ในปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัท Kerry Express ผู้ให้บริการขนส่งพัสดุรายใหญ่ในประเทศไทย รายงานผลประกอบการ ไตรมาสที่ 3 ของปี ขาดทุนต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยในงวด 9 เดือนแรกของปี 2566 บริษัทมีรายได้ลดลง 30.7% และขาดทุนสุทธิ 2,725 ล้านบาท แย่กว่าปีก่อนถึง 43.6%
จากรายงาน ผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2566 มีรายได้ 2,896.6 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 889.9 ล้านบาท ส่วน 9 เดือนแรกของปี 2566 รายได้ 8,950.5 ล้านบาท ลดลง 30.7% จากปีก่อน ขาดทุนสุทธิ 2,725 ล้านบาท เยอะกว่าปีก่อน 43.6% ที่ขาดทุนสุทธิ 1,898.1 ล้านบาท
สำหรับผลประกอบการย้อนหลัง 4 ปี ของ Kerry Express Thailand
Kerry Express ให้เหตุผลว่าด้วย เศรษฐกิจโลก การชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศจีน และความตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ในประเทศอิสราเอลที่อาจยืดเยื้อหรือขยายวง กว้าง ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาน้ํามันดิบในตลาดโลกให้พันผวนต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง ขณะที่ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce)
ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกับธุรกิจจนส่งพัสดุด่วนก็ยังมีแนวโน้มการแข่งขันที่รุนแรง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนอุปสงค์จาก บริการจัดส่งพัสดุผ่านแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) โดยทั้งด้านราคาและคุณภาพการให้บริการยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ อย่างไรก็ดีความรุนแรงในการแข่งขันด้านราคาโดยรวมเริ่มมีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากช่วงที่ผ่านมา โดยบริษัทมีรายได้จากการบริการกลุ่ม B2C 51%, C2C 45% และ B2B 3%
ถึงแม้ว่าทาง Kerry ยังดำเนินงานปรับลดลง ไม่ว่าจะเป็น การปิดบางจุดบริการ C2C ที่ให้บริการไม่ตรงเป้าหมาย, ปรับเส้นทางส่งพัสดุให้เหมาะสม และเปลี่ยนพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้า กว่า 6.4% แต่ที่ทำมาทั้งหมดบริษัทก็ยังขาดทุนสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2566 อยู่ที่ 889.9 ล้านบาท ถึงแม้ว่าจะดีขึ้น 15% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขาดทุนสุทธิ 1,047.7 ล้านบาท แต่ภาพรวมยังคงขาดทุนต่อเนื่องอยู่ดีเนื่องจากต้องเจอกับต้นทุนเพิ่มขึ้น และการแข่งขึ้นที่ดุเดือด
สาหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจก่อนหมดปี 2566 บริษัทตั้งเป้าเพื่อให้ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการจนส่งพัสดุด่วนครบวงจร โดยใช้การ ปรับใช้กลยุทธ์แบ่งส่วนระดับตลาดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างรายได้ต่อพัสดุที่สูงขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ผู้ใช้บริการประเภท C-end องค์กร อุตสาหกรรม บริการส่งพัสดุระหว่างประเทศ และผู้ใช้บริการในตลาดอื่นๆ ได้แก่ บริการจัดส่งผลไม้ ผลิตภัณฑ์จากทะเล สินค้าหัตถกรรม ลูกค้าในงานมหกรรม โดย มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการระดับกลางถึงสูง และสร้างบริการอันเป็นเลิศเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้บริการ นอกจากนี้สําหรับช่องทางให้บริการผู้ใช้บริการรายย่อย บริษัทได้ขยายสาขาร้านค้าของบริษัท และจุดให้บริการในศูนย์คัดแยกพัสดุ (DCSP) เพื่อรองรับความต้องการจัดส่งพัสดุที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มลูกค้าประเภท C-end โดยแผนการขยายจุดให้บริการของบริษัทได้ผ่าน
การประเมินทั้งมุมมองด้านรายได้และต้นทุนอย่างละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณการจัดส่งและความต้องการของผู้ใช้บริการที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้น ในส่วนของการปฏิบัติงานบริษัทยังคงให้ความสําคัญในการยกระดับเครือข่ายและระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดาเนินงาน
นอกจากนี้บริษัทยังมุ่งเน้นการปรับปรุงผลกําไรโดยปรับการดําเนินงาน และกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เหมาะสม รวมถึงการปรับปรุงให้ บริษัทมี จํานวนต้นทุนที่ต่ําที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์ธุรกิจของบริษัทในระยะยาวสอดคล้องกับแนวทางของ เอสเอฟ เอ็กซ์เพรส ที่ค่าเนินอยู่ใน ประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบริษัทหวังว่าในปี 2567 จะกลับมามีกำไรได้อีกครั้ง โดยตั้งเป้ารายได้เติบโต 10-15% และควบคุมต้นทุนให้อยู่ในระดับที่มีประสิทธิภาพ