Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ผ่างบแบงก์ 9 เดือน แบงก์ไหนกำไรโตสุด
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ผ่างบแบงก์ 9 เดือน แบงก์ไหนกำไรโตสุด

21 ต.ค. 66
17:00 น.
|
2.0K
แชร์

เศรษฐกิจไทยปี 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น และในช่วงไฮซีซันยังได้รับแรงกระตุ้นจากนโยบายฟรีวีซ่าของภาครัฐ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว 2.5 เท่าตัว ซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน ขณะที่ภาคการส่งออกและการลงทุนของภาคเอกชนได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนการลงทุนภาครัฐในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคมอาจได้รับผลกระทบจากความล่าช้าในกระบวนการจัดทำ พ.ร.บ.งบประมาณประจำปี 2567

โดยในไตรมาส 3 ปี 2566 เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวจากการภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นหลัก ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกของประเทศไทยชะลอตัวลง ตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่อ่อนตัว 

ทิศทางเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ยังเผชิญกับความท้าทายจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมไปถึงความไม่แน่นอนจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน เพิ่มความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุน และผลักดันให้ราคาพลังงานในตลาดโลกปรับสูงขึ้น  ขณะที่ในประเทศมีความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ระดับสูง  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจกระทบผลผลิตและรายได้ในภาคเกษตร และภาคครัวเรือนที่ยังมีภาระหนี้สูง

สำหรับภาคธนาคารพาณิชย์ไทยได้มีการประกาศผลประกอบการออกมา โดย 10 แบงก์ไทยมีผลกำไรสุทธิรวมกันแล้วกว่า 180,730.75 ล้านบาท SPOTLIGHT พามาผลประกอบการของแบงก์ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ 

แบงก์กรุงเทพกำไรสุทธิ 32,773 ล้านบาท โต 50%

ธนาคารกรุงเทพมีกำไรสุทธิสำหรับ 9 เดือนปี 2566 จำนวน 32,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 50.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 33.3% สอดคล้องกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย 

โดยอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น สุทธิกับการทยอยเพิ่มขึ้นของต้นทุนเงินรับฝากและการปรับอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าสู่
ระดับเดิมตั้งแต่ต้นปี 2566 ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิอยู่ที่ 2.96%  ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 16.4% ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจและส่วนหนึ่งจากค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ การดำเนินงาน 

โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานลดลงอยู่ที่ 46.4% ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารมีการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง จึงมีการตั้งสำรองในไตรมาส 3 ปี 2566 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน โดยสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน 9 เดือนปี 2566 มีจำนวน 26,323 ล้านบาท

ธนาคารกรุงเทพยังคงดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังและรอบคอบ พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพฐานะการเงิน สภาพคล่อง และเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ขณะที่ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจำนวน 2,723,751 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.5% จากสิ้นปีก่อน ส่วนใหญ่จากสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่และสินเชื่อกิจการต่างประเทศ  สำหรับอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อรวมอยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ที่ 3.0%  

ทั้งนี้ จากการที่ธนาคารยึดหลักการตั้งสำรองด้วยความระมัดระวังและรอบคอบอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตต่อเงินให้สินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 283.3%

“กรุงไทย” กำไรสุทธิ เพิ่มขึ้น 22%  

ธนาคารกรุงไทย กำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2566 จำนวน 10,282 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% และช่วง 9 เดือนมีกำไรสุทธิ 30,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19%  จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลจากรายได้จากการดำเนินงานขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายและบริหารคุณภาพสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง มุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า “ธนาคารกรุงไทยจึงดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง และบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิด โดยรักษาระดับของ Coverage Ratio ในระดับสูง เพื่อรองรับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและให้ความสำคัญกับการดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มให้สามารถปรับตัวรองรับกับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน”

ในช่วง 9 เดือนของปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของธนาคาร เท่ากับ 30,505 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 19.2% จากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ เพื่อสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน รายได้รวมจากการดำเนินงานขยายตัวอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง 21.1% จากการเติบโตของสินเชื่อตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร 

ทั้งสินเชื่อรายย่อยและ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และการขยาย สินเชื่อภาครัฐเพื่อรักษาสมดุลด้านความเสี่ยงและผลตอบแทน (Risk and Return) ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน  ส่งผลให้สินเชื่อไม่รวมภาครัฐขยายตัว  3.2%  จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา  ประกอบกับธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยพิเศษจากลูกค้ารายใหญ่ รวมถึงการขยายตัวของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ธนาคารให้ความสำคัญกับการขยายการลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตและยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ Cost to Income Ratio เท่ากับ 40.4%  ลดลงจาก 43.1% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ธนาคารและบริษัทย่อยตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เพิ่มขึ้น 42.9% เพื่อรักษาระดับของ Coverage Ratio ในระดับสูงเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ

เอสซีบี เอกซ์ ประกาศผลกำไรสุทธิ 32,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.0%

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิเก้าเดือนแรกของปีนี้จำนวน 32,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.0% ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งเป็นบริษัทหลักในกลุ่ม มีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 จำนวน 11,782 ล้านบาท ลดลง 6.3% และมีกำไรสุทธิสำหรับเก้าเดือนแรกของปีจำนวน 36,627 ล้านบาท     เพิ่มขึ้น 21.2%

ในไตรมาส 3 ของปี 2566 รายได้จากการดำเนินงานมีจำนวน 43,344 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 9.0% โดยแบ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยสุทธิจำนวน 31,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.8% จากการเติบโตของสินเชื่อ และการขยายตัวของส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) รายได้ค่าธรรมเนียมและอื่น ๆ จำนวน 10,667 ล้านบาท ลดลง 9.2% และรายได้จากการลงทุนและการค้าเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าตัวจากปีที่แล้วมาเป็น 1,141 ล้านบาท

โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 18,490 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ที่ 42.7% ซึ่งสะท้อนถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น บริษัทฯ ได้ตั้งเงินสำรองพิเศษจำนวน 1,500 ล้านบาท ทำให้เงินสำรองที่ตั้งในไตรมาสนี้เป็นจำนวน 12,245 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อสินเชื่อ (Credit cost) ที่ 2.01% โดยอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 167.2%

ส่วนคุณภาพของสินเชื่อโดยรวมยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ดี โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 อยู่ที่ 3.30% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.25% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 และเงินกองทุนรวมตามกฎหมายของบริษัทฯ ยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.7%

นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัท เอสซีบี เอกซ์ มีผลประกอบการที่มั่นคงอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 3 ปี 2566 มีการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่ง การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ และการบริหารคุณภาพสินเชื่ออย่างรัดกุม โดยธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งเป็นบริษัทหลักในกลุ่ม มีขีดความสามารถในการทำกำไรสูง บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองพิเศษเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจากจากสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยคุณภาพสินเชื่อโดยรวมมีแนวโน้มที่ควบคุมได้ดี

กรุงศรีเผยผลกำไรสุทธิเก้าเดือนแรกปี 2566 จำนวน 25,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.0%

กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผลประกอบการเก้าเดือนแรกของปี 2566 มีกำไรสุทธิจำนวน25,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.0% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของรายได้จากการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย อันเป็นผลมาจากการเติบโตของเงินให้สินเชื่อในประเทศและการควบรวมกิจการพอร์ตสินเชื่อเพื่อผู้บริโภคในต่างประเทศ

ผลประกอบการที่แข็งแกร่งสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของเงินให้สินเชื่อรวมที่ 3.5% และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.70% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2566 แม้ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึง ภาระการตั้งสำรองสำหรับธุรกิจในต่างประเทศตามนโยบายบริหารจัดการความเสี่ยงที่เข้มงวดระมัดระวัง

สำหรับเงินให้สินเชื่อรวม เพิ่มขึ้น 3.5% หรือจำนวน 67,428 ล้านบาท จากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการเติบโตของสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสินเชื่อเพื่อรายย่อย ซึ่งครอบคลุมบริษัทลูกต่างประเทศแห่งใหม่ในไตรมาสสองของปี 2566

โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.70% จาก 3.44% ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนอัตราดอกเบี้ยและต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น

ขณะที่อัตราส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL Ratio) อยู่ที่ 2.48% เมื่อเทียบกับ 2.32% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 โดยมีปัจจัยหลักมาจากนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้วยความรอบคอบระมัดระวังของธนาคาร ขณะที่สัดส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 149 เบสิสพอยท์  และอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ อยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 155.1% อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ของธนาคาร) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 18.38% เทียบกับ 17.97% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565

นายเคนอิจิ ยามาโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของธนาคารได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ทั้งจากธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ โดยยังคงรักษาความเข้มงวดระมัดระวังในการบริหารจัดการความเสี่ยงอยู่เสมอ”

“เศรษฐกิจไทยโดยรวมยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2566 แม้ว่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์อันเนื่องมาจากอุปสงค์ในต่างประเทศที่อ่อนตัวลง ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่สี่ของปีนี้ โดยได้รับแรงขับเคลื่อนของการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยวและผลจากฐานที่ต่ำในไตรมาสที่สี่ของปีก่อนหน้า กรุงศรียังคงเป้าหมายการเติบโตของเงินให้สินเชื่อปี 2566 ไว้ที่ 3-5%”

ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กรุงศรี ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าในระบบเศรษฐกิจไทยจากมูลค่าสินทรัพย์ สินเชื่อและเงินรับฝาก และเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบ (D-SIB) มีสินเชื่อรวม 2.02 ล้านล้านบาท เงินรับฝาก 1.77 ล้านล้านบาท และสินทรัพย์รวม 2.76 ล้านล้านบาท ขณะที่เงินกองทุนของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 309.12 พันล้านบาท หรือเทียบเท่า 18.38% ของสินทรัพย์เสี่ยง โดยเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นของเจ้าของคิดเป็น 13.66%

ทีเอ็มบีธนชาต มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 13,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 31% 

ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต (ทีทีบี) แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 และรอบ 9 เดือน ปี 2566 โดยมีกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2566 อยู่ที่ 4,735 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวม 9 เดือน ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 13,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% จากปีที่แล้ว ด้านคุณภาพสินทรัพย์ยังคงบริหารจัดการได้ตามเป้าหมาย โดยมีอัตราส่วนหนี้เสียอยู่ในระดับต่ำที่ 2.67% ขณะที่อัตราส่วนสำรองฯ ต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพทรงตัวในระดับสูงที่ 144%

นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ยังคงมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องจาก 2 ไตรมาสแรก รวม 9 เดือน ถือว่าธนาคารทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ การบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินงาน และการดูแลคุณภาพสินทรัพย์ ส่งผลให้มีกำไรที่ดีและฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น 

ทั้งนี้ ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเผชิญกับความผันผวนจากทั้งในและนอกประเทศ ธนาคารยังคงใช้นโยบายการเติบโตสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวัง เนื่องจากมองว่าการเร่งเติบโตสินเชื่อท่ามกลางภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยนี้อาจก่อให้เกิดหนี้เสียและภาระการตั้งสำรองฯ ตามมาในภายหลัง ขณะเดียวกันธนาคารยังคงมีแนวทางการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อดูแลลูกค้า ดังนั้นแล้ว การสร้างรายได้และผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจึงเน้นไปที่เรื่องของการใช้เงินทุนและสภาพคล่องที่มีอยู่ให้ได้รับประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ควบคู่ไปกับการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ

ในการบริหารพอร์ตเพื่อหนุนรายได้และผลตอบแทนจากดอกเบี้ย ธนาคารใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า การรีไซเคิลเงินทุน หรือการหมุนเวียนนำเอาสภาพคล่องที่ได้รับกลับมาจากการชำระคืนหนี้ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ไปปล่อยกู้ให้กับสินเชื่อใหม่ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าภายใต้กรอบความเสี่ยงที่กำหนดไว้

ด้านการเติบโตสินเชื่อใหม่จะเน้นการต่อยอดจากฐานลูกค้าเดิมของธนาคาร ผ่านการ cross sell หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ลูกค้ามีอยู่ เช่น สินเชื่อบ้านแลกเงิน สินเชื่อรถแลกเงิน สินเชื่อบุคคล และบัตรเครดิต ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการให้สินเชื่อแล้ว ยังช่วยควบคุมคุณภาพสินเชื่อ เนื่องจากเรารู้จักและเข้าใจความเสี่ยงของลูกค้าเป็นอย่างดี 

ในด้านการบริหารต้นทุนทางการเงินนั้น ธนาคารใช้กลยุทธ์การขยายฐานเงินฝากล่วงหน้าก่อนที่จะเข้าสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น โดยได้ทยอยขยายฐานเงินฝากประจำล่วงหน้ามาตั้งแต่ปีที่แล้วกว่า 40% ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาสามารถควบคุมต้นทุนเงินฝากได้ตามแผน ทั้งนี้ เงินฝากโดยรวมของธนาคารที่ปรับตัวลดลงเป็นผลจากการที่ผู้ฝากเงินนำเงินฝากออมทรัพย์ระยะสั้นย้ายไปลงทุนในเงินฝากระยะยาวรวมถึงตราสารหนี้ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

แชร์
ผ่างบแบงก์ 9 เดือน แบงก์ไหนกำไรโตสุด