000 คน ซึ่งหวังจะนำประเทศไทยไปสู่การเติบโตในภาคส่วนต่างๆ เช่น ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ การบิน และการแพทย์ หรือธุรกิจ อุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น
สำหรับกลุ่มเป้าหมายของ LTR Visa คือ
1.ผู้มีความมั่งคั่งสูง ต้องมีทรัพย์สินมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 เหรียญสหรัฐ/ปี และลงทุนในไทยไม่น้อยกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐ
2.ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีรายได้จากการเกษียณขั้นต่ำปีละ 4 0,000 ดอลลาร์ ลงทุนขั้นต่ำ 2.5 แสนดอลลาร์ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรืออาจมีการลงทุนทางตรง หรือในอสังหาริมทรัพย์ที่มูลค่าเทียบเท่ากัน
3.กลุ่มที่ต้องการทำงานจากไทย คือ ผู้ประกอบอาชีพดิจิทัล หรือพนักงานองค์กรขนาดใหญ่และใกล้เกษียณอายุ ต้องมีรายได้ขั้นต่ำปีละ 40,000 ดอลลาร์ต่อปี
4.กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ คือ ผู้ประกอบอาชีพดิจิทัล หรือพนักงานองค์กรขนาดใหญ่ และใกล้จะเกษียณอายุ (Crop program) ซึ่งต้องมีรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำปีละไม่น้อยกว่า 40,000 ดอลลาร์ต่อปี
ผู้ถือวีซ่า LTR จะได้รับสิทธิพิเศษอะไรบ้าง?
สิทธิพิเศษมากมายสำหรับผู้ถือวีซ่า LTR ที่จะทำให้การใช้ชีวิตในประเทศไทยง่ายขึ้นในระยะยาวและระบบราชการน้อยลง สิทธิพิเศษเหล่านี้ ได้แก่
-วีซ่าต่ออายุ 10 ปี
-ได้รับการยกเว้นจากคนไทย 4 คน เป็น 1 คน อัตราส่วนความต้องการจ้างงานชาวต่างชาติ
-รายงาน 90 วันขยายเป็นรายงาน 1 ปีและยกเว้นใบอนุญาตกลับเข้าประเทศ
-ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย (ใบอนุญาตทำงานดิจิทัล)
-ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 17% สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง
- บริการอำนวยความสะดวกด้านการตรวจคนเข้าเมืองและใบอนุญาตทำงาน