ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันอินเทอร์เน็ตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนมากขึ้น และการซื้อของออนไลน์ กลายมาเป็นหนึ่งในเรื่องปกติในชีวิตประจำวันในยุคสังคมดิจิทัล
และแม้ว่าข้อดีของการช้อปปิ้งออนไลน์ คือการได้ประสบการณ์ที่สนุก เพลิดเพลิน ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ และให้ความสะดวกสบายกับเรามากแค่ไหน แต่เราทุกคนยังคงต้องคำนึงถึง ’การมีสติ’ ที่จะไม่ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่พยายามจะใช้ช่องว่างทางความรู้มาหลอกลวง คุกคาม และสร้างความไม่ปลอดภัยทั้งทางข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สิน
อีกหนึ่งกลโกงที่พบบ่อย ๆ นอกเหนือจาก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ที่หลอกดูดเงินเราผ่านการให้กรอกข้อมูลแบบสอบถาม โดยอ้างว่าเป็นหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้เราคลิกSMS และดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน นั้นก็คือการหลอกหล่อ และแฮกข้อมูลเพื่อดูดเงิน ผ่าน ‘บัตรเครดิต’ นั้นเอง
SPOTLIGHT ชวนทุกคนมารู้จัก 6 วิธีการโกงของมิจฉาชีพ และทางเลือกการใช้บัตรเครดิตแบบใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยให้เหล่านักช้อปออนไลน์
จากสถิติ The Global State of Scam Report-2022 แสดงให้เห็นการหลอกลวงจากทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการถูกหลอกลวงเงินผ่านช่องทางออนไลน์มากถึง 293 ล้านครั้ง และมีมูลค่าความเสียหายสูงถึง 55.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นประมาณ 10.2% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการฉ้อโกงด้านการชำระเงินสูงที่สุด
นอกจากนี้ ACI Worldwide ยังพบว่า ประเทศที่ใช้ระบบการเงินแบบโอนและรับเงินได้ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง (real-time payment) ในอัตราที่สูง มีแนวโน้มที่จะมีภัยการเงินสูงตามไปด้วย
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ได้เปิดเผยสถิติข้อกังวัลใจถึงการ โจกรรมการทางเงินของคนไทยที่ติดอันดับโลก โดยระบุว่า ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศลำดับต้นๆในการพัฒนาเทคโนโลยีการเงินอย่างก้าวกระโดด และแม้ว่าเราจะนวัตกรรมที่ทันสมัยมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถเอาชนะภัยมิจฉาชีพได้ จนประเทศได้ติดลำดับ 6 ของโลกจากการโจรกรรมการทางเงิน
กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ตอท.) และ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้เปิดเผยถึง 6 กลโกงด้วย “บัตรเครดิด” ยอดฮิต ที่มิจฉาชีพใช้เป็นประจำ ได้แก่ :
ครั้งแรกของไทย กับ ‘บัตรเดรดิตใส ไร้หมายเลข’ ต้านภัยมิจฉาชีพ
ล่าสุด KTC หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดตัว บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” (KTC DIGITAL CREDIT CARD) โดยบัตรเครดิตนี้จะเป็น บัตรพลาสติกใสไม่มีหมายเลขบนหน้าบัตรและแถบแม่เหล็ก ไร้กังวลจากการถูกโจรกรรมข้อมูลสำคัญทั้งโลกออนไลน์และออฟไลน์ โดยมี 3 จุดเด่นดังนี้
1.Digital First : สมาชิกสามารถใช้จ่ายได้ทันทีหลังได้รับการอนุมัติกับการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงการสแกนจ่ายด้วย QR Pay และผูกบัตรฯ กับระบบชำระเงินบนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น กูเกิล เพย์ (Google Pay) หรือสวอทช์ เพย์ (Swatch Pay) เป็นต้น
2.Dynamic CVV : ตัวเลขหลังบัตรฯ ที่เป็นรหัสความปลอดภัย จะเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่มีการร้องขอ และสามารถใช้งานได้ภายใน 24 ชั่วโมงต่อการขอ 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนการขอ) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกเมื่อใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์หรือผูกบัตรฯ ที่ร้านค้าออนไลน์ ด้วยเลขหลังบัตร (CVV) เพื่อยืนยันการชำระค่าสินค้าหรือบริการ
3.Numberless Card : บัตรพลาสติกใสโปร่งแสง ไม่มีหมายเลขบนหน้าบัตร และไร้แถบแม่เหล็ก เพื่อเสริมความปลอดภัยเมื่อสมาชิกใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ร้านค้าทั่วไป โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวบนหน้าบัตรฯ
จากการศึกษาพฤติกรรมสมาชิก KTC พบว่ามีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์สูงขึ้นทุกปี และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสัดส่วนจำนวนรายการใช้จ่ายออนไลน์ทั้งสิ้นประมาณ 55% ของยอดรายการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ทั้งพอร์ต
สิ่งที่เป็นกังวลที่สุดของสมาชิก นั้นก็คือเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรฯ ที่สมาชิกต้องกรอกข้อมูลสำคัญบนหน้าบัตรฯ ให้กับร้านค้าออนไลน์ หรือเมื่อต้องยื่นบัตรฯ ให้กับร้านค้ากรณีชำระค่าสินค้าและบริการ เพื่อให้สมาชิกผู้ถือบัตรฯ รู้สึกปลอดภัยเมื่อมีการใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยตั้งเป้าจำนวนผู้ถือ “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล” รวม 100,000 ใบภายในสิ้นปีนี้
สำหรับการเปิดตัวในครั้งนี้ ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับสมาชิก ด้วยจุดเด่นความเป็น Digital First จึงสามารถตอบโจทย์สมาชิกที่นิยมใช้จ่ายออนไลน์ด้วยความปลอดภัยขั้นสุด แต่หากสมาชิกต้องการบัตรพลาสติกก็สามารถแสดงความประสงค์ขอรับบัตรฯ ผ่านแอป KTC Mobile ได้ด้วยตนเอง
ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่โหลดแอป KTC Mobile ทั้งสิ้น ประมาณ 2.2 ล้านราย คิดเป็น 88% ของจำนวนสมาชิกทั้งพอร์ต สำหรับสมาชิกปัจจุบัน เพียงกดปุ่มสมัครบัตรฯ และเมื่อได้รับการอนุมัติ ก็สามารถใช้จ่ายทางออนไลน์ได้ทันที
โดยสมาชิกสามารถเลือกสมัคร “บัตรเครดิต เคทีซี ดิจิทัล แพลทินัม วีซ่า” (KTC DIGITAL PLATINUM VISA) หรือ “บัตรเครดิตเคทีซี ดิจิทัล แพลทินัม มาสเตอร์การ์ด” (KTC DIGITAL PLATINUM MASTERCARD) ได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
อ้างอิง : ธนาคารเเห่งประเทศไทย
กองบังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี