สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ออกหนังสือแนวทางปฏิบัติถึง 9 องค์กร กลุ่มฟาร์มครบวงจร และห้างค้าส่ง ค้าปลีก เพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาให้ผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศ หลังที่ประชุมเห็นชอบให้ช่วยเหลือผู้เลี้ยงสุกรฝ่าวิกฤตหมูเถื่อน
นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ออกหนังสือแนวทางปฏิบัติ หลังจากการ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2567 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานการประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้เลี้ยงสุกร จากการขายสุกรมีชีวิตต่ำกว่าต้นทุนการผลิตมาเป็นเวลากว่า 10 เดือน โดยที่ประชุมมีความเห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือ ต้องดูแลผู้ผลิตต้นทางไม่ให้เกิดความเสียหายอีกต่อไป โดยปรับระดับราคาตามโครงสร้างต้นทุนสุกรขุนมีชีวิต ณ น้ำหนักขายที่ประมาณ 100 กิโลกรัม โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 80 บาทต่อกิโลกรัม แบบค่อยเป็นค่อยไป สำหรับ กลุ่ม 9 บริษัทยักษ์ใหญ่ ด้าน ผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ และการผลิตอาหารที่มี ฟาร์มครบวงจรรวมถึง ห้างค้าส่ง ค้าปลีก ประกอบด้วย
สำหรับข้อมูลเนื้อหาในหนังสือฉบับนี้ ระบุว่า กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศเห็นชอบให้แจ้งกลุ่มผู้ค้าส่งค้าปลีกผู้ค้าส่งสุกรเข้าห้างผู้ค้าสุกรหน้าฟาร์มและฟาร์มเกษตรกรให้ปรับฐานระดับราคา ดังนี้
โดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติขอให้ฟาร์มครบวงจร ห้างค้าส่ง ห้างค้าปลีก เริ่มต้นผลักดันราคาสุกรขุนหน้าฟาร์มตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมเป็นต้นไป ให้เข้าสู่ต้นทุนแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยคาดว่าจะเข้าถึงต้นทุนได้ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม ได้ก่อนตรุษจีนวันที่ 10 กุมภาพันธ์
อัปเดต รายงานข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 2/2567) วันที่ 10 มกราคม 2567
โดยผู้เลี้ยงสุกรต้องการให้ห้างเหล่า บริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านค้าส่ง ค้าปลีก และผู้ค้าส่งชิ้นส่วนสุกรเข้าห้าง กำหนดราคาชิ้นส่วนเนื้อสุกรตามโครงสร้างต้นทุนการผลิตสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม จากระดับราคาในข้อ 2 จะทำให้ห้างค้าส่ง ค้าปลีก ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาจำหน่ายปลีกชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สอดคล้องตลอดห่วงโซ่การผลิตผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศ
นอกจากการปรับฐานราคาสุกรแล้ว ผู้เลี้ยงสุกรยังได้เรียกร้องให้กรมปศุสัตว์และหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ที่มีชื่อเรียกว่า พญานาคราช ค่อยช่วยสอดส่อง กวาดล้างการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนสุกรลักลอบที่ฝังตัวตามห้องเย็นต่าง ๆ และเรียกร้องให้มีการเพิ่มเติมฟาร์มต้นทางกับสินค้าปศุสัตว์ เพื่อสร้างความโปร่งใสและลดความแตกแยกในอุตสาหกรรมสุกร
การปรับฐานราคาสุกรครั้งนี้ เป็นความพยายามของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ต้องการพยุงอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรให้อยู่รอด อีกทั้ง ยังเป็นการส่งสัญญาณไปยังผู้ประกอบการค้าส่ง ค้าปลีก และผู้บริโภค ว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรกำลังประสบปัญหาขาดทุนอยู่ในเวลานี้ และต้องการความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้อุตสาหกรรมสุกรสามารถเดินหน้าต่อไปได้