ทรูมันนี่ ผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีผู้ใช้งานจำนวนมาก มียอดเงินหมุนเวียนธุรรมตลอดปีกว่า 5 แสนล้านบาท มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นทุกปีและคาดว่าอาจถึง 35 ล้านคนภายในสิ้นปีนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการ ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางการเงินของลูกค้า เนื่องจากในช่วง 1 ปีที่ ผ่านมามีปัญหาภัยออนไลน์ที่แจ้งมายังเว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติกว่า 247,753
‘TrueMoney 3 x Protection’ ระบบการป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น
ทรูมันนี่จึงได้เปิดตัว ระบบป้องกันการดูดเงิน 3 ชั้น ‘TrueMoney 3 x Protection’ โดยจับมือร่วมกับพันธมิตรอย่าง ‘ชิลด์’ (SHIELD) ซึ่งเป็นบริษัทดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก และ ‘โซลอส’ (ZOLOZ) ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นและเทคโนโลยีการยืนยันตัวตนแบบ Biometric ระดับโลก โดยมีการนำความชาญฉลาดของปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานร่วมกับเทคโนโลยีวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อรวบรวม จำแนก และจดจำ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ พร้อมตรวจจับและสั่งการหากมีอะไรผิดปกติ และให้การปกป้องบัญชีผู้ใช้ถึง 3 ชั้น ได้แก่
ชั้นที่ 1 - ตรวจ : ว่าเป็นคุณตัวจริงที่เข้าใช้งานบัญชี
การเข้าใช้งานบัญชีด้วยระบบยืนยันตัวตนหลากหลายรูปแบบ เช่น การเรียกสแกนหน้าเพื่อตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ ถึงมีมิจฉาชีพที่ล่อลวงจนรู้ OTP หรือ Pin Code แต่ก็ไม่สามารถล็อกอินบัญชีคุณได้ เพราะถูกระบบสแกนตรวจใบหน้าป้องกันไว้
อีกทั้งระบบสามารถตรวจจับค่า IP address หรือ Location หากมีการเข้าใช้งานจากอุปกรณ์ใช้งานที่แตกต่างไปจากที่ผู้ใช้เจ้าของบัญชีได้ลงทะเบียนหรือใช้งาน
ชั้นที่ 2 - จับ : มัลแวร์หรือแอปต้องสงสัย
แอปดูดเงิน และแอปแปลกปลอมที่ไม่ปลอดภัย หากติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ใช้งานทรูมันนี่ และปฏิเสธการอนุญาตเข้าใช้งาน
ชั้นที่ 3 – หยุด : การทำธุรกรรมที่ผิดปกติ
หากมีการทำรายการที่ผิดปกติ ระบบเอไอจะจำแนก และกำหนดค่าความเสี่ยง เพื่อตรวจสอบความผิดปกติจากประวัติการทำรายการย้อนหลัง และให้ลูกค้าทำการยืนยันตัวตนหลากหลายรูปแบบ หรือหยุดยั้งรายการที่มีความผิดปกติ เพื่อป้องกันการถูกดูดเงินออก
ด้านนางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าวว่า “นอกเหนือจากความมุ่งมั่นในการมอบบริการทางการเงินที่ใช้งานง่ายและช่วยเพิ่มคุณค่าในทุกการใช้งานให้กับผู้ใช้ ทรูมันนี่ ยังให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มอบความปลอดภัย ให้ความมั่นใจกับผู้ใช้ในทุกการใช้งาน”
ข้อมูลจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ได้เปิดเผยถึงสถิติ ในปี 2555 มีผู้เสียหายมาร้องเรียนยังเว็บไซต์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กว่า247,753 เรื่อง ขณะที่ผลการอายัดบัญชีที่มีคำร้องทั้งหมด 74,129 บัญชี มีการขออายัด 54,017 บัญชี ยอดเงิน 6.9 พันล้านบาท และอายัดได้ทัน 449 ล้านบาท หรือเพียง 6.4% ของยอดเงินที่มีการร้องขออายัด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายสูงถึง 32,083 ล้านบาท
อีกทั้งสมาคมธนาคารไทย ได้พบว่า มิจฉาชีพเริ่มมีการล่อลวงติดตั้งแอปเพื่อเข่ามาดูดข้อมูล เช่น แอปการเงิน เพื่อเข้ามาควบคุมอุปกรณ์และแอปการเงินของผู้เสียหาย (ATO - Account Take Over) เพื่อดูดเงินจากบัญชี ส่งผลให้มีผู้เสียหายจากการตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 500 ล้านบาท