ข่าวเศรษฐกิจ

นายกฯไทยถกเวทีอาเซียน ผู้แทนเมียนมาร่วมประชุมครั้งแรกหลังรัฐประหาร

9 ต.ค. 67
นายกฯไทยถกเวทีอาเซียน ผู้แทนเมียนมาร่วมประชุมครั้งแรกหลังรัฐประหาร

ที่ประชุมอาเซียนสั่งห้ามไม่ให้ผู้นำทางทหารของเมียนมาเข้าร่วมประชุม นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021 แต่อนุญาตให้เมียนมาส่งผู้แทนที่ไม่ได้มาจากภาคการเมืองเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม เมียนมาปฏิเสธมาโดยตลอด จนกระทั่งปีนี้ เมียนมาได้ส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงต่างประเทศมาเป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุม ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลาสามวันที่กรุงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 9-11 ตุลาคม 2024

ด้านนักการทูตของประเทศหนึ่งในอาเซียนให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่า ครั้งนี้ที่เมียนมายอมส่งผู้แทนมา อาจจะเป็นเพราะพวกเขาคิดว่า ให้เสียงจากเมียนมาดังขึ้นในที่ประชุมคงจะดีกว่าไปได้ยินจากที่อื่น

รายงานยังระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของเมียนมาเกิดขึ้นเพียงสองสัปดาห์ หลังจากที่กองทัพเมียนมาออกคำเชิญให้กองกำลังต่างๆที่สู้รบกันอยู่กับกองทัพรัฐบาลเข้ามาพูดคุย เพื่อหาทางยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศ ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนไปหลายพันคนและยังทำให้ผู้คนอีกนับล้านต้องอพยพออกจากบ้านเรือน

เมียนมา-ทะเลจีนใต้ สองความท้าทายของอาเซียน

นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย เดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งในเวทีนี้ ปัญหาความท้าทายหลักก็คือ วิกฤตการเมืองในเมียนมา และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

2024-10-09t024741z_165866006__1

2024-10-09t030915z_1508923398

นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน

ภาพจาก Reuters

นายสะเหลิมไซ กมมะสิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของลาว เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนก่อนหน้านี้ โดยชี้ว่า อาเซียนต้องพยายามร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายต่างๆ เพื่อคงไว้และส่งเสริม ความมั่งคั่ง เสถียรภาพและสันติภาพของภูมิภาคและโลกใบนี้เอาไว้

อย่างไรก็ตาม วิกฤตสงครามกลางเมืองเมียนมา และทะเลจีนใต้ ซึ่งมีจีน และสองชาติในอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์และเวียดนามเข้าไปเกี่ยวข้อง ยังคงเป็นประเด็นใหญ่ ซึ่งอาเซียนพยายามแก้ปัญหาเหล่านี้มาโดยตลอด แต่ก็พบว่า ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้มาก

เรดิโอฟรีเอเชียรายงานบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ไอชา การ์ติ ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ว่า เมื่อเป็นประเด็นร้อน อย่างความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือวิกฤตการเมืองในเมียนมา อาเซียนแสดงความอ่อนแอออกมาให้เห็นทันที ดังนั้นอาเซียนต้องปรับตัว เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และในประเด็นร้อนอย่างทะเลจีนใต้ อาเซียนก็ควรจะเสริมสร้างพลังให้เข้มแข็งในกลุ่มสมาชิก เพื่อให้มีเสียงไปเจรจากับพลังภายในนอกอย่างจีน

ทั้งนี้ นายหลี่ เฉียง นายกรัฐมนตรีของจีน และนายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ จะเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนด้วย โดยคาดว่า บลิงเคนน่าจะมุ่งประเด็นไปที่สงครามกลางเมืองของเมียนมาเป็นหลัก และการที่จีนยังคงกดดันเพื่อกล่าวอ้างอธิปไตยในทะเลจีนใต้เหนือชาติอื่นๆของอาเซียน

Channelnewsasia

Radio Free Asia 

advertisement

SPOTLIGHT