ข่าวเศรษฐกิจ

'เงินบาท' ในอนาคตจะเป็นอย่างไร? เมื่อเฟดยังไม่ลดดอกเบี้ย ศก.ไทยฟื้นช้า

14 พ.ค. 67
'เงินบาท' ในอนาคตจะเป็นอย่างไร? เมื่อเฟดยังไม่ลดดอกเบี้ย ศก.ไทยฟื้นช้า

ค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา มีความผันผวนของค่อนข้างสูง และเงินบาทอ่อนค่าติด 3 อันดับแรกของสกุลเงินในเอเซีย แม้จะมีแรงหนุนให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นบางจังหวะ ตามราคาทองคำในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์จากความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็ตาม

แต่แนวโน้มค่าเงินบาทไทยจะเป็นอย่างไร? เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังไม่มีท่าทีที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย และเศรษฐกิจไทยก็ยังฟื้นตัวช้า

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทไทย อ่อนสุดในรอบ 6 เดือนครั้ง ที่ระดับ 37.18 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีความผันผวนในอันดับต้นๆ ของเอเซีย

โดยเงินบาทอ่อนค่า เป็นอันดับ 2 ของค่าเงินสกุลในเอเซีย อ่อนค่าลง 7.2% เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน รองมาจาก ค่าเงินเยน ของญี่ปุ่น ที่อ่อนค่าถึง 9.5% ท่ามกลางการแข็งค่าของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จากตลาดคาดการณ์ว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะไม่เกิดขึ้นเร็วนัก ซึ่งส่งผลให้มีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยประมาณ 1.3 แสนล้านบาท ข้อมูล ณ 10 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา

ค่าเงินบาทช่วง 1-3 เดือนข้างหน้ามีโอกาสอ่อนค่าลง

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทไทยในช่วง 1-3 เดือนข้างหน้าจะเป็นอย่างไรนั้น? ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินไว้ว่า ค่าเงินบาทไทยมีโอกาสอ่อนค่ากลับไปที่แนว 37.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากปัจจัยดังนี้

  1. เฟดอาจเลื่อนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไป ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า จะเกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3/2567 เป็นอย่างเร็ว
  2. ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีโมเมมตัมในลักษณะค่อยเป็นค่อยป และอาจมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดขึ้นในช่วงประมาณไตรมาส 3/2567

เมื่อมองไปข้างหน้า ทำให้คาดว่า ความผันผวนของเงินบาทจะมีอยู่สูงกว่า 5.0% ซึ่งเป็นระดับที่เห็นในช่วงก่อนโควิด-19 ดังนั้น การปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนของภาคธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความอ่อนไหวต่อเงินบาทที่อ่อนค่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบสูง แต่มียอดขายส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ เช่น โรงกลั่นน้ำมัน การผลิตเครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นำเข้าปุ๋ยและยาฆ่าแมลง สิ่งทอ อุปกรณ์ขนส่ง และเหล็กแผ่น เหล็กเส้น  ซึ่งผู้ประกอบการฝั่งนำเข้าและมีภาระหนี้ต่างประเทศที่ต้องชำระคืนในระยะสั้นนั้น ควรทำการ Hedging เพื่อปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังผันผวนอยู่ในช่วงหลายเดือนข้างหน้า

pr-thai-baht

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT