“ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้ ครั้งก่อน 3.6% ตอนนี้ด้วยเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และจากทั้งตัวเลขการส่งออกไทย คงมีการปรับตัวเลขลงบ้าง แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ และปีหน้าจะจะเติบโตอยู่ประมาณ 3% กลางๆ เงินเฟ้อจะทยอยกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 1-3%”
เปิดมุมมองเศรษฐกิจ "ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย" จากผู้ว่าธปท.มองเศรษฐกิจไทยยังไปต่อ จากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยการบริโภคภายในประเทศและการท่องเที่ยว ห่วงส่งออกหดตัวจากเศรษฐกิจโลก ส่งสัญญาณประชุมกนง.ครั้งถัดไปไม่ "คง" ก็ "ขึ้น" ดอกเบี้ย แต่ไม่ "ลง" แน่นอน
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สนทนากับผู้ว่าการ หัวข้อ “ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจการเงินไทย” ในงานสัมมนาวิชาการธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ประจำปี 256 เรื่อง “ยกระดับเศรษฐกิจเหนือ คว้าโอกาสบนโลกแห่งความท้าทาย” เปิดเผยถึงมุมมองเศรษฐกิจไทยว่า ภาพรวมของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง คาดการณ์เศรษฐกิจไทย ล่าสุดปีนี้ อยู่ป3.6% เงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย
“ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปีนี้ ครั้งก่อน 3.6% ตอนนี้ด้วยเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง และจากทั้งตัวเลขการส่งออกไทย คงมีการปรับตัวเลขลงบ้าง แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ และปีหน้าจะจะเติบโตอยู่ประมาณ 3% กลางๆ เงินเฟ้อจะทยอยกลับเข้าสู่เป้าหมายที่ 1-3%” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าว
สำหรับตัวเลขเงินเฟ้อของไทยขณะนี้แม้จะดูว่าจะอยู่ในระดับต่ำ 0.4% ล่าสุด แต่แนวโน้มน่าจะกลับขึ้นไปใหม่ อยู่ในกรอบระยะยาวของธปท. ตัวเลขจีดีพี สภาพัฒน์ ออกมาไตรมาส 2 อาจจะมีโอกาสต่ำลงมาเล็กน้อย แต่ไม่ได้บ่งบอกว่า ภาพเศรษฐกิจการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไปได้ จากการขับเคลื่อนของการบริโภคภาคเอกชนออกมาค่อนข้างดี มากกว่า 4% และมาจากการท่องเที่ยว คาดว่าปีนี้น่าจะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 29 ล้านคน จากปีก่อน 11 ล้านคน
แต่จะมีตัวเลขการส่งออกยังไม่ค่อยดี จากเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ซึ่งเศรษฐกิจไทยกับเศรษฐกิจจีนมีความเกี่ยวโยงกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในไทย ถือเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในไทยทั้งหมด บวกกับส่งออกไทยไปจีน
ผู้ว่าการธปท. เผยว่า เรื่องการท่องเที่ยวเป็นช่วงไฮซีซัน การบริโภคภายในประเทศโตต่อเนื่อง แต่ต้องติดตามดู คือ การส่งออกไทย ครึ่งปีแรกยังไม่ค่อยดี จากการส่งออกโลก จากวัฎจักรของอิเล็กทรอนิกส์ฟื้นช้ากว่าที่คิด ตัวเลขภาคการผลิตของโลก โดยเฉพาะจีนฟื้นตัวช้า แต่ตัวเลขที่ทำให้สบายใจได้ คือ การบริโภคภายในประเทศ บริการ รวมถึงตัวเลขท่องเที่ยว
เศรษฐกิจภาคเหนือของไทยพึ่งพิงกับการเกษตรค่อนข้างมาก สัดส่วนแรงงานภาคเกษตรสูง แต่ภาคการผลิตค่อนข้างน้อย ปัจจัยเสี่ยง คือ เอลนิโญ่ เริ่มเห็นผลครึ่งหลังของปีนี้ จนถึงปีหน้า
ปีที่แล้วเงินเฟ้อทั้งประเทศ พีค เดือนส.ค.65 อยู่ที่ 7-9% ขณะนั้นคณะกรรมการนโยบายการเงินเริ่มมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดูแลเงินเฟ้อ เริ่มขึ้นครั้งแรก คือ เดือนส.ค.65 นโยบายการเงินเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป
“นโยบายการเงินในส.ค.ของปีที่แล้ว จากภาวะเงินเฟ้อที่ขึ้นสูง คือ ทำอย่างไรให้ smoot take off ทำให้การฟื้นตัวไปได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด เพราะการขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุด” ผู้ว่าธปท.กล่าว
ภาพอัตราเงินเฟ้อต่างประเทศมาจากฝั่งอุปสงค์ เศรษฐกิจร้อนแรง แต่เงินเฟ้อของไทยมาจากฝั่งอุปทาน มาจากราคาพลังงาน ราคาอาหาร โอกาสที่จะเกิดต้นทุนขึ้น ค่าแรงจะขึ้นหรือไม่ ก็ไม่เห็น และเมื่อปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป อัตราเงินเฟ้อกลับลงมาดีกว่าคาด
มาวันนี้ บริบทเปลี่ยน เศรษฐกิจไทยเติบโตสูงกว่าก่อนช่วงโควิด-19 ระดับกว่า 3% ก็ดี โจทย์ก็เปลี่ยน ตอนนี้เน้น smoot landing ถามว่าอะไรที่ทำให้ landing ลงได้ดี โดยต้องคำนึงถึงภาพเศรษฐกิจในระยะยาวมากขึ้น ใน 3 ปัจจัย ดังนี้
“ประโยคหนึ่งที่ใช้สื่อสาร คือ การดำเนินนโยบายของเรา outlook dependent มันขึ้นอยู่กับแนวโน้มที่เรามอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ data dependent เหตุผลที่ดูแนวโน้มมากกว่าข้อมูล เพราะ data แต่ละทีมันไม่เสถียร มันผันผวน เพราะบางทีอาจเจอปัจจัยเฉพาะ หรือชั่วคราว และการที่เราจะตัดสินใจเรื่องที่เป็นระยะยาว ด้วยข้อมูลที่มาระยะสั้น มันมีความไม่เสถียรเยอะ จึงไม่เหมาะ”
“บริบทเศรษฐกิจเปลี่ยน โจทย์นโยบายการเงินเปลี่ยน ภาษาในคำแถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งล่าสุด ที่ว่า “ขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป” ตอนนี้ภาษานี้ไม่อยู่ละ แสดงว่า “ตอนนี้อยู่ใกล้จุดที่จะมีการเปลี่ยนนโยบาย จาก Smooth Takeoff มาเป็น Landing แล้ว ไม่จำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเหมือนในช่วงที่ผ่านมา เป็นการเพิ่ม Optionality คือ ในการประชุมนโยบายการเงินครั้งหน้า “มีโอกาสจะคง หรือขึ้นดอกเบี้ย” ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ออกมาเป็น Outlook Dependent และสิ่งที่จะยังไม่เห็นแน่นอน คือ “ไม่ลงดอกเบี้ย” เพราะยังไม่เหมาะที่จะลง ผู้ว่าธปท.กล่าว
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาดอกเบี้ยนโยบายทุกครั้งจะมีการคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกหนี้ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางด้วย แต่การขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา นับว่ามีความจำเป็น เพราะหากปล่อยให้เงินเฟ้อติดเครื่องความเสียหายกับลูกหนี้จะรุนแรงมากกว่า
ในปัจจุบันที่มียอดคงค้างอยู่ราว 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP ถือเป็นระดับที่สูงเกินกว่าระดับเฝ้าระวังที่ 80% ต่อ GDP ตามที่ Bank for International Settlements (BIS) กำหนดไว้ในปี 2567
ธปท. จะเริ่มบังคับใช้มาตรการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่รวมถึงการดูแลปัญหาหนี้เรื้อรัง (Persistent Debt) ไม่สามารถปิดจบได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน
นอกจากนี้ ธปท. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางอื่นๆ เพื่อดูแลหนี้ครัวเรือนเพิ่มเติมควบคู่ไปด้วย อาทิเช่น
สำหรับกลุ่มลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำหรือมีประวัติการชำระหนี้ดีจะมีโอกาสได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเพดานดอกเบี้ยปัจจุบัน
โดยมาตรการ DSR อาจมีนัยต่อการเติบโตและการเข้าถึงสินเชื่อบ้าง แต่ในบริบททางเศรษฐกิจก่อนบังคับใช้ด้วย การจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ไม่อยากให้หนี้โตคงไม่สามารถจะเลี่ยงผลกระทบต่อ Growth ของสินเชื่อได้ทั้งหมด แต่จะพิจารณาเงื่อนไข และมีความยืดหยุ่นต่างๆ ให้มีความเหมาะสม และเป็นรูปแบบค่อยเป็นค่อยไป
ขณะที่แนวโน้มหนี้เสียหรือ NPL ในระบบว่า ในระยะข้างหน้าหนี้เสียมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ที่ออกมาก่อนหน้านี้จะหมดไป ทำให้กลุ่มหนี้ที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (Special Mention Loan) หรือหนี้ที่มีการค้างชำระ 31-90 วันบางส่วนอาจไหลมาเป็นหนี้เสีย แต่เชื่อว่าจะไม่รุนแรงถึงขั้นกลายเป็นหน้าผาจนกระทบเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เนื่องจากตัวเลขที่เห็นกลุ่มที่เป็นหนี้เสีย
กล้บมาเป็นหนี้ปกติในอัตราสูงถึง 30% ขณะที่หนี้เสียใหม่มีอัตราการเติบโตหรือ อัตราการเพิ่มขึ้นที่น้อยกว่า แสดงว่า ลูกหนี้มีความสามารถในการกลับมาจ่ายหนี้ได้เป็นปกติมากขึ้น
“หนี้กลุ่ม SM ที่จะไหลไปเป็น NPL เช่น กรณีสินเชื่อบ้าน พบว่า Migration Rate ที่ไหลไปเป็น NPL ปัจจุบันอยู่ที่ 22% ลดลงจากในช่วงก่อนหน้าที่สูงถึง 32% ขณะที่หนี้ NPL กลับไปเป็นปกติ สูงถึง 30% ในภาพรวมเราคงเห็น NPL เพิ่มขึ้น แต่จะไม่ได้สูงจนน่ากังวล เพราะกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าโครงการช่วยเหลือแล้วจะได้รับความช่วยเหลือตามเงื่อนไขต่อไป แม้ว่ามาตรการจะหมดอายุแล้วก็ตาม” ผู้ว่าธปท.ระบุ
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองไทยว่า ขณะนี้มีหลายคนที่กังวลว่าการตั้งรัฐบาลล่าช้าจะมีผลกับการจัดทำงบประมาณจนกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ประเด็นนี้ ธปท. ไม่ได้มีความเป็นห่วง เพราะในสมมติฐานทางเศรษฐกิจของ ธปท. ได้ใส่เรื่องนี้เข้าไปในประมาณการแล้ว โดยส่วนที่จะกระทบไม่ใช่งบประจำ แต่เป็นเม็ดงบลงทุนใหม่ ที่ตัวเลขไม่ได้สูงจนทำให้ภาพเศรษฐกิจในปีนี้เปลี่ยน
ความเสี่ยงที่คิดว่าน่ากังวลมากกว่าไม่ใช่การจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า แต่เป็นทิศทางการกำหนดนโยบายของรัฐบาลใหม่ เพราะทั่วโลกขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการทำนโยบายไม่บั่นทอนเสถียรภาพ หรือสร้างความผิดเพี้ยนให้กับตลาด เช่น กรณีที่รัฐบาลอังกฤษประกาศจะทำนโยบายต่างๆ แต่ไม่สามารถตอบได้ว่า จะเอาเงินมาจากไหน จนส่งผลต่อความเชื่อมั่น และล่าสุดสหรัฐฯ ก็ถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจากปัญหาด้านเสถียรภาพทางการคลัง
โดยสิ่งที่อยากฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ คือ ไม่อยากเห็นการทำนโยบายที่ไปบั่นทอนเสถียรภาพ และเข้าใจว่า รัฐบาลใหม่คงต้องมีนโยบายแนวประชานิยมบ้าง ถ้ายังอยู่ในกรอบ ไม่มากเกินไป มีวิธีหาเงินมารองรับที่ชัดเจนก็จะดี แต่ถ้ามากเกินไปก็มีความน่าเป็นห่วง